แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - sasita

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15
121


ศีลส่งให้สูง ปรุงให้สวย ช่วยให้พ้น
 
ศีลห้า เป็นศีลของมนุษย์ ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์จะต้องมีศีลห้าบริบูรณ์ ศีลห้าจึงเป็นศีลของมนุษย์
มีคำถามถามว่า “มีใครรักษาศีลห้าได้ครบถ้วนตลอดชีวิตบ้าง?”โปรดยกมือขึ้น จะเห็นได้ว่าไม่มีคนยกมือ นี่ก็แสดงว่าลำพังแต่ศีลเพียงห้าข้อก็รักษากันไว้ไม่ได้เสียแล้ว!

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า “ให้รักษาใจตัวเดียว” ดังในสมัยพุทธกาล ภิกษุรูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐ รูปผู้บวชใหม่ เมื่อบวชแล้วได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อขอลาสิกขา โดยกล่าวว่า ศีลของภิกษุมากเหลือเกิน ปฏิบัติไม่ไหว จึงขอลาสิกขา พระพุทธองค์จึงให้ภิกษุรูปนั้นรักษาศีลเพียงข้อเดียว คือให้รักษาใจ พระภิกษุรูปนั้นจึงรับถือศีลข้อเดียวจนได้สำเร็จอริยบุคคล

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบคำถามที่ว่า “ทราบว่าท่านรักษาศีลเพียงข้อเดียว มิได้รักษาทั้ง ๒๒๗ ข้อ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหม?”

หลวงปู่ฯ ตอบว่า “ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว คือใจ อาตมารักษาใจ ไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่ทรงบัญญัติไว้จะเป็น๒๒๗ ข้อ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็ใจเย็นว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขันมาตลอด นับแต่เริ่มอุปสมบท ฯลฯ” กลิ่นศีลหอมทวนลม

หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ
หอมแต่ตามลมลือ กลับย้อน
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ ศีลสัตย์ นี้นา
หอมสุดหอมสะท้อน ทั่วใกล้ไกลถึง

โคลงโลกนิติ

ทำอย่างไรจึงจะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตได้?
การรักษาศีล คือ การมีเจตนางดเว้นจากการทำความชั่ว ดังคำพุทธพจน์รับรองว่า “เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วะทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นนั่นแหละคือ ศีล”
การงดเว้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. สมาทานวิรัติ คือ การงดเว้นด้วยการสมาทาน เช่น สมาทานศีลกับพระ
๒. สัมปัตตวิรัติ คือ การงดเว้นเมื่อมีเหตุบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแม้ไม่สมาทาน แต่เมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่จะผิดศีลและตั้งใจงดเว้นขึ้นในขณะนั้น ถือว่าเป็นศีลเพราะตั้งใจงดเว้นเอาเอง
๓. สมุจเฉทวิรัติ คือ การงดเว้นโดยเด็ดขาด นั่นคือศีลของพระอริยะบุคคลซึ่งเป็นโลกุตตระศีล เป็นศีลขั้นสูง เช่น พระโสดาบันรักษาสิกขาบท๕ หรือศีล ๕ นี้ได้ตลอดชีวิต เป็นศีลที่รักษาได้โดยอัตโนมัติคืองดเว้นโดยเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทานและไม่ต้องตั้งเจตนา

ศีลนี้ หากใครรักษาดีแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้นั้นมากมายเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คือ มีความเย็นใจไม่เดือดร้อนเพราะเป็นผู้มีศีล ประโยชน์ในชาติหน้าพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงสรุปผลของศีลไว้ ๓ ประการว่า

“สีเลนะสุคะติง ยันติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีล
สีเลนะโภคะ สัมปะทา บุคคลจะมีโภคะได้ก็เพราะศีล
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ บุคคลจะบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล”

อริยทรัพย์ ๗ ประการสำคัญที่สุด ชาวพุทธควรมีไว้ประดับใจเป็น “ทรัพย์ภายใน” ได้แก่
๑. ทรัพย์คือศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล
๒. ทรัพย์คือศีล การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย
๓. ทรัพย์คือหิริ การละอายใจต่อการทำความชั่ว
๔. ทรัพย์คือโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
๕. ทรัพย์คือพาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก
๖. ทรัพย์คือจาคะ ความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
๗. ทรัพย์คือปัญญา ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผลอริยทรัพย์นี้เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ในจิตใจ

อานิสงส์ของการรักษาศีล

ชาดกนิทานเรื่อง นายติณปาลพราหมณ์ถือศีลตาย

ในสมัยพุทธกาล นายติณปาลเป็นคนใช้ทำไร่หญ้าของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เช้าก็ออกไปทำงานที่ไร่หญ้าทุกวัน เย็นวันหนึ่งหลังจากนายติณปาลกลับจากทำงานกลับเข้าบ้านเศรษฐีก็จะไปรับ ประทานอาหารเย็น แต่ไม่พบเห็นใคร เลยสงสัยว่าเขาไปทำอะไรที่ไหนกันหมด ก็ได้รับคำตอบจากคนครัวว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถศีลทุกคนรับศีลอุโบสถกันหมด จึงไม่มีใครรับประทานมื้อเย็น นายติณปาลจึงเข้าไปถามท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขอถือศีลด้วยแม้จะไม่ได้สมาทานศีลตั้งแต่ตอนเช้าก็ตามเศรษฐีก็ว่า ตามแต่ติณปาลก็แล้วกัน ติณปาลตั้งใจถือศีลไม่รับประทานอาหารมื้อนั้น อยู่ต่อมาประมาณหนึ่งชั่วโมง นายติณปาลมีอาการเป็นลมเพราะอดข้าวเย็น เนื่องด้วยไม่เคยอดอาหารเศรษฐีขอร้องให้นายติณปาลเลิกล้มความตั้งใจและให้ รับประทานอาหารแต่นายติณปาลไม่เลิกล้มความตั้งใจเพราะทุกคนต่างถือศีลกันได้ ตั้งหลายชั่วโมงตนเองเพิ่งถือศีลได้เพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้นเอง ชั่วโมงต่อมานายติณปาลได้ถึงกาลกิริยา ได้ไปบังเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์

ชาดกนิทานเรื่อง นางวิสาขาถืออุโบสถศีล

พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องนี้กับนางวิสาขาว่า “ดูก่อนวิสาขา อานิสงส์ที่บุคคลรักษาอุโบสถศีล ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้ เมื่อเอาอานิสงส์แห่งการรักษาศีลอุโบสถนี้มาแบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน เอาออกเสีย ๑๕ ส่วน เหลืออยู่อีกส่วนหนึ่ง เอามาแบ่งออกเป็น ๑๖ เสี้ยว แล้วเอาออกเสีย ๑๕ เสี้ยว เหลืออยู่ ๑เสี้ยว ยังมากกว่าสมบัติใน ๑๖ มหานคร” แล้วพระองค์ได้ทรงพรรณนาถึงสมบัติใน ๑๖ มหานคร ในชมพูทวีปนั้นว่า สมบัติของมนุษย์ทั้ง ๑๖ มหานครนั้นยังน้อยกว่าผลของอานิสงส์ของการรักษาศีลอุโบสถเพียงเสี้ยวหนึ่ง เท่านั้นเพราะอานิสงส์แห่งการรักษาศีลอุโบสถเพียงเสี้ยวหนึ่งนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้นั้นได้รับทิพยสมบัติในสวรรค์ การไปเกิดบนสวรรค์ได้รับทิพยสมบัติแม้เพียงชั่ววันหนึ่ง คืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นนั้นๆ ก็ยังประเสริฐกว่าสมบัติในเมืองมนุษย์ทั้ง ๑๖มหานคร เพราะว่าทิพยสมบัติเป็นของละเอียดอ่อน ประณีต ไปเกิดอยู่เพียงชั่ววันหนึ่ง คืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เท่ากับการเสวยมนุษยสมบัติในช่วงเวลาร้อยปีในเมืองมนุษย์เพราะว่าร้อยปีใน เมืองมนุษย์นี้เท่ากับวันหนึ่งคืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


