ตอบ

คำเตือน - มีกระทู้ตอบใหม่ 6 กระทู้ ขณะที่คุณกำลังอ่านหัวข้อนี้ อยากให้คุณแสดงตัวอย่างก่อนตั้งกระทู้
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2023, 12:21:18 pm »

.
.
.
เหตุนี้ !...มีเรื่อง..ซื้อประกันทางโทรศัพท์เพราะด่วนตอบตกลง มีทางออก
เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ที่มา เว็บไซด์ ffcthailand
.
เขียนเมื่อ 11-10-2023 14:42
.
.
จั่วหัวเรื่องมาแบบนี้ มันต้องมีปัญหาน่ะแหละ! ใครเคยเจอเคสแบบนี้ต้องมาตามเรื่องของผู้บริโภครายล่าสุด ที่มาร้องกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือ
.
เรื่องของเรื่อง มีอยู่ว่า ผู้ร้องรายนี้ได้ซื้อประกันรถยนต์ทางโทรศัพท์ที่มีนายหน้ามาเสนอขาย เบี้ยประกัน 5 แสน สามารถซ่อมศูนย์ได้ทั่วประเทศ เจ้าตัวจึงตัดสินใจทำเพราะคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์ ผ่านไปหลายวันมาเจอปัญหาบางอย่างจึงต้องการยกเลิก แต่พอโทรศัพท์ไปที่บริษัทประกัน มันไม่ง่ายน่ะสิ! เพราะไคำตอบว่า ต้องรอให้ได้รับเล่มกรมธรรม์ก่อน อ้าว!ทำไมต้องรออ้ะ ก็เพราะไม่อยากทำประกันถึงต้องขอยกเลิกไง แต่..ปัญหามันอยู่ตรงนี้ เพราะบริษัทได้ตัดบัตรเครดิตเรียกเก็บเบี้ยประกันงวดแรกไปแล้วน่ะสิ!
.
เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ เมื่อได้ฟังเรื่องราวของผู้ร้องรายนี้ เกิดความสงสัยประเด็นที่ว่า ทำไมบริษัทประกันถึงตัดบัตรเครดิตอัตโนมัติไปได้ ! ผู้ร้องบอกว่า ตอนนั้นนายหน้าที่โทรศัพท์มาขายประกัน ไม่บอกความจริงเรื่องที่มาจาากบริษัทประกันแห่งหนึ่งแต่กลับอ้างว่ามาจากบริษัทรถเจ้าหนึ่งที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของ 1 คัน จึงได้บอกเลขหน้าบัตรและวันหมดอายุ จนมารู้หลังจากถูกตัดบัตรเครดิตไปแล้ว แบบนี้เท่ากับหลอกลวงกัน จึงโทรศัพท์ไปที่บริษัทประกันเจ้านั้น เพื่อให้จัดการยกเลิกการทำประกัน และต้องโอนเงิน 25,445.21 บาท กลับคืนมาด้วย แต่อีกฝ่ายทำเงียบเฉย ถึงแม้พยายามติดต่อทางไลน์ และเบอร์บริษัท กลับไม่มีสัญญาณตอบกลับ ถือเป็นการหลอกลวง ไม่ได้รับความเป็นธรรม
.
จากเรื่องราวข้างต้น ถือว่าเคสนี้ ผู้ร้อง “ได้เผลอตกลงทำสัญญาซื้อประกันทางโทรศัพท์ แต่ต้องการบอกเลิกภายหลัง” ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ผู้บริโภคมีสิทธิ์ปฏิเสธ หรือบอกยกเลิกสัญญา หากยังไม่ได้รับกรมธรรม์ หรือไม่พึงพอใจ สามารถบอกเลิกได้ตลอดเวลา แต่หากได้รับกรมธรรม์มาแล้ว ก็ยังสามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรรมธรรม์ โดยต้องทำจดหมายบอกเลิกสัญญาพร้อมแนบกรรมธรรม์ประกันชีวิตส่งไปรษณีย์ ลงทะเบียนถึงบริษัทที่รับประกันภัย หากชำระเบี้ยประกันเป็นเงินสดหรือกรณีชำระผ่านบัตรเครดิต ให้แนบสำเนาบอกเลิกสัญญาแจ้งไปยังบริษัทบัตรเครดิตทั้งสองกรณี บริษัทประกันต้องคืนเงินทั้งหมดภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งยกเลิก แต่หากบริษัทประกันปฏิเสธการยกเลิกประกัน สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย คปภ. หรือ สายด่วน 1186
.
ล่าสุด 9 ตุลาคม 2566 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ติดต่อผู้ร้องสอบเพื่อถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ทางผู้ร้องแจ้งว่า บริษัทประกันดำเนินการคืนเงินให้ครบถ้วนแล้ว จึงขอยุติเรื่องร้องเรียน เอาละนี่ถือเป็นเรื่องดี ที่จบกันด้วยดีทั้ง2 ฝ่าย
.
ทีนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีคำแนะนำ สำหรับผู้บริโภค ที่ยังไม่ได้ทำสัญญา ถ้าประกันโทรมาขาย แต่ผู้บริโภคไม่ต้องการจะทำประกันนั้น และยังไม่ได้ตกลงทำสัญญา ให้วางสาย ได้เลย โดยบริษัทประกันจะไม่สามารถโทรกลับมาเสนอขายอีกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่โดนปฏิเสธ ถ้าตัวแทนประกันไม่ยอมวางสาย ให้ขอชื่อ – นามสกุลผู้ขาย และชื่อบริษัทประกัน เพื่อแจ้งต่อ คปภ. สายด่วน 1186 ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิสอบถามตัวแทนประกันว่าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตนเองมาได้อย่างไร
.
การเสนอขายประกันผ่านทางโทรศัพท์ ทำได้ในวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ระหว่างเวลา 8.30 – 19.00 น.ยกเว้นกรณีที่ยินยอมนัดหมายล่วงหน้า หากโทรเกินเวลา จดชื่อและเลขที่ใบอนุญาตของตัวแทนแจ้งต่อ คปภ. สายด่วน 1186
.
ปิดท้ายขอเตือนใจผู้บริโภคทุกคน หากถูกตื้อทำประกันทางโทรศัพท์ จงจำไว้ว่า อย่าปัดความรำคาญด้วยคำว่า "ตกลง" หรือ คำว่า “สนใจ”เพียงเท่านี้ เสียงของผู้บริโภคจะถูกเอาไว้เป็นการยืนยันได้สมัครบริการประกันชีวิต ถือว่า “สัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว” ดังนั้น หากไม่อยากเกิดปัญหา ขอให้ยืนยันคำเดียวง่ายๆ ว่า “ไม่สนใจ” เพราะฉะนั้น หากมีใครโทรศัพท์มาชวนคุยเรื่องทำประกัน ถ้าคุณไม่ได้มีแผนจะทำประกันแล้วล่ะก็...ขอแนะนำให้บอกปัดไปเลย ไม่ต้องฟัง เพราะไม่อย่างนั้นอาจโดนคารมนายหน้าขายประกันใช้เทคนิคทำทีเป็นโทรมาสอบถามข้อมูลแล้วให้พูดตาม หรือพูดหว่านล้อมให้คุณตอบ “ตกลง” โดยกว่าจะรู้ตัวอีกที เงินก็ถูกหักจากบัตรเครดิตไปซื้อประกันนั้นซะแล้ว นอกจากนี้ ต้องขอเตือนภัย เพราะยังมีพวกแก๊งมิจฉาชีพหลอกขายประกันทางโทรศัพท์มากมาย โดยอ้างการเก็บเบี้ยถูก คุ้มครองสูง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ กลับไม่สามารถเคลมประกัน หรือติดต่อไม่ได้ ลองคิดดูว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้น ปัญหาเกิดทันที เพราะเราไม่เคยเห็นหน้าตาของคนขายประกันเลย . อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วิธีการป้องกันเพื่อ “ตัดไฟแต่ต้นลม “ คือ เมื่อมีสายโทรศัพท์เข้ามาชักชวนให้ซื้อประกัน หากคุณไม่ได้สนใจจริงๆ ก็ไม่ต้องฟัง อาจบอกไปเลยว่าไม่มีเงินทำ เป็นหนี้เยอะมาก หรือตกงานอยู่ แล้วขอวางสายไปเลย
.
เครดิตเรื่อง : ฟิตรีนา อาลี เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
.
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 16, 2023, 11:09:19 am »

