ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2010, 03:39:28 pm »

“ลูกชุบ” ขนมไทยชนิดนี้ไม่เพียงเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย คนรุ่นใหม่ ๆ ยุคนี้ยังเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามน่ารัก อาศัยฝีมือในการประดิดประดอย สีสันที่สดใส และรสชาติที่อร่อยถูกปากคนทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เป็นขนมที่ทำจากถั่วเขียวกวนธรรมดา ก็สามารถสร้างเงินและสร้างรายได้อย่างน่าทึ่ง

วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูล “ลูกชุบ” มาบอกกล่าวกัน...

อ.สุปราณี ประเสริฐภักดี อายุ 70 ปี เจ้าของร้าน “บ้านลูกชุบ” เล่าถึงที่มาของอาชีพการทำลูกชุบขายว่า เริ่มทำลูกชุบตอนอายุ 40 ปี ยึดอาชีพนี้มาแล้วกว่า 30 ปี เนื่องจากสามีรับราชการ ต้องย้ายตามสามีไปในหลายจังหวัด มีเวลาว่างก็อยากจะเรียนทำขนมเพิ่มเติม โดยเฉพาะลูกชุบ ขนมที่สนใจและอยากจะทำเป็นมานานแล้ว

“ที่สนใจลูกชุบเป็นพิเศษก็เพราะเกิดฝังใจ เคยเห็นลูกชุบที่เขาเอามาส่งตามห้าง คิดว่าเป็นขนมที่สวยงามและน่ารักมาก พอซื้อมาทานมันไม่อร่อย รู้สึกผิดหวัง เลยตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสได้ทำก็จะทำให้ทั้งสวยทั้งอร่อย ตอนอยู่ต่างจังหวัดก็มีหน่วยศึกษาเคลื่อนที่และชมรมสตรีมาสอนทำอาหาร ก็สนใจและมีโอกาสเรียนทำอาหารคาวหวานหลายชนิด และได้เรียนทำลูกชุบสมใจ พอรู้วิธีการทำแล้วก็ยังไม่ถูกใจอีก ก็ปรับปรุงพัฒนาจนได้สูตรของตัวเอง”

แรก ๆ ก็ทำแจกในหมู่แม่บ้านข้าราชการ พอทุกคนบอกว่าอร่อยแล้ว ถ้าเอ่ยถึง “ลูกชุบพาณิชย์” ต้องรู้กันว่าเป็นของ อ.สุปราณี เพราะตอนนั้นบ้านพักอยู่หลังสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานี

พอมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ยกกิจการให้ลูกสาว เปลี่ยนชื่อเป็น “ลูกชุบแซดเอ็น (ZN)” ลูกก็ไปหาตลาดจนได้ มีออร์เดอร์จากเอสแอนด์พีและโรงแรมอีกหลายแห่งทุกเดือน ซึ่งบางเดือนก็มักจะได้รับออร์เดอร์ไปออกงานต่างประเทศ ก็ทำส่งอยู่หลายปี จนปัจจุบันจะไม่มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไป แต่จะทำและขายตามออร์เดอร์ที่สั่งเข้ามา

อ.สุปราณียังบอกอีกว่า บ้านลูกชุบเน้นการปั้นด้วยมือ เพราะจะมีความอ่อนช้อยมากกว่าการใช้แม่พิมพ์ และจะปั้นตามจินตนาการของตัวเอง ตอนที่เรียนเขาก็จะสอนให้ปั้นแต่ลูกชมพู่อย่างเดียว ก็มานึกดูว่าอยากจะปั้นอะไร จนได้มาเป็นรูปผลไม้รวม เช่น มะยม แตงโม มะม่วง ชมพู่ ส้ม เชอรี่ มังคุด ฯลฯ

“และจะเพิ่มเติมรูปแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเทศกาล เช่น ปีนี้เป็นปีหมู ก็ได้เพิ่มลูกหมูขึ้นมา ใกล้วันวาเลนไทน์ก็จะเพิ่มรูปหัวใจ และถ้าช่วงตรุษจีนก็จะปั้นเป็นซิ่วท้อ ซึ่งได้รับความนิยมมาก”