กิริยาส่อเชื้อชาติมารยาทส่อสกุล
ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน
โคลงโลกนิติ
ศีลห้ากับกุศลกรรมบทสิบ

ศีลห้าข้อ เมื่อประมวลลงแล้วขยายความออกได้เป็นกุศลกรรมบท๑๐ คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓ ดังนี้

กายกรรม ๓ ได้แก่ ศีลข้อที่ ๑. ปาณาติปาตาเวรมณี
ศีลข้อที่ ๒. อทินนาทานาเวรมณี
ศีลข้อที่ ๓. กาเมสุมิฉาจาราเวรมณี
วจีกรรม ๔ ได้แก่ ศีลข้อที่ ๔. มุสาวาทาเวรมณี คือ ไม่พูดวจีกรรม ทุจริต ๔
ได้แก่

๑. มุสาวาทะ การไม่พูดปด
๒. สัมผัปลาปะวาทะ การไม่พูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์แม้จะเป็น
ความจริง
๓. ปิสุณวาทะ การไม่พูดส่อเสียดให้เสียหายให้เขาเจ็บใจ
๔. ผรุสวาจา การไม่พูดคำหยาบคาย

มโนกรรม ๓ ได้แก่ ศีลข้อที่ ๕. สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี คือการเว้นจากการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะ มั่นคง ไม่เพ่งเล็งอยากได้ (อภิชฌาหรืออโลภะ) การไม่คิดพยาบาทปองร้าย (อพยาปาทะหรืออโทสะ) และการไม่หลงเห็นผิดทำนองคลองธรรม ละจากมิจฉาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ
พระไตรปิฎกกล่าวถึงเรื่องลักษณะของวาจาสุภาษิต

ลักษณะ ๕ ของวาจาสุภาษิต

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ นับเป็นสุภาษิตไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้คือ:-
๑. วาจาที่กล่าว (ถูกต้อง) ตามกาล
๒. วาจาที่กล่าวเป็น ความจริง
๓. วาจาที่กล่าว อ่อนหวาน
๔. วาจาที่กล่าว ประกอบด้วยประโยชน์
๕. วาจาที่กล่าวด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แลนับเป็นสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต ไม่มีโทษ อันผู้รู้ติไม่ได้

(ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๗๑)
คนที่เกิดมีขวานเกิดมาในปากด้วย

“คนที่เกิดมาแล้ว มีขวานเกิดมาในปากด้วย คนพาลเมื่อกล่าวคำชั่วชื่อว่าใช้ขวานนั้นฟันตนเอง ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญผู้นั้นชื่อว่าใช้ปากเลือกเก็บความชั่วไว้ จะไม่ได้ประสบสุขเพราะความชั่วนั้น”
(จากหลักนิบาตอังคุตตรนิกาย ๒๔/๑๘๕)


พูดดี

หลักของการพูดดีมีอยู่สาม
หนึ่งพูดตามเป็นจริง ทุกสิ่งสรรพ์
สองพูดดีมีประโยชน์ไร้โทษทัณฑ์
สามสิ่งนั้นน่าฟังทั้งไพเราะ
แม้เรื่องจริงน่าฟังไม่ขวางโลก
แต่พูดไปไร้ประโยชน์ก็ไม่เหมาะ
แม้พูดเรื่องสัจจริงทั้งพริ้งเพราะ
มีประโยชน์เหมาะเจาะควรพูดเอย
อันรสปากหากหวานก็หวานเด็ด บรเพ็ดขมไม่มากเหมือนปากขม
ถึงคมมีดคมไม่มากเหมือนปากคม รสหวานขมก็ไม่มากเหมือนปากคนฯ
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร ให้ชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

พระสุนทรโวหาร (ภู่)
คิดก่อนพูด
เป็นคนคิดแล้วจึ่ง เจรจา
อย่านอนหลับตา แต่ได้
เลือกสรรหมั่นปัญญา ตรองตรึก
สติริรอบให้ ถูกแล้วจึงทำ
วาจาต่อหน้าชุมชน
ท่ามกลางกล่าวถ้อยแต่ พอควร
เห็นท่านสรวลอย่าสรวล ตอบเต้า
ใช้คำแต่น้ำนวล นฤโทษ
เห็นท่านเศร้าทำเศร้า โศกหน้าตาตรม
สุภาษิตา จะยาวาจา
 แม้โฉมเฉิดเฉกไท้ เทพา
อีกอิสริยยศถา กอรปด้วย
บุรุษถ่อยทุษฐวา จาพาก
นับว่าผู้นั้นม้วย หมดสิ้นสิ่งงาม
“สุภาษิตา จะยาวาจา เอตัมมังคลมุตตะมัง วาจาเป็นสุภาษิตเป็นมงคลยิ่ง”

คำพูดที่สมควร
ไป่ถามปราชญ์บ่พร้อง พาที
เปรียบดั่งเภรีตี จึ่งครื้น
คนพาลพวกอวดดี จักกล่าว
ถามบ่ถามมันฟื้น เฟื่องถ้อยเกินถาม

โคลงโลกนิติ

ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย
“อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด... อยู่กับมิตร ให้ระวังวาจา”

คำสอนเรื่องหน้าที่ ๑๒ สถานะของคนในเรื่องทิศทั้งหก ในส่วนของหน้าที่บ่าว (ลูกน้อง) ที่มีต่อนาย (ผู้บังคับบัญชา) มีอยู่ข้อหนึ่งว่า “บ่าวพึงพูดสรรเสริญนาย” หรือ “นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่” ดังนี้ จะเห็นได้ว่าคำพูดของบ่าวหรือลูกน้อง ไม่พึงพูดนินทาว่าร้าย หรือกล่าวเรื่องไม่ดีของนาย ให้พึงระมัดระวังเพราะนั่นคือ “โอษฐภัย” นั่นเอง


ที่มาhttp://thai.mindcyber.com/buddha/why1/1143.php#1

122
 :13:

โมทนาสาธุค่ะพี่นิ 

เริ่มจากติดต่อไปที่โรงเรียนก่อนนะคะ   แล้วแจ้งความจำนงพร้อมให้ที่อยู่
เบอร์ติดต่อ หรือ อีเมล์ ไว้  เจ้าหน้าที่จะจัดส่งหนังสือที่จะพิมพ์มาให้พร้อมกับ
โปรแกรมเป็นซีดี มาให้เราค่ะ 

แต่ถ้าเรามีหนังสือที่จะพิมพ์อยูแล้วก็ต้องสอบถามทางโรงเรียนด้วยว่าหนังสือเล่มนี้
ผู้แต่งคนนี้ มีคนพิมพ์หรืออ่าน เป็นหนังสือเสียงหรือยัง  เพื่อจะไม่ให้ซ้ำกับที่มีอยู่แล้วนะคะ

ถ้าเรามีทีมงานพิมพ์หลาย ๆ      และมีหนังสือที่ต้องการเผยแพร่อยู่แล้วก็แจ้งไปที่โรงเรียน
ให้ทราบก่อนจะดีที่สุดเพราะทางโรงเรียนอาจจะต้องดูอีกทีว่าซ้ำมั้ย เหมาะสมกับวัยของเด็กมั้ยด้วยค่ะพี่นิ


123



โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในโครงการ "หนังสือมีเสียง" โดยการอ่านหนังสืออัดลงเทป เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่น้องๆ นักเรียนผู้พิการทางสายตาในช่วงเปิดภาคเรียน