.
.
เรื่องของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่จะมาหลอกลวงเงิน
.
จะบอกว่า ยากที่จะหลอกผู้ที่รู้เท่าทัน
.
และ มาแนะนำวิธีการง่ายๆให้ทราบกัน
.
1.หน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน , ธนาคารทุกธนาคาร
จะไม่มีการโทร.มา หรือ ต้องแอดฯไลน์ คุยกัน
.
ถ้าจะคุย ให้ไปค้นหาเบอร์โทร.จากหน่วยงานนั้นๆโดยตรง
หรือไปที่หน่วยงานนั้นๆ หรือหน่วยงานที่มีสาขาอยู่ในพื้นที่ของตนเอง
.
2.ห้ามโหลดแอป.ต่างๆที่มีคนส่งลิงค์มาให้อย่างเด็ดขาด
.
การโหลดแอป.ต่างๆ ต้องไปโหลดที่
Google play store (ระบบ Android)
หรือ
App Store (ระบบ IOS (ระบบปฏิบัติการไอโอเอสและไอแพดโอเอส) ของ แอปเปิล)
.
3.ห้ามโอนเงินเด็ดขาด
.
4.ต้องรู้ตนเองว่า ถ้าไม่ได้กระทำอะไรผิด ไม่ต้องไปกลัวอะไร สำหรับการข่มขู่
.
เพียงแค่นี้ครับ  ก็ไม่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงแล้วครับ
.
.*********************************.
.
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ คุยอย่างเนียน เหมือนตำรวจจริง! | อีจัน EJAN
.
https://www.youtube.com/watch?v=nHucw27Cwwc
.
Ejan
16 ก.ย. 2023
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 02, 2023, 03:09:53 pm »

.
.
.
วิเคราะห์ชอตต่อชอตจากของจริง แก๊งคอลเซนเตอร์หลอกดูดเงิน
สังเกตยังไง รู้ไว้ไม่พลาด ไม่สูญเงิน I DGTH
.
https://www.youtube.com/watch?v=gIkgyZVzRbA
.
iT24Hrs
28 ส.ค. 2023
.
.
วิเคราะห์ชอตต่อชอต แก๊งคอลเซนเตอร์ หลอกดูดเงิน สังเกตยังไง รู้ไว้ไม่พลาด ไม่สูญเงิน I DGTH
จากกรณีที่คุณตาลปวีณามัยโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้ติดตั้งแอป ดูดเงินแล้วก็ศูนย์เงินไปกว่าล้านบาท และก็มีอีกหลายคนเลยที่โดนเหมือนกัน
และก็มีเหยื่อท่านหนึ่งได้อัดการสนทนากับแก๊งเอาไว้แบบสมบูรณ์ เราเลยจะมาตีแผ่กันแบบช็อตต่อช็อต มีจุดสังเกตตรงไหนบ้าง จะได้สามารถระมัดระวังป้องกันตัวเองได้
.
.
00:00 เริ่มต้น
01:05 คนร้ายมักจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ
01:50 จุดสังเกตที่1 คนร้ายมักจะให้แอดไลน์ ไม่ให้เบอร์ 02
02:22 จุดสังเกตที่2 คนร้ายส่งลิงก์มาให้เรา / เว๊บไซต์หลอก ดูที่ URL
04:44 จุดสังเกตที่3 การโหลดแอปฯ นอกสโตร์
06:58 จุดสังเกตที่4 โทรศัพท์แจ้งเตือน
08:56 จุดสังเกตที่5 เปิดโหมดการช่วยเหลือ
09:22 จุดสังเกตที่6 โทรศัพท์แจ้งเตือนเกี่ยวกับการถูกแคสการระยะไกล
10:39 จุดสังเกตที่7 สแกนใบหน้า
12:21 ถ้ารู้ตัวว่าโดนหลอกแล้วต้องทำอย่างไร
14:03 โทรศัพท์ที่เราติดตั้งแอปฯ ดูดเงินไปแล้วควรทำอย่างไรต่อ
16:20 ถ้าต้องการเก็บโทรศัพท์ไว้เป็นหลักฐานต้องทำอย่างไร
16:56 ถ้าต้องการเอาโทรศัพท์ที่โดนหลอกเงินไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ต้องทำอย่างไร
.
.
อย่างกรณีที่เป็นข่าวล่าสุด คนร้ายเขาแอบอ้างว่าเป็นกรมที่ดิน ซึ่งหลักการ เนี่ย ก็คือว่าคนร้ายเขาก็มักจะหลอกว่าเป็นหน่วยงานราชการ ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องตระหนักไว้ก็คือ คนร้ายจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการ เพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือ ทําไม รู้ข้อมูลของเราเป๊ะขนาดนี้ แล้วพอเราเริ่มหลงเชื่อ เขาก็จะโทร แล้วจิดสังเกตที่สำคัญของมิจฉาชีพคืออะไร แล้วเราจะสามารถตรวจสอบอย่างไรได้บ้าง
.
ถ้าเรายอมแอดไลน์แล้วก็ไปคุยกับเขาต่อ สิ่งที่คนร้ายมักจะทําก็คือ มักจะส่งลิงค์มาเพื่อให้เราไปติดตั้งแอปฯ อันตราย แอปฯ ซึ่งแอปพวกนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง อันตรายแค่ไหน ถ้าเราระวังตัว ไม่กดลิงก์ คนร้ายจะใช้วิธีอะไรหลอกเราได้บ้าง ถ้าคนร้ายใช้วิธีทําเป็นเว็บไซต์หลอกขึ้นมา แล้วก็ส่งลิงก์มาให้ หรือบอก URL ให้เราพิมพ์ตามเข้าไปใน Browner เราจะสังเกตยังไงได้บ้างว่าเว็ปไซต์นั้นเป็นเว๊บปลอม
.
ถ้าเราถลําตัวไปแล้ว สิ่งที่คนร้ายจะทําก็คือ ให้เราไปหาสักจุดหนึ่ง อาจจะเป็นรูป เป็นลิงก์หรืออะไรก็ได้สักที่หนึ่ง คลิกไป ถ้าเราคลิกเข้าไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อันตรายแค่ไหน
.
พอกดดาวน์โหลดอย่างที่คนร้ายบอกแล้ว มันก็จะไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ซึ่งก็จะเป็นแอปพลิเคชันที่จะมาดูดเงินเรา หรือสามารถเข้ามาควบคุมมือถือของเราจากทางไกล แล้วแอปฯ ไหนบ้างที่อันตราย แอปนอกสโตร์คืออะไร อันตรายแค่ไหน มือถือ Andriod กับ iSO มีความปลอดภัยต่างกันเรื่องไม่ OS ไหนที่อันตรายคนร้ายใช่เยอะมากกว่ากัน
.
โทรศัพท์มือถือแจ้งเตือนว่า ไฟล์อาจเป็นอันตราย คุณต้องการดาวน์โหลดสมาร์ทแลนด์ .apk ต่อไปไหม เราอาจเริ่มเอะใจ แต่คนร้ายเขาก็จะมีวิธีการในการพูดให้เรารู้สึกว่า เอ้ย! มันไม่ได้เป็นอะไร ไม่ต้องตกใจเป็นเรื่องปกติ เพราะว่ามันเป็นการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ ก็แล้วแต่สารพัดวิธีที่เขาจะมาหลอกลวงเรา ซึ่งถ้าเราโหลดเข้ามาจะเป้นอันตรายอย่างไรบ้าง
.
พอติดตั้งเสร็จคนร้ายก็จะให้เราล็อกอินด้วย ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ของเราและต้องมีการสแกนใบหน้า ซึ่งเป้นเรื่องที่อันตรายมากๆ หลังจากนั้นระบบจะให้ เรา ตั้งรหัสผ่าน ตั้งพิน โดยคนร้ายก็พูดหลอกต่างต่างนานาว่ามีความจําเป็นที่จะต้องตั้งแล้วก็ให้เป็นพินที่เราสามารถจําได้ง่ายด้วย เพราะว่าเดี๋ยวต้องใช้กันต่อและโดยทั่วไป ซึ่งจุดนี้ก็เป็นจุดที่อันตรายมากเหมือนกัน
.
แต่ถ้าตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนร้ายก็จะให้เราคลิกเพื่อเปิดใช้งานก่อนหน้านี้ ธนาคารหลายหลายธนาคารเขาก็มาบอกว่า วิธีหนึ่งที่จะป้องกันพวกแอปดูดเงินจากทางไกลได้เนี่ย ให้ไปปิดโหมดการช่วยเหลือแต่ว่ามิจฉาชีพเขาก็พัฒนาขึ้นอีกขั้น เขาก็มีวิธีการพูดหลอกล่อเพื่อให้เราเชื่อแล้วเราก็เปิดตามเขา แล้วเค้าใช้วิธีไหนในการหลอกเราล่ะ
.
จากนั้นเครื่องก็จะถูกล็อค แล้วสังเกตตรงนี้ มันมีป๊อปอัพขึ้นมาบอกแล้วว่า ตอนเนี้ยได้เริ่มบันทึกหรือ ด้วย smartlands แล้ว smartlands คืออะไร อันตรายแค่ไหน วิธีแก้ไขคืออะไร
.
แล้วจุดสังเกตอื่น ๆ ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีอะไรบ้างแค่วางมือถือไว้เฉยเฉย คนร้ายสามารถดูดเงินออกไปเลยำด้มั้ย คนร้ายทำอย่างไร แล้วถ้าเวลาโอนเงินต้องมีการสแกนใบหน้า คนร้ายจะหลอกเราด้วยวิธีไหน เราจะป้องกันตัวอย่างไรได้บ้าง
.
ถ้าเราโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกแล้วเราต้องทำยังไงบ้างเพื่อไม่ให้สูญเสียเงินไปจากบัญชี มีวิธีไหนป้องกันได้บ้าง ต้องแจ้งความหรือไม่ ต้องโทรแจ้งธนาคารหรือไม่
.
คําถามต่อมา แล้วเจ้าเครื่องที่เราได้พลาดพลั้งติดตั้งเจ้าแอปอันตรายลงเครื่องเราไปแล้ว จากนี้ไปเราจะต้องทํายังไงต่อ ถ้าหากต้องการที่จะใช้โทรศัพท์เป็นหลักฐานต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วหลังจากถ้าต้องการนำโทรศัพท์กลับมาใช้อีกครั้งต้องทำอย่างไรบ้าง สามารถติดตามได้ในคลิปนี้เลย ขอขอบคุณ อาจารย์ฝน นรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล (อาจารย์ฝน) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อุปนายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ หรือ TISA และเจ้าของเพจ : อาจารย์ฝนสอนเอง ที่ให้คำแนะนำ
.
และต้องขอขอบคุณผู้เสียหายที่ได้อัดคลิปการสนทนาไว้ตลอดและอนุญาตให้เราได้นำมาให้ทุกท่านได้ดูและได้มาเตือนกันจากของจริงเลยนะคะ
.
(ออกอากาศเมื่อ เสาร์ 26 ส.ค.66 ในรายการดิจิทัล ไทยแลนด์ ทางช่อง 3 กด 33 )
.
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2023, 09:39:47 pm »