>> การทำ
วัตถุดิบ-ส่วนผสมตามสูตรก็มี ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1/2 กก. ต่อหัวกะทิ 2 ถ้วยตวง และน้ำตาลทราย 1/2 กก. ส่วนวัสดุที่ใช้ก็ได้แก่... กระทะทองเหลือง, ไม้พาย, เตาแก๊ส, ตะเกียบ, ไม้จิ้มฟัน, สีผสมอาหาร, จานสี, น้ำสะอาด, พู่กัน, อ่างน้ำ, กะละมัง, เครื่องบดไฟฟ้า หรือครก, ลังถึง, ผ้าขาวบาง

>> ขั้นตอนการทำ “ลูกชุบ”
เริ่มจากเลือกถั่วเมล็ดเสีย กรวด หิน ออกให้หมด ล้างน้ำ 1 ครั้ง แล้วแช่ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง ล้างอีกครั้ง แล้วนำไปนึ่งให้สุก บดหรือโขลกให้ละเอียด แล้วจึงนำถั่วที่บดแล้วใส่ลงไปในกระทะทองเหลือง

นำน้ำตาลทรายและกะทิมาต้มด้วยไฟอ่อนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี ต้องคนตลอดเวลาไม่ให้กะทิเป็นลูก

นำถั่วบดยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง ค่อย ๆ ทยอยใส่น้ำกะทิลงกวนทีละน้อยจนหมด การกวนให้กวนไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ถั่วเหนียว กวนถั่วไปเรื่อย ๆ จนถั่วกวนเริ่มแห้ง ควรหรี่ไฟให้อ่อนลง เมื่อแห้งจนจับเป็นก้อน และล่อนจากกระทะสักครู่ใหญ่ ๆ จึงยกลงจากเตา พักไว้ให้คลายร้อน นวดจนเนียน

“หากชอบกลิ่นควันเทียน ก็ให้นำถั่วกวนที่ได้ไปอบควันเทียนไว้สัก 3-5 ชั่วโมง”

เสร็จแล้วนำมาปั้นเป็นรูปผัก ผลไม้ หรือสัตว์ ตามชอบได้เลย

>> การปั้น
แบ่งถั่วตามขนาดที่จะปั้น ระหว่างที่ปั้นควรคลุมถั่วด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ๆ เพื่อกันไม่ให้ถั่วแห้ง ปั้นเสร็จก็เสียบกับไม้จิ้มฟันปลายแหลม ระบายสีให้ใกล้เคียงกับของจริง

“การลงสีอย่าพยายามลงสีฉูดฉาด ให้ลงสีอ่อน ๆ เลียนแบบธรรมชาติ”

ระบายสีเสร็จก็เสียบไว้กับโฟม ทิ้งให้สีแห้ง จากนั้นก็นำไปชุบ “น้ำวุ้น”

>> วิธีทำ “น้ำวุ้น”
ใช้วุ้นผง 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ถ้วยตวง น้ำตาลนิดหน่อยเพื่อความวาว นำส่วนผสมใส่หม้อคนให้เข้ากัน แล้วยกขึ้นตั้งไฟกลาง ๆ หมั่นคนจนวุ้นใสเหนียว ยกลงทิ้งไว้สักครู่จะมีฟองสีขาวลอยขึ้น ให้ช้อนฟองทิ้ง

นำถั่วที่ปั้นและระบายสีแล้วชุบกับส่วนผสมวุ้น 1 ครั้ง ปักบนโฟมให้แห้ง แล้วจึงชุบครั้งที่ 2 และ 3 ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อวุ้นแข็งตัวดีแล้วจึงถอดออกจากไม้จิ้ม ใช้กรรไกรตัดส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง ตกแต่งด้วยใบแก้วให้สวยงาม

>> การขาย
ทางบ้านลูกชุบจะคิดราคาเป็นชุด ๆ ซึ่งแต่ละชุดจะแตกต่างกันไปตามปริมาณและบรรจุภัณฑ์ มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะกร้าหวาย ถาดเงิน ถาดทอง ถาดหวาย กล่องพลาสติก เข่งไม้ไผ่ ถาดประดิษฐ์ใบตอง ฯลฯ โดยจะมีราคาตั้งแต่ 60-3,000 บาท แล้วแต่ว่าลูกค้าต้องการแบบไหน ขนาดเท่าไหร่

ใครสนใจอยากจะสั่งซื้อหรือลองชิม “ลูกชุบ” ของ อ.สุปราณี ร้านบ้านลูกชุบ ติดต่อไปได้ที่ เลขที่ 33 ซอย 50 ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0-2424-8606

ที่มา : http://women.sanook.com/work/108jobs/108jobs_36519.php