อาจารย์เรณู เดือนดาว อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ เปิดเผยว่า " เนื่องจากในช่วงเปิดภาคเรียน ทางโรงเรียนต้องการความร่วมมือจากอาสาสมัครในการจัดเตรียมแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอน ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการเรียนรู้ของนักเรียนผู้พิการทางสายตามีทัดเทียมกับเด็กปกติ โครงการหนังสือมีเสียงจึงถูกจัดขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งปลูกฝังทัศนคติและความสัมพันธ์อันดีของคนในสังคม โดยผ่านกิจกรรมหลัก 2 วิธี คือ การอ่านหนังสือประเภทต่างๆ โดยเฉพาะตำราเรียนแล้วบันทึกเสียงลงเทป และการพิมพ์หนังสือด้วยระบบคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นอักษรเบรลล์"


ในส่วนของการอ่านหนังสือแล้วอัดเสียงลงเทปนั้น อาจารย์เรณู กล่าวเสริมว่า" เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนผู้พิการทางสายตา หนังสือที่อ่านควรเป็นหนังสือเรียน หรือเป็นหนังสือหรือบทความที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยผู้อ่านสามารถบันทึกเสียงอ่านได้โดยตรงที่ห้องบันทึกเสียงของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ หรือบันทึกเสียงด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมระบุชื่อหนังสือหรือบทความที่อ่านลงในเทปและบนม้วนเทปแล้วส่งมาที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ซึ่งทางโรงเรียนจะนำมาจัดหมวดหมู่เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป"

นอกเหนือจากกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว อาสาสมัครยังสามารถมีส่วนร่วมในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนแบบภาพนูน การสอนหนังสือเสริมและสอนการบ้านในช่วงเวลาเย็น การจัดรายการวิทยุบันทึกเทปเพื่อเปิดกระจายเสียงตามสายของโรงเรียน และร่วมในกิจกรรมนันทนาการต่างๆกับเด็กนักเรียนอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ 420 ถ.ราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพฯ โทร. 246-0070, 246-1431 หรือโทร. 01-252-4530, 01-330-6988 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


--จบ--


124





บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร


" ท่านภาวนาสถานที่เป็นมงคล มีเทวดามานมัสการ ตั้งหมื่น ท่านรู้ได้ด้วยภาวนา ขั้นละเอียดฯ อมนุษย์ท่านก็รู้ได้ "

" ท่านอาจารย์มั่น ท่านเป็นคนเด็ดเดี่ยวสละชีวิตถึงตาย สลบไป 3 คราว และท่านต้องการคนใจเด็ดเป็นสานุศิษย ฯ "

"ท่านทำตัวของท่านใหม่อยู่ในตระกูลทั้งหลาย ไม่ทำตัวของท่านใหคุ้นเคยในตระกูลเลย การไปมาของท่าน---ไปโดยสะดวก---มาโดยสะดวกไม่ขัดข้องในตระกูล "

" เป็นคนมักน้อยขอบใช้บริขารของเก่าๆ ถึงได้ใหม่บริจาคทานให้คนอื่น ข้อวัตรหมดจดดี สติตั้งอยู่ในสติปัฏฐานเสมอ เป็นผู้ไม่ละกาลวาจาพูดก็ดีเทศน์ก็ดี ไม่อิงอามิสลาภ สรรเสริญวาจาตรงตามอริยสัจตามความรู้ความเห็น อ้างอริยสัจเป็นหลักฐานเสมอ กาย วาจา ใจ เป็นอาชาไนยล้วน "

" ท่านประพฤติตนเป็นคนขวนขวายน้อยอามิส หมดจดในข้อวัตร และหมดจดในธรรมะ พ้นวิสัยเทวดา และมนุษย์ที่จะติเตียนได้ ไม่เป็นข้อล่อแหลมในศาสนา ท่านได้วัตถุสิ่งใดมา ท่านสละทันที สงเคราะห์หมู่พรหมจรรย์ฯ "

" สิ่งของอันใดท่านอยู่ที่ไหน เขาถวาย ท่านก็เอาไว้ให้พระเณรใช้ ณ ที่นั้น ท่านไม่ได้เอาไปด้วยฯ "

" มีคนไปหาท่านอาจารย์มั่น ท่านไม่ดูคน ท่านดูจิตของท่านเสียก่อน จึงแสดงออกไปต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่น อนึ่ง ท่านหันข้างและหันหลังใส่แขกท่านพิจารณาจิตของท่านก่อน แล้วพิจารณานิสัยของผู้อื่น นี้เป็นข้อลี้ลับมาก ต่อนั้นถ้าจะเอาจริงจังต้องประชันต่อหน้ากันจึงเห้นความจริงฯ"

" จิตของท่านผ่าอันตรายลงไปถึงฐานของธรรมะนี้มีราคามาก บ่งความเห็นว่าเป็นอาชาไนยโดยแท้ "

" ปฎิบัติธรรมท่านพูดทรมานใครแล้วย่อมได้ดีทุกๆคน ถ้าหมิ่นประมาทแล้วย่อมเกิดวิบัติใหญ่โต "

" ท่านมีนิสัยปลอบโยนเพื่อคัดเลือกคนดีหรือไม่ดี ในขณะท่านพูดเช่นนั้น ท่านหันกลับเอาความจริง เพราะกลัวศิษย์จะเพลิน ฯ "

"นิสัยท่านเป็นคนใจเดียว ไม่เห็นแก่หน้าบุคคล ในเวลาถึงคราวเด็ดเดี่ยวต่อธรรมะวินัยจริงๆฯ"

" ท่านเป็นคนไม่อวดรู้ แต่ธรรมะของท่านบอกเหตุผลไปต่างหากนี้เป็นข้อพึงวินิจฉัย "

" หาบุคคลที่จะดูจริตของท่านรู้ได้ยาก เพราะท่านเป็นคนนิสัยลึกลับ จะรู้นิสัยได้ต่อเมื่อบุคคลที่มีภูมิจิตส่วนเดียว ฯ "

" ท่านผู้มีอำนาจในทางธรรมะ ทำอะไรได้ไม่ครั่นคร้าม ชี้เด็ดขาดลงไป ไม่มีใครคัดค้าน นี่เป็นอัศจรรย์มาก ฯ "

"ท่านถือข้างใน ปฏิปทาความรู้ความเห็นของท่านเกิดจากสันตุฎฐี ความสันโดษของท่าน ท่านนิสัยไม่เป็นคนเกียจคร้าน ขยันตามสมณกิจวิสัย หวังประโยชน์ใหญ่ในศาสนา ฯ " "ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้ที่สะอาด ไตรจีวร และ เครื่องอุปโภคของท่านไม่ให้มีกลิ่นเลย ถูย้อมบ่อย ๆ "

" ท่านบวชในสำนักพระอรหันต์ 3 องค์ แต่เมื่อชาติก่อนๆโน้น "

" ท่านไม่ใคร่พยากรณ์ใครๆเหมือนแต่ก่อน ท่านพูดแต่ปัจจุบันอย่างเดียว นิสัยท่านชอบเก็บเอาเครื่องบริขารของเก่าไว้ใช้ เพราะมันภาวนาดี เช่นจีวรเก่าเป็นต้น ฯ "

"ท่านไม่ติดอามิส ติดบุคคล ติดลาภ ยศ สรรเสริญ ท่านถือธรรมะเป็นใหญ่ ไปตามธรรมะ อยู่ตามธรรมะฯ"

" ท่านพูดธรรมะไม่เกรงใจใคร ท่านกล้าหาญ ท่านรับรองความรู้ของท่าน ฉะนั้นท่านจึงพูดถึงพริกถึงขิง ตรงอริยสัจ พูดดังด้วย พูดมีปาฏิหาริย์ด้วยเป็นวาจาที่บุคคลจะให้สิ้นทุกข์ได้จริง ๆ เป็นวาจาที่สมถะวิปัสสนาพอ ไม่บกพร่องกำหนดรู้ตามในขณะกาย วาจา จิตวิกาลตรงกับไตรทวารสามัคคีเป็นวาจาที่เด็ดเดี่ยวขลังดีเข้มแข็งดี เป็นอาชาไนยล้วน วาจาไม่มีโลกธรรมติด เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ พระเณรอยู่ในอาวาสท่านได้สติมาก เพราะบารมีของท่านเสื่อม ถ้าขืนประมาทท่านเกิดวิบัติ ฯ "