.
.
.
ระงับทัน 1 บัญชี ‘ตาล ประวีณมัย’ ด้าน ‘อ.ฝน ไซเบอร์’ ชี้หลอกสแกนหน้า สร้างแอปฯปลอม ครอบแอปฯจริง
.
https://www.youtube.com/watch?v=serXqC3PAdo&t=4s
.
เรื่องเล่าเช้านี้
11 ส.ค. 2023
.
.
อ.ฝน ไซเบอร์’ ชี้กลยุทธมิจฉาชีพ ดูดเงินผู้ประกาศช่อง 3 แอดวานซ์ของมิจฉาชีพ หลอกสแกนใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตน โดยนำไปสร้างแอปปลอม มาครอบแอปธนาคาร อีกที ก่อนทำธุรกรรม โอนเงิน เข้า-ออกได้ ด้าน ‘ชัยวุฒิ’ สั่งตรวจสอบปัญหาธนาคาร ระงับบัญชีม้าล่าช้า ทั้งที่แก้กฎหมายให้อำนาจ - เพิ่มโทษแล้ว
.
จากกรณีผู้ประกาศข่าว ชื่อดัง น.ส.ประวีณมัย บ่ายคล้อย ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ถูกมิจฉาชีพโทร.หา อ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ให้อัพเดตข้อมูลที่ดิน เสียภาษีก่อนให้แอดไลน์ ติดตั้งแอพฯ สุดท้ายถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร สูญไปกว่า 1 ล้านบาท
.
วานนี้ (วันที่ 10 ส.ค.) นายนรินทร์ฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล หรือที่รู้จัก อาจารย์ฝน ไซเบอร์ กล่าวถึงกลวิธีแยบยลของมิจฉาชีพ ผ่านแอปดูดเงิน ระบุว่า กรณีของคุณประวีณมัย เป็นการทำงานขั้นแอดวานซ์ของมิจฉาชีพ ที่รู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์หลายแห่งปรับปรุงมาตรการเบิกเงินเกิน 50,000 บาทต้องสแกนใบหน้า จึงหลอกให้สแกนหน้า เพื่อยืนยันตัวตน แล้วมิจฉาชีพก็นำไปสร้างแอปปลอม มาครอบแอปธนาคาร อีกที เพื่อนำมาทำธุรกรรมธนาคาร โอนเงิน เข้า-ออกได้
.
อ.ฝน บอกด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่มักพบ มิจฉาชีพมักจะให้เหยื่อใช้โทรศัพท์ในระบบแอนดรอยด์ มากกว่าใช้ระบบ IOS จาก App Store เพราะแอนดรอยด์จะทำอะไรได้ง่ายกว่า แต่ในทางกลับกัน ในส่วนของ App Store ปัจจุบันมิจฉาชีพก็ก้าวหน้าถึงขนาดไปสร้าง App Store ปลอมได้ ด้วยการให้เหยื่อกดลิงค์ตามไป และไปโหลดแอป ซึ่งมีหน้าตาคล้าย App Store ประชาชนหลายคนจึงเข้าใจว่ากำลังติดตั้งแอป จาก App Store อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องต้องระวัง
.
ดังนั้นแล้ว จึงอย่าหลงกลเอาข้อมูลสำคัญให้ตั้งแต่ต้น เพื่อติดตั้งแอปโดยไม่รู้ที่มา แม้จะเป็นหน่วยงานราชการ ต้องไม่เชื่อไว้ก่อน ซึ่งมิจฉาชีพปัจจุบันใช้การพูดด้วยหลักจิตวิทยาขั้นสูงให้หลงเชื่อ จึงไม่ควรเชื่อ แล้วบอกจะติดต่อกลับเท่านั้น
.
สมาคมธนาคารไทย เตรียมหารือ สร้างความตระหนักรู้ เรื่องความปลอดภัยออนไลน์ให้มากขึ้น หลังมิจฉาชีพรุกหนัก พัฒนารูปแบบการหลอกลวงถึงขั้นพัฒนาแอปฯปลอมแสกนใบหน้า พร้อมย้ำธนาคารสามารถอายัดบัญชีได้ทันที หากพบความผิดปกติในการเบิกถอนเงินจากบัญชี
.
นายธีรวัฒน์ อัศวโภคี ประธานชมรมตรวจสอบและป้องกันการทุจริต สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพได้มีการพัฒนารูปแบบในการหลอกลวงได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น ทั้งการสร้างช่องทางในการเข้าถึงข้อมูล เช่น การให้เหยื่อดาวน์โหลดแอปฯ มีการพัฒนาแอปฯปลอมให้สามารถแสกนใบหน้า เพื่อใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ
.
โดยยอมรับว่าที่ผ่านมา หลังจากภาคธนาคารได้พัฒนาเรื่องการสแกนใบหน้า กรณีการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมาก ๆ มิจฉาชีพก็ได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวงเช่นกัน ซึ่งทางภาคธนาคารก็ต้องไปหารือถึงแนวทางแก้ไขต่อไป ซึ่งทางชมรมฯ ซึ่งประกอบด้วยธนาคารต่างๆ ได้หารือถึงแนวทางที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงการป้องกันอาชญากรรมบนออนไลน์แก่สาธารณะให้มากขึ้น ให้ทันกับกลโกงของมิจฉาชีพ ซึ่งการสร้างความตระหนักถึงอันตรายและการป้องกันที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันความเสียหายได้มากที่สุด
.
แต่หากพลาดกดลิ้งค์ ลงแอปฯปลอม ให้พินโค้ด และแสกนใบหน้าไปแล้ว และรู้ตัวทีหลังว่าถูกมิจฉาชีพหลอก ให้ผู้เสียหายรีบติดต่อ แจ้งธนาคารทันที เพื่อให้ธนาคารออกแบงก์ “เคสไอดี” เพื่อนำรหัสไปแจ้งความ ขณะเดียวกันธนาคารจะระงับบัญชีที่มีปัญหาทันที เป็นเวลา 3 วัน เพื่อตรวจสอบเส้นทางการเงิน แต่หากต้องการให้ธนาคารระงับบัญชีนานกว่า 3 วัน จำเป็นต้องใช้ใบแจ้งความ ซึ่งเป็นกระบวนการตามกฎหมาย มีข้อมูลด้วยว่าเกือบ 100% ของผู้ที่ถูกหลอก เป็นการโจมตีผ่านระบบแอนดรอยด์มากที่สุด
.
ด้านนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว และบอกว่าตอนนี้ อยู่ระหว่างตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น
.
นายชัยวุฒิย้ำว่า การอายัดบัญชีหรือระงับบัญชีม้านั้น ได้มีการแก้กฎหมายและออกเป็นพระราชกำหนดปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งให้อํานาจทางธนาคารสามารถระงับบัญชีได้เลย เมื่อมีเหตุอันสงสัยว่าเป็นบัญชีม้า หรือประชาชนที่โดนหลอกลวงก็สามารถแจ้งให้ธนาคารระงับบัญชีได้เลย และเมื่อเป็นบัญชีม้า มีผู้เสียหายมาร้องเรียน ธนาคารต้องระงับบัญชีเลยตามกฎหมายฉบับใหม่ ทั้งนี้สำหรับเหตุการณ์ที่ผู้ไปร้องเรียนกับทางธนาคารแล้วไม่ยอมรับบัญชี เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องจะดำเนินการตรวจสอบต่อไป
.
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2023, 09:39:13 pm »

