ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2016, 06:10:54 am »




สุดยอดคาถาป้องกันภัย ของหลวงปู่ขาว แม้แต่เสือป่าที่ว่าดุยังขยาดไม่กล้าผ่านเข้าใกล้



ออกพรรษาให้หลัง หลวงปู่ขาวได้ปลีกวิเวกไปอยู่กับพวกชาวเขา (ยาง) บนภูเขา  ชาวเขาเหล่านี้รับหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐากหาข้าวปลาอาหารถวายท่านสม่ำเสมอ ด้วยนิสัยของชาวป่าชาวเขาและสภาพของป่าดอยที่ยังอุดมด้วยสัตว์ป่า ช้างป่าออกหาอาหารตามทางเดินจนเผชิญหน้ากับหลวงปู่ขาวก็หลายรอบ เสือโคร่งขนาดใหญ่ออกล่าสัตว์แล้วฝากรอยเท้าขนาดใหญ่ ทิ้งความกลัวจับใจไว้ในหมู่ชาวบ้านรวมถึงพระภิกษุบางรูปที่พรรษายังน้อย หลวงปู่ขาวจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวป่าชาวเขา  เวลาคนในหมู่บ้านมีปัญหาอะไรก็มักจะยกโขยงมาให้ท่านช่วยแก้ไขหลายต่อหลายครั้ง

ครั้งหนึ่ง เสือโคร่งออกอาละวาดกัดกินวัวควายจนทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว  บ้างก็ไม่กล้าที่จะออกไปทำมาหากิน  บ้างก็กลัวว่าเสือโคร่งจะขึ้นกระท่อมลากเอาลูกหลานไปกินในยามค่ำคืน  หลวงปู่ขาวเห็นความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวของชาวบ้านจึงเมตตามอบคาถาสั้นๆ ให้บทหนึ่ง ไว้ภาวนาเพื่อเป็นเกราะป้องกันภัย

คาถาของหลวงปู่ขาวมีว่า

“อิติปิ โส ภควา พระเจ้าสั่งมา ภควายันติ”

โดยให้ท่อง ๓ จบ เสกใส่ก้อนหิน แล้วหว่านไปรอบบ้านเพื่อป้องกันภัย





วันต่อมาก็ปรากฏว่า  มีเสือมากัดควายของชายคนหนึ่ง โดยทิ้งซากเอาไว้ ยังไม่กิน แต่ยังคงเดินป้วนเปี้ยนไปมารอบซากควายราวกับเป็นอาณาจักรของเสือ  ชายคนนั้นกลัวเสือก็กลัว เสียดายเนื้อควายก็เสียดาย  แต่จะลงมือแล่เอาเนื้อคนเดียวก็ไม่กล้า จะไปตามเพื่อนบ้านก็คงไม่ทัน จึงต้องทิ้งซากควายเอาไว้ แล้วตัดกิ่งไม้มาปกคลุม เดินวนไปวนมาด้วยความทุกข์ใจเพราะไม่รู้จะจัดการอย่างไร  ทันใดนั้นก็นึกขึ้นว่าเพิ่งจะได้รับคาถามาจากหลวงปู่ขาว  เขาจึงหยิบก้อนหินมาไว้ในมือ ตั้งจิตคิดถึงหลวงปู่ขาว แล้วท่องคาถา “อิติปิ โส ภควา พระเจ้าสั่งมา ภควายันติ” ๓ จบ  จากนั้นก็โปรยก้อนหินรอบๆ ซากควาย ด้วยใจที่เชื่อมั่นศรัทธาในคาถาของหลวงปู่ขาวว่า ซากควายจะไม่ถูกเสือกิน

เมื่อชายคนนี้เดินทางเข้าหมู่บ้านแล้วเล่าเรื่องราวให้เพื่อนบ้านฟัง ทุกคนต่างพากันหัวเราะและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ควายจะถูกเสือกินเหลือแต่โครงกระดูกแน่นอน  แต่แม้จะได้ยินเช่นนั้น เขาก็เถียงแทนหลวงปู่ขาวว่า

“ฮาเชื่อหลวงปู่ เปิ้นมีคาถาดี  ฮาเพิ่งเรียนมาใหม่ๆ รับรองได้ผลแน่นอน”





เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านพากันยกโขยงไปดูซากควาย  ปรากฏว่า รอบซากควายเต็มไปด้วยรอยเท้าเสือขนาดใหญ่ แต่ซากควายกลับไม่ถูกกัดกิน สร้างความมหัศจรรย์ใจแก่ชาวบ้านยิ่งนัก

นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างก็มีความเคารพศรัทธาในหลวงปู่ขาวอย่างมาก  ท่านได้อธิบายให้ฟังว่า ทำไมคาถาจึงได้ผล ...  “พวกยางซื่อสัตย์ มันเชื่อจริง ทำจริง คาถาจึงศักดิ์สิทธิ์”

ชีวิตพระป่าท่ามกลางชาวบ้าน ป่าเขา สัตว์ป่า ทำให้หลวงปู่ขาวเห็นสภาวะ “ทุกข์” ที่เกิดขึ้นในทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นนก ช้าง เสือ มนุษย์ จากการเลี้ยงชีพ เจ็บป่วย คู่ครอง  แม้แต่ท่านเองก็เคยตกอยู่ในภาวะของความกลัวยามเผชิญหน้ากับสัตว์ป่า จึงปรารถนาที่จะพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงให้ได้



เรียบเรียงโดย เธียรนันท์ จากหนังสือ วินาทีบรรลุธรรม 1

ข่าวโดย :  กิตติ ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/213201/