" ท่านอาจารย์มั่น เทวดาและอมนุษย์ไปนมัสการท่าน เท่าไรพันหรือหมื่นท่านกำหนดได้ "

" ท่านรักษาระวังเทวดามนุษย์ประมาทท่าน เช่นเยี่ยงท่านก็มีระเบียบแม้กิจเล็กๆน้อยๆเป็นระเบียบหมด ฯ "

" ท่านอาจารย์ท่านพูดโน้น คำนี้อยู่เสมอ เพื่อจะให้สานุศิษย์หลงเพื่อละอุปาทานถือในสิ่งนั้น ๆ ท่านทำสิ่งที่บุคคลไม่ดำริไว้ สิ่งใดดำริไว้ท่านไม่ทำ นี้ส่อให้เห็นท่านไม่ทำตามตัณหาของบุคคลที่ดำริไว้ ฯ "

" จิตของท่านอาจารย์มั่นผ่าอันตรายลงไปตั้งอยู่ด้วยอมตธรรม บริบูรณ์ด้วยมหาสติ มหาปัญญา มีไตรทวารรู้รอบ มิได้กระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง และมีญาณแจ่มแจ้ง รู้ทั้งเหตุผลพร้อมกัน เพราะฉะนั้น แสดงธรรมมีน้ำหนักมาก พ้นวิสัยคนที่จะรู้ตามเห็นตาม เว้นแต่บุคคลบริบูรณ์ด้วยศีลและสมาธิมาแล้ว อาจที่ฟังเทศนาท่านเข้าใจแจ่มแจ้งดี และบุคคลนั้นทำปัญญาสืบสมาธิต่อ ฯ "

" จิตท่านอาจารย์มั่นตื่นเต้นอยู่ด้วยวามรู้ ไม่หยุดนิ่งได้ มีสติรอบเสมอ ไม่เผลอทั้งกายและวาจา เป็นผู้มีอริยธรรมฝังมั่นอยู่ในสันดาน ไม่หวั่นไหว ตอนนี้ไม่มีใครที่จะค้านธรรมเทศนาของท่านได้ เพราะวาจาเป็นอาชาไนย และมีไหวพริบแก้ปฤษณาธรรมกายได้ฯ "

" ธาตุของท่านอาจารย์เป็นธาตุนักรู้เป็นธาตุที่ตื่นเต้นในทางธรรมะ เป็นผู้ที่รู้ยิ่งเห็นจริงในอริยสัจธรรม ท่านดัดแปลงนิสัยให้เป็นบรรพชิต ไม่ให้มีนิสัยหิน เพศติดสันดาน ท่านประพฤติตนของท่านให้เทวดาและ มนุษย์เคารพ และท่านไม่ประมาทในข้อวัตรน้อยใหญ่ ฯ "

" ท่านไม่ให้จิตของท่านนอนนิ่งอยู่อารมณ์อันเดียว ท่านกระตุกจิต จิตของท่าน ค้นคว้าหาเหตุหาผลของธรรมะอยู่เสมอ ท่านหัดสติให้รอบรู้ในอารมณ์และสังขารทั้งปวงฯ"

"ท่านอาจารย์มั่นท่านเก่งทางวิปัสสนา ท่านเทศน์ให้บริษัทฟัง สัญญา มานะเขาลด เจตสิก เขาไม่เกาะ เมื่อไม่เกาะเช่นนั้น ยิ่งทำความรู้เท่าเฉพาะในจิต ตรวจตราในดวงจิตขณะที่นั่งฟัง ต่อนั้นจะเห็นอานิสงส์ทีเดียว ไม่ทำเช่นนั้นหาอานิสงส์การฟังธรรมมิได้ ถ้าประมาทแล้วจะเกิดวิบัติเพราะคามานะทิฐิของตน วินิจฉัยธรรมมิได้ "

" ท่านเทศน์อ้างอิงตำราและแก้ไขตำราดุจของจริงทีเดียว เพราะท่านบริบูรณ์วิปัสสนาและสมถะพอ และท่านยกบาลีเป็นตัวเหตุผลแจ่มแจ้ง "

"ท่านอาจารย์มั่นอุบายจิตของท่านพอทุกอย่างไม่บกพร่อง คือพอทั้งสมถะ พอทั้งวิปัสสนาทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ท่านเทศนาจิตของผู้ฟังหดและสงบ และกลัวอำนาจ เพราะนิสัยคนอื่นไม่มีปัญญาที่จะชอนเข็มโต้ถามได้ ตรงกับคำว่าพอทั้งปัญญา พอทั้งสติ ทุกอย่างเป็นอาชาไนยล้วน รวบรัดจิตเจตสิกของคนอื่นๆมิอาจจะโต้แย้งได้ "

" ท่านว่า แต่ก่อนท่านเป็นคน " โกง " คน " ซน " คน " มานะกล้า " แต่ท่านมีธุดงค์ข้อวัตรทุกอย่างเป็นยอด ทำความรู้เท่าทันกิเลสเหล่านั้น เดี๋ยวนี้นิสัยก่อนนั้นกลายเป็นธรรมล้วน เช่น "โกงสติ " " ซนสติ " " มานะสติ " เป็นคุณสมบัติสำหรับตัวของท่าน" "ความรู้ความฉลาดของท่าน ไปตามธรรมคืออริยสัจ ใช้ไหวพริบทุกอย่าง ตรงตามอริยสัจ ตรงกับคำว่าใช้ธรรมเป็นอำนาจ คณาจารย์บางองค์ถืออริยสัจก็จริง แต่มีโกงนอกอริยสัจ เป็นอำนาจบ้างแฝง แฝงอริยสัจ ตรงกับคำที่ว่า ใช้อำนาจเป็นธรรมแฝงกับความจริง"

"ท่านอาจารย์เป็นนักปราชญ์แปดเหลี่ยมคม คมยิ่งนัก ธรรมชาติจิตของท่านที่บริสุทธิ์นั้น กลิ้งไปได้ทุกอย่างและไม่ติดในสิ่งนั้นด้วย ดุจน้ำอยู่ในใบบัว กลิ้งไปไม่ติดกับสิ่งอื่นๆเพราะฉะนั้นจิตของท่านถึงผลที่สุดแล้ว มิอาจจะกระทำความชั่วในที่ลับและที่แจ้ง เพราะสติกับปัญญารัดจิตบริสุทธิ์ให้มั่นคง ใฃ้ไหวพริบเป็นอาชาไนยอยู่เนืองนิตย์"



ที่มาhttp://www.luangpumun.org/nisay.html

125



กล่าวถึงพระสารีบุตร เมื่อบวชแล้วก็พักอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา บนเขาคิชฌกูฏกับพระพุทธองค์ ขณะนั้น ทีฆนขะ ซึ่งเป็นหลานชายอยู่ในสกุลพราหมณ์ เที่ยวเดินตามหาพระสารีบุตรผู้เป็นลุง เมื่อมองเห็นพระสารีบุตรถวายการพัดพระศาสดา ก็เกิดความไม่พอใจ ทีฆนขะกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่า ไม่มีสิ่งใดทำให้ข้าพเจ้าพอใจ หรือ ชอบใจได้เลย”

พระพุทธองค์จึงตรัสตอบไปว่า “ทีฆนขะเอ๋ย เจ้าก็ควรไม่พอใจกับความคิดเห็นของเจ้าด้วย”
 