.
.
.
ผู้เชี่ยวชาญ แนะวิธีเอาตัวรอดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดูดเงิน
เบื้องหลังข่าว กับ กาย สวิตต์
.
https://www.youtube.com/watch?v=2Gdo1mi3q9c
.
CH7HD News
11 ส.ค. 2023
.
.
ข่าวเย็นประเด็นร้อน
หลังจากที่วันก่อน เรานำเสนอข่าว ดาราสาวช่อง 7HD ถูกมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า หลอกอ้างว่าจะดำเนินการคืนเงินค่าประกันไฟฟ้าให้ โดยให้ผู้เสียหาย สลับซิมการ์ด จากโทรศัพท์ไอโฟน มาใส่ในแอนดรอยด์ แล้วหลอกให้โหลดแอปจากลิงก์ กรอกชื่อ เบอร์โทร จนสุดท้ายถูกดูดเงินในบัญชีไปเกือบ 200,000 บาท วันนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีการเมื่อรู้ตัวว่ากำลังถูกดูดเงิน
.
เหตุการณ์นี้ คุณอ้อม อังคณา อึ๊งเจริญ ดารานักแสดงของช่อง 7HD เป็นผู้เสียหาย โดยคนร้ายคุยกับคุณพ่อก่อน และบอกข้อมูลจริงที่ถูกต้องด้วยว่า คุณพ่อทำเรื่องขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า แต่ยังไม่ได้เงิน นี่เป็นจุดแรก ทำให้คุณพ่อตายใจไปแล้ว 1 คน ซึ่งคุณอ้อมสงสัยว่า ทำไมคนร้ายรู้ข้อมูลที่คุณพ่อเคยไปดำเนินการกับการไฟฟ้าไว้
.
จุดที่ 2 ที่คุณอ้อมรู้สึกว่า ข้อมูลของคุณพ่อเธอรั่วไหล ก็คือเมื่อเธอได้คุยกับคนร้าย คนร้ายก็รู้ด้วยว่า พ่อของเธอพิการ ซึ่งตรงจุดนี้ เธอก็สงสัยเหมือนกันว่า ข้อมูลที่ลึกลงไปแบบนี้ ตกไปอยู่ในมือของคนร้ายได้ด้วย นำมาสู่การหลงเชื่อ นำซิมออกจากมือถือไอโฟน ไปใส่ในมือถือแอนดรอยด์ของพ่อ ตามคำแนะนำของคนร้าย แล้วกดลิงก์ที่คนร้ายส่งมา กรอกชื่อ ใส่เบอร์โทรศัพท์ จนถูกดูดเงินจากบัญชีธนาคารไปเกือบ 200,000 บาท
.
.
อาจารย์ปริญญา หอมเอนก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ ข่าวเย็นประเด็นร้อน ว่า เรื่องการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ยืนยันมีล้านเปอร์เซ็นต์ และเป็นทั่วโลก ซึ่ง รั่วไหลได้หลายแบบ ประกอบด้วย หน่วยงานรัฐและเอกชนโดนคนร้ายแฮ็กข้อมูล, คนร้ายติดต่อซื้อข้อมูลจากคนดูแลระบบหรือไอที, ตัวเราเองลงแอปฯ ต่าง ๆ และ แอปฯ เหล่านั้นเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์
.
ส่วนข้อมูลของคนไทย ที่รั่วไหลไปแน่ ๆ มีอย่างน้อย 5 อย่าง ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล, วันเกิด, เลขประจำตัวประชาชน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ ซึ่งแก๊งคนร้าย มักจะมีข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ และรู้ถึงกิจกรรมที่ผู้เสียหายทำผ่านโทรศัพท์มือถือด้วย เช่น การซื้อสินค้าผ่านแอปฯ จ่ายเงินทำธุรกรรมผ่านแอปฯ การติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ บนมือถือ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เมื่อตกอยู่ในมือคนร้าย จะนำมาเป็นข้อมูลแรก ๆ ที่หลอกให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ จากนั้นขั้นตอนต่อไปก็ให้แอดไลน์คุยกัน
.
ส่วนกรณีน้องอ้อม ดาราสาวช่อง 7 ถูกคนร้ายลวงให้นำซิมจากเครื่องไอโฟน ไปใส่ในเครื่องของพ่อ ซึ่งเป็นแอนดรอยด์ แล้วส่งลิ้งก์การไฟฟ้า หรือ PEA มาให้กด จากนั้นใส่ชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ แล้วคนร้ายชวนคุยระหว่างหลอกดูดเงิน โดยใช้เวลาราว 30-40 นาทีนั้น
.
อาจารย์ปริญญา บอกว่า คนร้ายไม่สามารถรีโมตลงแอปดูดเงินในไอโฟนได้ จึงหลอกให้ถอดซิมไปใส่ในเครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งลิ้งก์แอปการไฟฟ้าหรือ PEA ที่คนร้ายส่งมาให้กด เป็นแอปธนาคารของคนร้าย ที่ซ่อนมาในรูปของแอป PEA เมื่อเราไปกดดาวน์โหลดหรืออินสตอลในเครื่องแล้ว แอปธนาคารของคนร้าย จะติดตั้งในโทรศัพท์เราโดยไม่รู้ตัว แต่ตัวแอปที่แสดงหน้าจอโทรศัพท์ ถูกพรางตัวว่าเป็นแอป PEA
.
แต่อาจารย์ปริญญา ก็บอกว่า ลำพังการที่เราใส่เฉพาะชื่อและเบอร์โทรศัพท์ คนร้ายก็ยังไม่สามารถดูดเงินได้ ต้องมีขั้นตอนที่เผลอยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ที่ส่งมาในเครื่องแอนดรอยด์ที่เราใส่ซิมไว้ และเผลอไปใส่รหัสด้วย คนร้ายจึงรู้รหัสแอปธนาคารเรา และทำการโอนเงินออกจากแอปธนาคารที่ลงพรางไว้เป็นหน้าแอป PEA ซึ่งสังเกตได้ว่าช่วงที่หน้าจอหมุนหรือเป็นสีขาว นั่นแหละคือช่วงที่คนร้ายกำลังถอนเงิน โดยพรางหน้าจอไว้ให้หมุนหรือเป็นสีขาว โดยทุกวันนี้ ถ้าโอนเงินออกเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง จะต้องสแกนใบหน้า จึงพบว่าในการถอนเงินออกจากบัญชีน้องอ้อม โอนออกครั้งละ 49,850 บาท จำนวน 4 ครั้ง เพื่อเลี่ยงการสแกนใบหน้า
.
อาจารย์ปริญญา แนะนำว่า ช่วงที่คนร้ายดูดเงินออกจากแอปบัญชีธนาคาร คนร้ายก็จะชวนคุยผ่านการโทรทางไลน์ที่คุยกันมาตั้งแต่ต้นโดยไม่วางสาย เพื่อเบี่ยงเบน ดึงความสนใจผู้เสียหายไม่ให้ไปสนใจกับโทรศัพท์ที่กำลังหมุน หรือหน้าจอกำลังเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งเป็นช่วงที่คนร้ายกำลังดูดเงินออก ถ้าเห็นแบบนี้ และฉุกคิดได้ว่า กำลังถูกหลอกดูดเงิน ให้รีบปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพื่อตัดการถอนเงินที่กำลังถอนอยู่ทันที คนร้ายจะทำอะไรต่อไม่ได้ จากนั้นให้ติดต่อธนาคารเพื่อระงับการทำธุรกรรมทุกอย่างก่อน จึงค่อยเปิดเครื่องโทรศัพท์ ส่วนการดึงซิมการ์ดออกระหว่างรู้ตัวว่าถูกดูดเงินก็ไม่มีประโยชน์ เพราะบางทีเราต่อไวไฟกับโทรศัพท์ไว้ เครื่องยังทำงานต่อได้
.
.
กรณีที่อาจารย์ปริญญา บอกว่าให้ปิดเครื่องและติดต่อธนาคารอายัดบัญชีนั้น ปัจจุบัน หลัง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บังคับใช้ไปเมื่อ 17 มีนาคม 2566 จะมีข้อสำคัญ 3 ข้อที่จะช่วยเหลือผู้เสียหายได้ไว คือ
.
1. เมื่อผู้เสียหายแจ้งกรณีการโดนหลอกกับธนาคาร จะได้ Bank ID Case มา ซึ่งเบื้องต้นธนาคารอาจอายัดบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ภายในธนาคารเดียวกันได้ ชั่วคราวที่ 72 ชม.
.
2. นำเลข Bank ID Case เข้าแจ้งความต่อตำรวจผ่านช่องทางต่าง ๆ
.
3. เมื่อธนาคารได้รับหมายอายัดจากตำรวจ จึงสามารถขยายเวลาอายัดบัญชีได้
.
สุดท้าย อาจารย์เอนก สรุปว่า ตัวแอปธนาคารที่อยู่ในเครื่องไอโฟนตั้งแต่แรก คนร้ายเข้าไปทำอะไรไม่ได้ จึงหลอกให้ถอดซิมมาใช้กับแอนดรอยด์ และก็จัดการดูดเงินผ่านแอนดรอยด์ ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่ต้น ถ้ามีใครอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ โทรมา ให้บอกยังไม่ว่างคุย ขอเบอร์โทร เดี๋ยวโทรกลับ ซึ่งพวกนี้มักรู้ว่าเรารู้ทัน จะวางหูใส่ทันที ไม่มีการให้เบอร์โทรเรา แต่ถ้าหลวมตัวคุย ก็ให้คิดว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานไหน มาเสียเวลาคุยกับคุณนาน ๆ ขนาดนั้น หรือถ้าหลวมตัวไปกว่านั้นอีก ถ้าหากคุณใช้ไอโฟน แล้วเขาออกอุบายให้ถอดซิมไปใส่แอนดรอยด์ ให้ถือว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน เพราะแอปต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐมีทั้งในระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ สุดท้ายถ้าหลวมตัวไปอีก จนไปกดโหลดลิงค์ที่เขาส่งมา หน้าจอหมุนให้รอ แสดงว่ากำลังถูกดูดเงินก็ให้ปิดเครื่องทันที และรีบแจ้งธนาคารเพื่ออายัดบัญชี เอา Bank ID Case ไปแจ้งความ
.
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2023, 11:43:13 am »