ในใจของทีฆนขะอยากตอบโต้แต่ก็หาคำพูดใดมากล่าวโต้แย้งได้ พระพุทธองค์จึงเมตตาต่อไปว่า “ครั้งหนึ่งในอดีต มีพราหมณ์พวกหนึ่งถือตนว่า ไม่มีสิ่งใดเหมาะสมกับเรา ไม่มีสิ่งใดทำให้เราชอบใจได้ ส่วนพราหมณ์อีกพวกหนึ่งก็ถือว่า ทุกสิ่งล้วนเหมาะสมกับเรา เราพอใจไปหมดทุกสิ่ง ทั้งสองฝ่ายความเห็นไม่ตรงกัน จนเกิดทะเลาะกันไม่สิ้นสุด”
 
“พูดอะไรน่าเบื่อ” ทีฆนขะนึกคิดในใจ
 
พระพุทธองค์ก็ยังเมตตาต่อไปอีกว่า “ดูก่อน ทีฆนขะ มนุษย์เรานี้ เมื่อมีความสุขก็จะลืมความทุกข์ไปเสียสิ้น และเมื่อได้รับความทุกข์ ก็จะมองไม่เห็นความสุข คนส่วนมากเมื่อทุกข์ก็จะคิดว่าตัวต้องทุกข์ไปตลอด หรือเมื่อสุขก็คิดว่า ความสุขนั้นจะเป็นนิรันดร์ หารู้ไม่ว่าทั้งสุขทั้งทุกข์นั้นมิใช่ของจริง เหมือนดั่งเห็นเงาจันทร์ในขันน้ำ เงานั้นมิใช่ดวงจันทร์ที่แท้จริงดอก  สุขและทุกข์เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ผู้ที่มีสติก็ย่อมเบื่อหน่ายทั้งสุขและทุกข์ ย่อมหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่วิวาททุ่มเถียงกับผู้ใด แม้คำพูดนั้นจะระคายหู ก็ให้มีสติรู้ว่าเป็น แค่คำพูดเท่านั้นเอง”
 
ทีฆนขะเริ่มชัดแจ้งต่อคำสอนของพระพุทธองค์ “โอ บุคคลนี้สมเป็นศาสดาอย่างแท้จริง คำของท่านช่างชัดแจ้งดั่งบอกทางให้แก่คนหลงทาง เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ดั่งเทียนส่องสว่างกลางความมืด”
 
ทีฆนขะได้ดวงตาเห็นธรรม หมดข้อสงสัย ก้มกราบทูลพระพุทธองค์ ขอเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ขณะที่พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ได้ฟังพระพุทธดำรัสและพิจารณาไปตามเนื้อความแห่งธรรม จิตก็พ้นจากกิเลสทั้งปวง

ที่มาhttp://www.mindcyber.com/?p=354

126




ประโยชน์ทางสุขภาพที่ได้จากการทำสมาธินั้นมีอยู่มากมาย ไม่เพียงเฉพาะแต่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจะบรรเทาอาการได้เท่านั้น ในผู้ที่ฝึกทำสมาธิเป็นประจำยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้ และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ การทำสมาธินั้นได้ถูกนำมาใช้กันในวงกว้างกับโรคร้ายแรงหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคที่ประสบความสำเร็จและมีการบันทึกไว้ก็คือเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่นอาการสะเทือนใจและอื่น ๆ แล้วการทำสมาธิช่วยเรื่องสุขภาพได้อย่างไร?? ต่อไปนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่ทำสมาธิ:

*คุณจะรับออกซิเจนน้อยลง
*คุณจะหายใจได้ดีขึ้น
*การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
*ร่างกายจะแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของหัวใจของผู้ป่วย
*ร่างกายจะพักผ่อนได้ลึกขึ้น
*ทำให้ความดันเลือดที่สูงลดต่ำลง
*ลดความกังวล
*ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดศีรษะ
*เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
*การผลิตฮอร์โมน serotonin ช่วยให้ทำให้จิตใจดีขึ้น
*ช่วยทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงลดลง
*ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหายได้เร็วขึ้น
*กระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
*ช่วยให้อารมณ์คงที่ไม่แปรปรวน

ชนะความเครียด
ทุก ๆ คนล้วนมีแนวโน้มที่จะเกิดความเครียดได้จากชีวิตประจำวัน อาจเป็นจากที่ทำงานหรือที่บ้าน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนในการจัดการกับปัญหา ความเครียดและความกังวลนั้นมีผลทำให้ระดับความดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ เมื่อทำสมาธิ ความเครียดก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตก็จะไม่เกิดขึ้น

สิว
เมื่อเราจัดการกับความเครียดได้ การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันก็จะลดลง การอุดตันก็จะน้อยลง นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำไมสิวถึงน้อยลง หน้ามันน้อยลงเมื่อเรานั่งสมาธิอยู่เป็นประจำ

ความเจ็บปวด
ผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลาก็จะค่อย ๆ กลายเป็นความวิตกกังวล และทำให้ความอดทนต่อความเจ็บปวดน้อยลง โชคดีที่การทำสมาธิสามารถช่วยบรรเทาความกังวลได้ จึงช่วยลดความเจ็บปวดได้ด้วย

ป่วยเรื้อรัง
มีหลาย ๆ โรงพยาบาลที่แพทย์ใช้วิธีการให้ผู้ป่วยทำสมาธิเพื่อช่วยอาการป่วยเรื้อรัง เช่นมะเร็ง ซึ่งจะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยในระยะสุดท้าย การทำสมาธิก็จะช่วยลดความกังวลและความหดหู่และเพิ่มความรู้สึกดี ๆ ขึ้นมาได้

ความดันโลหิตสูง
การทำสมาธิจะให้ผลดีกับกรณีนี้มากในการช่วยลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยด้วยโรคนี้ ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสำหรับกลุ่มนี้

มีหลาย ๆ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่สามารถใช้วิธีการทำสมาธิเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น เรื้อนกวาง, โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ, อาการลำไส้ปั่นป่วน, Fibromyalgia (โรคกล้ามเนื้อตึง นอนไม่หลับ) เป็นต้น เมื่อความวิตกกังวลลดลง ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น และควบคุมสถานการณ์ได้ และช่วยให้รับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ดี



ที่มา เวปพลังจิตดอทคอม

127


ให้ทานอย่างไรจึงจะได้ผล : หลวงพ่อจรัญ


รายการ “ชีวิต……ไม่สิ้นหวัง เติมพลังคนรุ่นใหม่”
ไทยทีวีสีช่อง ๓ ออกอากาศวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๓

เรื่อง...ให้ทานอย่างไรจึงจะได้ผล



พิธีกร : ๑. รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์

พิธีกร อาทิตย์นี้เราจะคุยกันถึงเรื่องนิสัยการทำบุญของคนไทย กราบนมัสการหลวงพ่ออีกครั้งหนึ่งว่า การทำบุญของคนไทย เขามักจะทำและคาดหวังที่จะได้ในชาติหน้า เป็นความคิดที่ถูกต้องหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ เป็นความคิดของเขาเองโดยเฉพาะ เขาคิดว่าทำบุญแล้วต้องได้บุญ อาตมาก็คิดว่าจะต้องได้ แต่จะเห็นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ เจตนาเป็นตัวกรรมจากการกระทำนั้น การกระทำเป็นการทำบุญ ยกตัวอย่างง่าย ๆ บุญจากการถวายสังฆทาน ถวายผ้าป่า ก็อยากได้บุญทั้งนั้น แต่เจตนาเป็นบุญไหม มันอยู่ที่ตัวเจตนา ถ้าเขาเจตนาตั้งใจทำบุญ เขาก็ได้ของเขา แต่ได้มากได้น้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง บางทีได้ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ บางที่ได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็มี เพราะบุญมันอยู่ที่ใจ เขาทำนี่บางทีหวังผลตอบแทน อันนี้พูดเฉพาะเนื้อหาที่จะไปสวรรค์ แต่ที่นี้เจตนาของเขาว่าเขาทำบุญเขาต้องได้เพราะมีเจตนา ถ้าทำอย่างเสียไม่ได้ ทำบุญโดยคนอื่นมาชักจูง และ ทำอย่างเสียไม่ได้ ก็ได้เฉพาะที่ทำ ไม่มีงอก เช่นทำ ๕ บาท ก็ได้ ๕ บาท ไม่มีงอก บุญมันงอกที่ใจ ถ้าทำแล้วใจสบาย ทำแล้วชื่นอกชื่นใจ กำลังทำก็ชื่นใจ และ กลับมาแล้วก็ชื่นใจ นี่เป็นบุญแท้ ๆ ของเขา เขาต้องได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เขาทำอย่างไหน ก็ได้อย่างนั้น

พิธีกร หลวงพ่อคะ จำนวนเงิน กับ บุญ มันจะเท่ากันไหมคะ

หลวงพ่อ จำนวนเงินกับตัวบุญไม่เท่ากันหรอก บางคนพูดหลายนัย บอกทอดกฐินได้บุญน้อย ทอดผ้าป่าได้บุญมาก ทอดผ้าป่าได้บุญเหลือหลายได้ไปสวรรค์นิพพาน เขาลือกันอย่างนั้นเลย ลองมาคำนวณกันดูซิ ทอดกฐินไป ๑๐ ล้าน ทอดผ้าปาไป ๑๐ บาท มันต่างกันแล้ว นี่ ๑๐ บาท มันจะได้มากกว่าล้านหนึ่ง หรือ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก แต่เจตนาอย่างหนึ่ง บุญทานที่เราทำ ทำไปแล้วเงินเป็นล้าน ๆ แต่จิตใจไม่สมัครที่จะทำ ทำโดยเสียมิได้ก็มี มันมีหลายอย่าง มันอยู่ที่ใจเขา ดังนั้นขอข้อต่อไปว่า บางคนไม่มีสตางค์ ทำบุญได้ไหม ได้เลย เอากำลังกายไปช่วย เอากำลังใจไปช่วยกัน เอาสติปัญญาไปช่วย เขาเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาสาธุการ ได้บุญเท่ากันหมด บางคนลงทุนไปเป็นล้าน ๆ ไม่ได้อะไรเลย ทำแบบเสียไม่ได้ ทำสงเดชไปแล้ว ไม่ได้จบศีลจบทาน ทำไปแล้วไม่ได้นึกถึง ปัตตานุโมทนามัยแต่ประการใด ทำเหมือนการช่วยกันไป แต่ไม่ได้นึกถึงบุญแห่งความสุขในใจเขา เจตนาไม่เป็นบุญเลย เขาจะได้บุญหรือ ก็เรียกว่าเอาเงินไปช่วยเขาเท่านั้น แต่อีกคนหนึ่งยากจนเหลือเกิน ลูกหลานก็ยากจน ไปกันหมดเลย ไปช่วยงานวัดด้วยกำลังกาย เอากำลังใจไปช่วย ใช้สติปัญญาที่จะช่วยเหลือวัดได้ ใครมีกฐินก็ไปช่วย ใครทอดผ้าป่าก็ไปช่วย ใครบวชนาคก็ไปช่วย ใครทำอะไรก็ไปช่วย ในกาลต่อมาหลาน ๆ เป็นดอกเตอร์หลายคน มีตัวอย่างที่สิงห์บุรีนี่ ลูกหลานเป็นดอกเตอร์หลายคน เกิดปัญญาได้ บุญที่เกิดจากความสุขที่เขาไปช่วยมา มีลูกหลาน เขาก็เลยฝากไปเรียนให้ นี่แหละ บุญสะท้อนย้อนมา บุญสะท้อนย้อนสังคมไปช่วยคนโน้น ไปช่วยคนนี้ เลยเขาก็ช่วยมั่ง ช่วยลูกหลานเข้าโรงเรียน จบจุฬาฯบ้าง ไปอเมริกาบ้าง นี่ทำบุญโดยไม่ต้องใช้สตางค์เลย บุญอย่างนี้เป็นความสุขที่แน่นอน ที่ เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ สรุป ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา สะท้อนย้อนเป็นอานิสงส์ ทำให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง เร่งก้าวหน้า กล้า ประหยัด ได้สมปรารถนาทุกประการ ขอเจริญพรอย่างนั้น

พิธีกร ตั้งคำถามกับหลวงพ่ออีกคำถามนะคะ สมมุติว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งสามีตาย สามีของเขาชอบกินแกงมะเขือมากเลย เขาก็แกงมะเขือมาถวายหลวงพ่อ แต่ว่าหลวงพ่อแพ้แกงมะเขือ หลวงพ่อก็ฉันมะเขือไม่ได้ การที่หลวงพ่อไม่ฉันมะเขือ จะทำให้ผู้หญิงคนนั้นเขาไม่ได้บุญหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ อาตมายังเคยโดนเลย เขาเอาเหล้ามาถวาย เอามาทำไม เขาบอกสามีฉันชอบ ช่วยกรุณาฉันเหล้าให้สามีหน่อย เขาก็ได้ของเขา ได้ตรงไหน แต่ขอเจริญพรว่าจะได้บุญไหม เอาเหล้ามา เอาแกงมะเขือมา อาตมาก็ฉันไม่ได้ แล้วก็ยำไก่ เราไม่ฉันไก่ ฉันเนื้อ เขาจะได้อะไรกลับไป ก็ขอย้อนถามมั่ง ว่าจะได้ไหม เขาจะได้บุญไหม

พิธีกร เขาได้ตรงเจตนาที่เขามาถวาย

หลวงพ่อ ได้ที่กตัญญูกตเวที เขานึกถึงสามีเขา เขารักสามี เขากตัญญูกตเวทิตาธรรม เป็นผู้มีบุญวาสนาด้วยไม่ลืมสามี เขาได้ตรงนั้น

พิธีกร ท่านผู้ชมทางบ้านเคยสังเกตไหม เวลาที่เราถวายอะไรพระ เราต้องเลือกของดีที่สุดมาถวายพระเสมอ แต่บางครั้งของดีที่สุด มันก็ไม่ได้ถูกกับสมณวิสัยนัก ในลักษณะนี้ขอคำอธิบายจากหลวงพ่อว่า เขาเอาของดีประเสริฐ เลอเลิศมาถวาย แต่ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพระก็ใช้ไม่ได้ หลวงพ่อจะรับหรือไม่คะ

หลวงพ่อ คืออย่างนี้ ต้องพูดอย่างนี้ก่อน คนที่จะเอาของมาถวายพระนั้น ต้องเป็นของดีของเขา แต่ไม่ใช่ของดีของพระ ของดีของเขาเอง ขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต พระพุทธเจ้าสอน เช่น พราหมณ์เอาภัตตาหารมาถวายพระพุทธเจ้า โดยจัดขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต มาถวาย พระองค์ก็ฉลองศรัทธา แต่ของดีของเขานั้น เฉพาะในบ้านเขา แต่ไม่ใช่ภัตตาคาร มันของดีในบ้าน บางคนเขาอาจทำน้ำพริกดีของเขา หรือ ทำน้ำปลาร้าแบบคนไทย หรือ คนลาวที่เขาชอบปลาร้า อย่างดีของเขาเอามา นี่เรียกว่า ขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต สำหรับทายก แปลว่าอะไร ทายกแปลว่า ผู้ถวายเป็นผู้ศรัทธา อาตมาเป็นพระภิกษุเรียกว่าอะไร เรียกว่า ปฏิคาหก รับทานของทายกโดยเคารพ เขาก็ได้บุญ เรียกว่า ถวายขาทนียะ โภชนียะ โดยประณีตแล้ว พระสงฆ์ก็รับของทายกโดยเคารพ แต่ฉันไม่ได้ อาตมานี่ไม่ฉันเป็ด ไก่ หรือ เนื้อ แต่เขามาถวายก็ต้องรับโดยเคารพ แต่ฉันไม่ได้ แต่เขาก็ได้ของเขา โดยเขาทำอย่างประณีต ทำด้วยความตั้งใจ และ เราก็รับด้วยความตั้งใจ แต่เราก็ฉันไม่ได้ เรามีสัจจะเราจะไม่ฉันเนื้อสัตว์ อย่างนั้น เราก็ไม่ฉัน เราก็ไม่เสียหาย ขอเจริญพรอย่างนั้น