.
.
.
ปลอมเสียงหลอกเป็นคนรู้จักเพื่อยืมเงิน -ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
.
ที่มา และ โพสโดย เฟซบุ๊ก ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท.
วันที่ 1 สิงหาคม 2566
.
.
????????‍♀️ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
????ปลอมเสียงหลอกเป็นคนรู้จักเพื่อยืมเงิน
.
????กลโกงของคนร้าย :
.
1. คนร้ายติดต่อหาเหยื่อผ่านทางโทรศัพท์โดยใช้เครื่องมือปลอมเสียงอ้างว่าเป็นคนรู้จักของเหยื่อ
.
2. คนร้ายแจ้งเหยื่อว่าตนเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ ให้เหยื่อบันทึกเบอร์ที่ใช้แอบอ้างไว้
.
3. ในวันถัดไป คนร้ายจะโทรศัพท์หาเหยื่ออ้างเหตุจำเป็นต้องใช้เงินด่วน
เช่น ต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์แต่ App ธนาคารตนเองโอนเงินไม่ได้ หรือต้องชำระเงินค่าสินค้า
.
4. คนร้ายจะส่งเลขบัญชีรับเงิน (บัญชีม้า) ไปให้เหยื่อ
หากเหยื่อเกิดความสงสัยว่าเหตุใดชื่อบัญชีที่ได้รับมา ไม่ตรงกับชื่อคนที่คนร้ายแอบอ้าง
คนร้ายก็จะอ้างว่าเป็นเลขบัญชีของทางร้านค้า และจะกดดันเหยื่อว่าตนเองเดือดร้อน ต้องรีบใช้เงิน
.
5. เมื่อเหยื่อหลงกลโอนเงินไปให้คนร้ายแล้ว คนร้ายจะบล็อคเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อ
.
.
????ข้อสังเกต :
.
1. คนร้ายมีข้อมูลชื่อ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ของคนที่ถูกแอบอ้างและเหยื่อ
2. ชื่อบัญชีธนาคารที่รับโอนเงิน (บัญชีม้า) ไม่ตรงกับคนที่คนร้ายแอบอ้าง
.
.
????ข้อควรระวัง และแนวทางป้องกัน :
1. ให้สอบถามรายละเอียดเชิงลึกระหว่างคนที่ถูกแอบอ้างกับเหยื่อหรือผู้ที่ได้รับโทรศัพท์คนร้าย
2. ให้ติดต่อกลับทางช่องทางอื่น เช่น ไลน์ facebook หรือเบอร์โทรศัพท์เดิม
3. กรณีให้โอนเงินเข้าบัญชีคนอื่นหรือบัญชีม้า โดยอ้างว่าเป็นบัญชีของเลขา ร้านค้า เพื่อน หรืออื่นๆ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นคนร้าย
4. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ที่คนร้ายใช้ด้วยแอปพลิเคชัน Whoscall (เป็นแอปพลิเคชันแจ้งเตือนเบอร์มิจฉาชีพที่โทรเข้ามาได้เบื้องต้น)
.
.
❌ไม่เชื่อ ❌ไม่รีบ ❌ไม่โอน
.
???? "ตำรวจไซเบอร์ ให้ความรู้ รู้ทันความคิดมิจฉาชีพ"
.
#ตำรวจไซเบอร์ #เตือนภัยออนไลน์ #ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย
#ปลอมเสียง #หลอกยืมเงิน #หลอกโอนเงิน
.
.
••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
???? ด้วยความห่วงใย จากตำรวจไซเบอร์
????โทรปรึกษาสอบถาม 1441 หรือ 081-866-3000
แจ้งความออนไลน์ ได้ที่
????https://www.thaipoliceonline.com/
???? หรือ แอดไลน์@police1441 แชทบอทกับหมวดขวัญดาว ตลอด 24 ชั่วโมง
.
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 08:41:20 pm »