พิธีกร พระบางรูปนะคะ ถือมังสวิรัติ หากมีคนเอาเนื้อสัตว์มาถวาย จะทำตัวอย่างไร

หลวงพ่อ ถ้าหากเขาไม่ทราบก็มีปัญหาแล้วนี่ เพร่า เนื้อสัตว์พระพุทธเจ้ามิได้ห้าม เพราะเทวทัตไปขอพระ ๕ ประการ ซึ่งได้แก่
๑. พระต้องอยู่ป่าตลอดชีวิต
๒. พระต้องบิณฑบาตตลอดชีวิต
๓. พระต้องถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต
๔. พระต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต
๕. พระต้องฉันมังสวิรัติตลอดชีวิต

พระพุทธเจ้าบอกว่าแล้วแต่ จะอยู่บ้านก็ได้ อยู่ป่าก็ได้ ปฏิบัติให้อยู่ในพระธรรมวินัยที่พระองค์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่ถ้าหากเขาเอาพวกเนื้อ ไก่ หรือ เนื้ออะไรมาถวาย มียังไงก็ฉันอย่างนั้น เป็นการดำรงชีวิตของพระภิกษุ ภิกษุแปลว่าอะไร แปลว่าฝากชีวิตไว้กับผู้อื่น ภิกษุแปลว่า อยู่ง่ายกินง่าย โยมมีเกลือฉันเกลือ มีมะเขือฉันมะเขือ ไม่มีไม่ต้องฉัน นี่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เลยก็มีแนวความคิดว่า ภิกษุว่านอนสอนง่ายมีอะไรก็ฉัน ไม่มีก็ไม่ฉัน จะมีอะไรมาก็ได้ โยมเขามีประเพณีบ้านไม่เหมือนกัน บางทีเขามีเนื้อสัตว์มา เรานี่มังสวิรัติไม่ฉันเนื้อสัตว์ เราก็รับได้ แล้วไม่ฉัน แต่เขาก็ได้บุญเหมือนกัน เขาไม่รู้นี่ แต่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าห้ามว่าพระไม่ฉันเนื้อสัตว์ มีวินัยอยู่ในข้อไหน มีแต่พระเทวทัตมาบอกไม่ให้ฉัน เพื่อจะเอาอิทธิปาฏิหาริย์เพื่อจะเอาเหนือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าต้องไม่ให้แน่นอน พระพุทธเจ้าก็อยู่ง่ายกินง่าย ว่านอนสอนง่าย เสด็จไปบ้านใคร เขามีอย่างไรก็ฉันอย่างนั้น เกลือก็ได้ มะเขือก็ได้ หรือเขามีเนื้อย่าง ซึ่งมันมีอยู่แล้ว เขาไม่ได้ไปฆ่าสัตว์ หรือพระภิกษุไปโปรดที่บ้าน ไม่รู้จะทำอะไรก็เอาไก่มาฆ่า มองเห็นปั๊บ ฉันไม่ได้เลย ฉันเป็นอาบัติโทษอย่างร้ายแรง ก็ไปส่งเสริมให้เขาฆ่าไก่ เพราะเราหรือเป็นบาปอย่างร้ายแรง จึงฉันไม่ได้ ขอเจริญพรอย่างนี้

พิธีกร ท่านผู้ชมคะ ทานคือการให้ มันมีหลายรูปแบบ ทั้งหมดที่เราพูดมาเป็นวัตถุทานทั้งหมดเลย ขอเรียนถามหลวงพ่อว่า ยังมีทานอะไรอื่นอีกที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งว่าเป็นทานที่ประเสริฐที่สุด ทานที่ประเสริฐที่สุดมีอะไรบ้าง

หลวงพ่อ ทานมีหลายทาน การให้ทานกับคนที่ต้องการ คนที่ไม่มีเราเอาไปให้เขา ยกตัวอย่างคนกำลังจมน้ำ เราช่วยเขาเราได้บุญ นี่เป็นทาน ประการที่สอง เขาไม่มีข้าวปลาอาหารรับประทาน เราเอาไปให้เขา นี่ก็เป็นทานอีกอันหนึ่ง ทานทั้งนั้น แต่คนที่ยากไร้ยากจน ไม่มีผ้าผ่อนห่ม เราก็เอาผ้าห่มไปให้ ก็เป็นทานอันหนึ่ง ก็ช่วยเหลือกันไป ตามตำราเรายิ่งให้ยิ่งได้ หวงอดหมดไม่มา ทานอะไรไม่ล้ำเลิศประเสริฐเท่ากับให้ความดีเป็นทาน หรือ ให้ธรรมเป็นทาน เราช่วยให้เขาเป็นคนดี ดีที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นทานอะไรหนอ ทานน้ำใจใสสะอาด ปราศจากมลทินที่เราให้จะประเสริฐเท่ากับให้ธรรมะ ให้ธรรมะเป็นทาน นี่ประเสริฐที่สุด ทำคนให้เป็นคนดี ให้ละชั่วประพฤติดี รักษาจิตผ่องใส ใจสะอาดหมดจด นั่นแหละทานชั้นสูง การปฏิบัติธรรมก็เป็นทานชั้นสูง ถ้าเรามีโอกาสชี้แจงให้เขาปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ก็เป็นทานที่ดีกว่าการแจกหนังสือ ถ้าเขาปฏิบัติได้ก็เป็นทานอันประเสริฐจริง ให้โจรเป็นคนดีได้ ให้คนชั่วเป็นคนดีได้ และให้คนไม่มีความรู้มีความรู้มีวิชาได้ เป็นทานที่ประเสริฐ

พิธีกร ท่านผู้ชมทางบ้านเคยตั้งคำถามอย่างนี้ว่า เราเป็นเจ้าภาพบวช นาย ก. เป็นพระ เสร็จแล้วพระก็ไม่ได้ทำตัวดี ไม่ได้เป็นพระที่ดี เราจะได้บาปไหมคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ ไม่บาป เราไม่ได้บาป เราบวชพระเราได้บุญ เราตั้งใจเจตนาบวชพระ แต่เราก็ไม่รู้นี่ว่าพระท่านปฏิบัติอย่างไร และพระดีชั่วเราไม่รู้เราต้องได้ สาธุก็ได้แล้ว สุทินนัง วตะ เม ทานัง ปริสุทธิทานัง อาสวักขยาวหัง นิพพานังโหตุ เราได้แล้ว จบผ้าไตรได้เลย ได้เดี๋ยวนี้ด้วย แต่ยังไม่บวชก็ได้แล้ว เจตนาที่จะบวชพระสักองค์ได้แล้ว มันใจสบาย มีความสุข ถ้าเราตายเดี๋ยวนี้ไปสวรรค์แน่นอน ไม่ไปนรกหรอก แต่บวชแล้ว พระไปทำไม่ดี ก็เป็นเรื่องของท่าน อย่าไปคิดมัน ยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง พระมาบิณฑบาตที่หน้าบ้าน เป็นพระที่เราเข้าใจว่าประพฤติปฏิบัติไม่ดี ไม่ใส่บาตร อย่างนี้เราไม่ต้องหาพระที่จะทำบุญแล้ว อย่าไปคิดมัน นุ่งเหลืองมาก็สาธุ สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สังฆัง นมามิ แล้วใส่บาตร ข้าพเจ้าทำบุญใส่บาตรกับพระสุปฏิปันโนผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบแล้ว เราก็สาธุ เราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่พระ ท่านจะเอาไปอย่างไร ช่างท่านเถอะ แม้บางคนจะทำบุญสักทีทำยาก พระองค์นี้ก็ไม่เอา องค์นั้นก็ไม่เอา แล้วจะไปหาพระที่วัดไหน พระที่ไหน พระเมืองไหน ไปหาพระที่เมืองศรีลังกาหรือ ค่าเครื่องบินก็ไม่พอ จะพระองค์ไหนมาก็ใส่บาตรไปเถอะ ก็เราตั้งใจแล้ว ขอเจริญพร พี่น้องชาวไทยใส่บาตรไป มาหน้าบ้านก็ใส่บาตรไปเถอะ พอเห็นเหลือง ๆ ก็ สาธุ อย่าไปว่าพระได้ไหม ไม่อย่างนั้นก็ไม่ได้ทำบุญ ไปจนกระทั่งตาย เห็นเณรก็ใส่ไปเถอะ เห็นเดินมาก็สาธุ เป็นสุปฏิปันโน ทั้งนั้น เราได้บุญ