กสิกรไทย คืนเงินทั้งหมด หนุ่มโดนตุ๋น Mobile Banking กวาดเงินเกลี้ยงบัญชี
-http://hilight.kapook.com/view/141123-


 ธนาคารกสิกรไทย ติดต่อขอรับผิดชอบค่าเสียหายให้เหยื่อถูกคนร้ายโอนเงินเก็บทั้งชีวิตเกลี้ยงบัญชีเกือบ 1 ล้านบาท ด้วยการคืนเงินทั้งหมด  100% พร้อมเตือนหากต้องการส่งบัตรประชาชนให้ใคร อย่าลืมปิดบาร์โค้ดด้านซ้ายมือด้วย

          จากกรณี นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ เจ้าของร้านประดับยนต์ อายุ 28 ปี และครอบครัว ได้นั่งประท้วงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลังถูกคนร้ายโอนเงินจำนวน 986,700 บาท ที่ฝากเอาไว้ในบัญชีธนาคารกสิกรไทย โดยคนร้ายใช้วิธีติดต่อขอเปลี่ยนซิมที่ทรูช็อปก่อนโทรไปเปลี่ยนรหัส แอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking และโอนเงินในบัญชีไปจนเกลี้ยง ซึ่งภายหลังธนาคารกสิกรยอมคืนเงินให้ร้อยละ 33 ของเงินที่สูญไปเท่านั้น
[อ่านข่าว : หนุ่มเครียด ! ถูกเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเกลี้ยงเกือบล้านบาท]
-http://hilight.kapook.com/view/141065-



          ความคืบหน้าล่าสุด (20 สิงหาคม 2559) ทางธนาคารกสิกรไทยได้ติดต่อทางผู้เสียหายเพื่อขอเจรจาคืนเงินให้ทั้งหมด ก่อนจะดำเนินคดีฟ้องร้องกับกลุ่มคนร้ายที่ปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งทนายความออกมาแสดงความคิดเห็นว่าทางธนาคารต้องรับผิดชอบฐานปล่อยปละละเลยให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีมาทำธุรกรรมการเงิน และในกรณีนี้ผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้โดยไม่ต้องรอให้ธนาคารดำเนินคดี

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังนายพันธุ์สุธี  ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนขอขอบคุณทางธนาคารกสิกรไทยที่ออกมารับผิดชอบ และขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือพ่อค้าธรรมดาอย่างตน ซึ่งตอนนี้ทางธนาคารเองได้ขอความร่วมมือกับตำรวจให้ช่วยจับคนร้าย แต่ครั้งนี้ขอให้เป็นบทเรียนกับธนาคารและโทรศัพท์มือถือ ว่าให้ระวังมิจฉาชีพต่าง ๆ ดังนั้น เรื่องบัตรประชาชนสำคัญมาก ตอนนี้คนร้ายได้บัตรประชาชนสามารถไปหลอกค่ายโทรศัพท์มือถือเพื่อไปเปลี่ยนซิมการ์ดได้ จึงอยากให้ค่ายมือถือและธนาคารมีความรอบคอบ และหากต้องการเปลี่ยนรหัสใด ๆ ต้องทำผ่านเคาท์เตอร์เท่านั้น

          สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการส่งบัตรประชาชนให้ลูกค้านั้น ให้ทำการปิดเลข 13 หลัก วันเดือนปีเกิด และบาร์โค้ดด้านซ้ายสุด ซึ่งบาร์โค้ดนี้จะมีเลข 13 หลักอยู่ หากไม่ปิดบาร์โค้ด คนร้ายสามารภใช้แอพพลิเคชั่นสแกนเลขได้เลย เรื่องนี้ไม่มีใครรู้และขอให้ประชาชนระวัง



ภาพจาก ชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม
-https://www.facebook.com/Helpcrimevictimclub/videos/1076087975838656/-
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก thaich8
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2016, 10:05:13 pm »

หนุ่มเครียด ! ถูกเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเกลี้ยงเกือบล้านบาท
-http://hilight.kapook.com/view/141065-


 หนุ่มเครียดนั่งประท้วงกลางถนนหน้า สตช. หลังโดนคนร้ายหลอกธนาคารเปลี่ยนรหัส Mobile Banking โอนเงินเก็บทั้งชีวิตเกลี้ยงบัญชีเกือบ 1 ล้านบาท  ขณะที่ทางแบงก์แถลงพร้อมช่วยเหลือลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ และเร่งประสานหาทางติดตามตัวคนร้าย

          เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ เจ้าของร้านประดับยนต์ อายุ 28 ปี และครอบครัว ได้นั่งประท้วงกลางถนนพระราม 1 หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประท้วงกรณีตนเองถูกคนร้ายโอนเงินทั้งหมดในชีวิตที่ฝากเอาไว้ในบัญชีธนาคารกสิกรไทย โดยคนร้ายใช้วิธีติดต่อขอเปลี่ยนซิมที่ทรูช็อปจากนั้นโทรไปเปลี่ยนรหัส แอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking และโอนเงินในบัญชีไปจนเกลี้ยง จำนวน 986,700 บาท พร้อมมอบหลักฐานข้อมูลคนร้ายให้ พ.ต.อ.ธวัชศักดิ์ โปตระนันทน์ รอง ผบก.อก.สทส.

มิจฉาชีพขโมยเงิน

          นายพันธุ์สุธี มีลือกิจ กล่าวว่า ตนอยากเรียกร้องให้ธนาคารกสิกรไทย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เนื่องมีคนร้ายไปหลอกขอรหัสผ่านแอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking โอนเงินจากบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขากรุงศรีอยุธยา ไปจนหมดบัญชี โดยคนร้ายได้ไปแจ้งกับทางทรูว่าซิมหายต้องการขอซิมใหม่ โดยใช้สำเนาบัตรประชาชนปลอมที่ทำขึ้นมา ข้อมูลในบัตรเป็นของตน แต่ภาพเป็นของคนร้าย ซึ่งปกติแล้วการขอซิมใหม่ของทรูจะต้องใช้บัตรจริงเท่านั้น แต่ไม่ทราบว่าทางทรูทำซิมใหม่ให้คนร้ายได้อย่างไร และตั้งแต่วันเกิดเหตุทางทรูไม่เคยติดต่อมาหาหรือแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด หลังเกิดเรื่องตนเป็นผู้ดำเนินเรื่องเองทั้งหมด จากนั้นเมื่อได้ซิมใหม่ก็โทรไปขอรหัสผ่าน K-Mobile Banking กับคอลเซ็นเตอร์โดยใช้ข้อมูลในบัตรประชาชนของตน เมื่อได้รหัสมาคนร้ายก็โอนเงินออกจากบัญชีไปจนหมดรวมทั้งสิ้น จำนวน 986,700 บาท เหลือเงินนบัญชีเพียง 58 บาท

มิจฉาชีพขโมยเงิน

          ส่วนทางธนาคารกสิกรไทยนั้น ตนใช้ธนคารนี้มานานกว่า 5 ปี เพราะเชื่อว่าธนาคารนี้มีความมั่นคงและปลอดภัย แต่กลับต้องมาหมดตัวเพราะกรณีดังกล่าว แต่เมื่อเกิดเรื่องเช่นนี้ ทางธนาคารได้ติดต่อกลับมาหาตนว่าสามารถชดใช้ได้เพียง 33% จากความเสียหายเท่านั้น ส่วนที่เหลือไปให้ตามเอาเองกับทรูและคนร้าย โดยขณะนี้ตนได้ไปแจ้งความเอาไว้แล้วที่ สภ.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเป็นวัดเกิดเหตุ แต่ตำรวจระบุว่าไม่สามารถดำเนินคดีเพราะถือว่าทางธนาคารเป็นผู้เสียหาย แต่ทางธนาคารกับทรูไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแต่อย่างใด ทำให้ตนต้องเป็นคนสืบหาข้อมูลของคนร้ายเองจนขณะนี้ได้ภาพใบหน้าของคนร้าย ภาพเจ้าของบัญชีรับโอนเงินของตน และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ทรูช้็อปขณะกำลังติดต่อขอซิมใหม่

มิจฉาชีพขโมยเงิน

           ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเคสของตนไม่ใช่เคสแรก เพราะมีผู้โดนคนร้ายกลุ่มนี้ถอนเงินออกจนหมดธนาคารมาแล้วกว่า 6 ราย แต่บางรายกลับได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารอย่างเต็มที่ ตนจึงจำเป็นต้องออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมด้วยวิธีดังกล่าว เพราะหมดสิ้นหนทางในการตามเงินคืนแล้วในตอนนี้

          จากนั้นผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางธนาคารกสิกรไทย ได้ออกคำชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า

               1. จากจำนวนเงินที่ลูกค้าถูกคนร้ายถอนไป เนื่องจากคนร้ายได้ข้อมูลจากลูกค้าไปทำทุจริต  ธนาคารเสนอความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระของลูกค้าครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ถูกทุจริต และจะช่วยลูกค้าอย่างเต็มที่ในการติดตามตัวคนร้าย

               2. ลูกค้ามั่นใจได้ว่าระบบของธนาคารมีความปลอดภัย เนื่องจากเรามีการ verify ตัวตนลูกค้าก่อนให้บริการทุกครั้ง ทั้งนี้ทางธนาคารขอแนะนำว่า ลูกค้าควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ

          รวมถึงธนาคารจะดำเนินการในการติดต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในด้านการ verify ตัวตนลูกค้าในการออก sim ใหม่ ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิด fraud รับ OTP ในการโอนเงินในครั้งนี้
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2016, 07:40:58 pm »

กลโกงของโจรออนไลน์กับวิธีป้องกันครับ
-https://www.facebook.com/hotline1213/photos/a.361487233951356.1073741828.358835237549889/787600391340036/?type=3&theater-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 12:55:44 pm »

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ประเภทการเงิน ฉบับที่ 169 เอทีเอ็มแบบธรรมดา ธนาคารยังมีบริการไหม
-http://www.chaladsue.com/new/index.php/2015-03-12-09-57-19/2067-test2169-

เปิดหัวเรื่องมาแบบนี้ เพราะมีคำถามจากผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับทำบัตรเอทีเอ็ม เพื่อไว้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ปัญหาที่เป็นประสบการณ์ร่วมกันคือ ธนาคารมักเสนอบัตรเอทีเอ็มแบบที่มีลักษณะเป็นบัตรเดบิตไปด้วย(สามารถใช้บัตรรูดแทนเงินสดได้ตามจำนวนเงินที่มีในบัญชี) หรือไม่ก็เสนอบัตรที่มีการทำประกันภัยไปด้วย ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรพุ่งพรวดไปหลายร้อยบาท

เรื่องนี้มิใช่เพิ่งมามีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เวลามีการโวยวายผ่านสื่อขึ้นมาสักครั้ง ทุกธนาคารก็ให้คำตอบประมาณว่า ธนาคารไม่มีการบังคับ(แบบตรงๆ) ว่าทุกคนต้องทำบัตรเอทีเอ็มชนิดพิเศษ ผู้บริโภคสามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ซึ่งก็จริง แต่ในสถานการณ์จริง ผู้บริโภคมักถูกบังคับกลายๆ ให้ต้องเลือกทำบัตรเอทีเอ็มแบบพิเศษด้วยข้ออ้างประเภท “บัตรเอทีเอ็มธรรมดาหมด ต้องรอหลายอาทิตย์กว่าบัตรจะมา” หรือ “บัตรแบบนี้ดีกว่าเยอะ สามารถเบิกถอนได้คราวละมากๆ” เป็นต้น ผู้บริโภคหลายคนจึงเลือกเอาความสะดวก ไหนๆ ก็มาแล้ว ทำไปให้เสร็จๆ เพื่อไม่ต้องเสียเวลามาอีก จึงจำยอมทำไป ทั้งที่ไม่เต็มใจเท่าไหร่ เสียงบ่นเสียงครวญจึงเกิดขึ้นมากมาย เพราะค่าธรรมเนียมบัตรประเภทพิเศษนี้ จะวนเวียนมาอีกทุกๆ ปี ซึ่งเป็นเรื่องเกินความจำเป็น

ปัญหาการเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม

ปัญหาการเงินการธนาคารเป็นประเด็นหนึ่งที่ คณะกรรมการองค์การอิสระภาคประชาชน ให้ความสำคัญและในปี2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มทดลองทำหน้าที่ ได้มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ทางคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ

1.ยกเลิกการขายพ่วง บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ร่วมกับการขายประกัน ข้อเสนอนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือตอบว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย จะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และออกประกาศ หรือกำหนดมาตรการบังคับ ห้ามการขายพ่วงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และประกันภัย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้แยกแบบฟอร์มการสมัคร (แยกโต๊ะสำหรับการขายประกันโดยเฉพาะ)

2.ยกเลิกการบังคับ ทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มธรรมดา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือถึงธนาคารต่างๆ เพื่อจัดการปัญหาการบังคับทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มแล้ว

3.ลดราคาค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต ข้อเสนอนี้ ในขั้นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแล้ว(มีเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)

อย่างไรก็ตาม แม้มีการตอบรับเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหา การบังคับทำบัตรเดบิตแทนเอทีเอ็มธรรมดา โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีเสียงร้องเรียนมาจากฟากผู้บริโภคว่า ปัญหายังไม่หมดไป ธนาคารหลายแห่งยังมามุขเดิมๆ คือพยายามบ่ายเบี่ยงการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ของผู้บริโภค ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนด้านการเงินและการธนาคาร  ครั้งที่ 5/2557 จึงมีมติให้ทดลองติดตามมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่ ในประเด็น 1) บัตรเอทีเอ็มธรรมดายังทำได้อยู่หรือไม่ 2) ค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต ตรงกับที่ทางธนาคารแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อขออาสาทดสอบเรื่องดังกล่าว

 

ขั้นตอนการทดสอบ

1.เราเลือกธนาคารเป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเลือกจาก 3 สาขาของแต่ละธนาคาร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

2.จัดหาอาสาสมัครเพื่อไปทดลองเปิดบัญชีและทำบัตรเอทีเอ็ม โดยในการทดสอบอาสาสมัครจะบอกเพียงขอทำบัตรเอทีเอ็มเท่านั้นเพื่อดูการเสนอบริการของพนักงานว่ามีการให้ข้อมูลแบบใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงค่อยยืนยันว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาเท่านั้น เพื่อดูว่าพนักงานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และอาสาสมัครยังสามารถทำเฉพาะบัตรเอทีเอ็มธรรมดาได้หรือไม่

3.ก่อนจะส่งอาสาสมัครไปเปิดบัญชี เราได้ตรวจสอบข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดูข้อมูลเรื่องค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต ที่แต่ละธนาคารได้แจ้งไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาแล้ว มีเพียงบัตรเดบิต “บีเฟิร์ส” เท่านั้น

รูปที่ 1



จากตารางจะเห็นว่า การทำบัตรเอทีเอ็ม 1 ใบ แบบธรรมดาจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีค่ารายปี 250 บาท+แรกเข้า 100 บาท รวมเป็นเงิน 350 บาท ข้อสังเกตคือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีฯ และไทยพาณิชย์จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่แตกต่างจากการทำบัตรเดบิตแบบธรรมดา เว้นของธนาคารกรุงไทยที่ค่าธรรมเนียมบัตรธรรมดาจะถูกกว่าบัตรเดบิต คือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา 230 บาท บัตรเดบิตธรรมดา 300 บาท


รูปที่ 2
KTB
บมจ.ธนาคารกรุงไทย


รูปที่ 3
SCB
บมจ.ไทยพาณิชย์


รูปที่ 4
Kbank
บมจ.กสิกรไทย


รูปที่ 5
Bay
บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา


จากการทดลองสรุปว่า 12 สาขาของธนาคารเป้าหมาย ที่อาสาสมัครได้ทดลองเปิดบัญชีใหม่พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม พบว่า ไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ถึง 6 สาขา (50%) โดยธนาคารกสิกรไทยทำไม่ได้เลยทั้ง 3 สาขาที่อาสาสมัครได้ทดลองขอใช้บริการ รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ทำไม่ได้ 2 สาขา ไทยพาณิชย์ ทำไม่ได้ 1 สาขา(อ้างบัตรหมดเช่นกัน) ส่วนที่ต้องปรบมือให้ คือธนาคารกรุงศรีฯ อาสาสมัครของเราสามารถเปิดบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ทั้งสามสาขา

 

ฉลาดซื้อแนะ

1.ถ้าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาจริงๆ ขอให้ยืนยันกับทางพนักงานว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มธรรมดาเท่านั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมจะไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ 350 บาท

2.ระวังพนักงานเล่นกลกับท่าน กรณีที่บัตรเอทีเอ็มธรรมดาของธนาคารอาจมีหลายประเภท ท่านอาจได้ประเภทที่ค่าธรรมเนียมสูงแทนบัตรธรรมดาที่ค่าธรรมเนียมต่ำ  หรือได้เป็นบัตรเดบิตมาแบบงงๆ เพราะค่าธรรมเนียมเท่ากัน

3.โปรดเลือกบริการโดยคำนึงถึงความเสี่ยง ด้วยค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มกับบัตรเดบิต อาจไม่ได้มีราคาต่างกัน ท่านจึงอาจเลือกบัตรเดบิตเพื่อความสะดวก แต่การเลือกใช้บัตรเดบิตต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัย เพราะบัตรเดบิตสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าได้เช่นเดียวกับบัตรเครดิต เพียงแต่ไม่เกินยอดเงินในบัญชี ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงในการสุญเงิน หากท่านทำบัตรสูญหายหรือถูกขโมยไปใช้ เพราะผู้ไม่หวังดีต่อท่านจะสามารถรูดซื้อสินค้าได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลอมลายมือชื่อของท่านเวลาซื้อของเท่านั้น(ร้านค้าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้พิจารณาเรื่องลายมือชื่อสักเท่าไร) ดังนั้นท่านอาจสูญเงินทั้งหมดในบัญชีไปได้ง่ายๆ

4.ถ้าพบปัญหาว่าไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ เพราะการอ้างเรื่องบัตรหมด ท่านควรทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารดังกล่าว โดยการส่งจดหมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ของธนาคารนั้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการ ถ้าจะไม่มีบัตรแบบธรรมดาแล้ว ก็ควรประกาศยกเลิกไปอย่างเป็นทางการ