พิธีกร ท่านผู้ชมคะ ตรงนี้เป็นปัญหาในภาคปฏิบัติของเราจริง ๆ นะคะ เราจะคิดอย่างนั้น ว่าหลวงพี่องค์นี้เดินเวียนเทียน หมายความว่าอาหารที่ใส่บาตรนำไปขายต่อ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ทำบุญด้วย แต่ทีนี้หลวงพ่อก็ให้หลักของการทำบุญ ว่ามันอยู่ที่ใจ เราสนับสนุนพระสุปฏิปันโน พระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถ้าหากท่านปฏิบัติไม่ดี ไม่ชอบก็เป็นเรื่องของพระไปนะคะ คำถามสุดท้าย ขอกราบเรียนถามอีกคำถามหนึ่ง คือ เรามักจะทำบุญด้วยอาหารที่คนตายชอบกิน เป็นการปฏิบัติถูกต้องหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ มันก็ถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง มีทั้งถูกและไม่ถูก ถ้าของที่คนที่ตายชอบกิน แล้วหาไม่ได้จะทำอย่างไร เผื่อคนตายชอบในสิ่งที่ในประเทศไม่มี ก็ตายนะซิ ถ้ามีก็ถวายพระไป ถ้าไม่มีจะเอาที่ไหน ไม่มีก็เอาอาหารที่เราชอบหรือเรามีก็แล้วกัน การทำนี่ ขอเจริญพร สามีตายไป หรือ ภรรยาตายไป เราก็ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือเปล่า ถ้าสามีภรรยาไปเกิดบนสวรรค์ ได้แต่รับทราบเฉย ๆ ภรรยาทำบุญมาให้ ก็อนุโมทนาให้พรมาเท่านั้น แต่สามีภรรยาของเราตายไปลงโลกันต์ ไปนรกเลย ห้ามสวรรค์นิพพาน ทำบุญไปให้ก็ไม่ได้ ไม่ได้รับเลยนะ

พิธีกร ท่านผู้ชมคะ ในการทำบุญนั้น เราต้องคิดถึงหลักทางสายกลาง ไม่ใช่ไปยึดมั่นถือมั่นสุดกู่ เรายังปฏิบัติผิดพลาดกันอยู่ หรือว่าคิดในการทำบุญผิดพลาดกันอยู่ ต้องขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ที่ให้แนวที่ชาวพุทธควรปฏิบัติให้ถูกต้อง


---------- จบ ----------

ที่มา : http://www.jaran.org
 
 

128


ใครที่อยากนอนหลับสบายตลอดคืน วันนี้มีวิธีผ่อนคลายก่อนเข้านอนมาบอก

- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนการเข้านอน ถ้าจำเป็นต้องดื่ม ก็ควรดื่มไม่เกิน 2 แก้ว

- ปิดโทรศัพท์ก่อนเข้านอน เพื่อไม่ให้มีใครโทรมารบกวนเวลาที่ใกล้จะหลับ

- นอนที่ที่รู้สึกสบายที่สุด และเป็นที่นอนที่ไม่เป็นแอ่ง เพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังและปวดไหล่ตอนตื่นนอนได้

- เลือกหมอนที่รู้สึกว่านอนแล้วรับกับลำคอ

- อาจเปิดเพลงช้าๆ ฟังสบายๆ เพื่อทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อาจเป็นพลงบรรเลงเบาๆ หรือฟังเพลงโปรดก็ได้

- ก่อนนอนพยายามเปิดแสงไฟนวลตา หรือไฟสีเหลืองส้มจะทำให้ดวงตาปรับแสงได้ดี ประสาทตาทำงานน้อยลง หลังจากปิดไฟนอนจะหลับสบายมากขึ้น

- ก่อนนอนใส่เสื้อผ้าสบายๆ เลือกใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าสบายๆ ไม่หนามากจนเกินไป เพื่อให้เหมาะกับอากาศ เและไม่ควรใส่ชุดชั้นในเวลานอน

- ค่อยๆล้มตัวลงนอนกับหมอนนุ่มๆ แล้วสูดหายใจเข้าออกยาวๆ หลายๆครั้ง เมื่อเริ่มรู้สึกผ่อนคลายแล้วก็ค่อยๆ ปิดเปลือกตาลง

เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้หลับสบายตลอดคืนแล้ว.



ที่มา เดลินิว์ออนไลน์

129




เคยมีอาจารย์องค์หนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหาเยอะ วันหนึ่งตอนเทศน์อบรมศิษย์ ท่านสอนว่า การปฏิบัติเหมือนเทน้ำใส่กระชอนให้เต็ม ท่านพูดแค่นั้นแล้วจบการแสดงธรรม โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ เลย ผู้ฟังก็งงทั้งนั้น ว่าจะเทน้ำใส่กระชอนให้มันเต็มอย่างไร น้ำที่เทเข้าไปต้องรั่วไหลออกมาตามรู คฤหัสถ์บางคนคิดว่าอาจารย์คงล้อเล่นโยมกระมัง หาว่าฆราวาสเราปฏิบัติอย่างไม่ค่อยได้ผล พอเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมานิดหน่อย ก็ปล่อยให้มันไหลออกไปด้วยความประมาท บรรลุธรรมชั้นสูงไม่ได้ บางคนก็ท้อใจ
           
            แต่คนหนึ่งเขาคิดว่า พระพุทธองค์ เคยตรัสสอนว่า ถ้าเราปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น เราต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คำพูดของอาจารย์คงไม่ขัดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรอก เพียงแต่ว่าเรายังไม่เข้าใจความหมายของท่านต่างหาก เดี๋ยวนี้เราไม่มีเวลาที่จะไปปฏิบัติธรรม ไม่มีเวลาที่จะพักผ่อน  ไม่มีเวลาที่จะขี้เกียจ เราทำไปเรื่อยๆ ถือเป็นหน้าที่ของเรา เราจะได้ผลน้อย ได้ผลมากก็ไม่เป็นไร เราจะไม่คาดหวังอะไร เราจะทำไป จากนั้น เขาเลยลงมือปฏิบัติ อาจารย์เห็นแล้วชมเชย พาไปชายทะเลอธิบายความหมายของคำสอนของท่าน
           
            ท่านไปยืนอยู่บนหินก้อนใหญ่ที่ยื่นออกไปในน้ำ แล้วเอากระชอนนั้นลงไปในทะเล ยกขึ้นมา น้ำก็ไหลออก ทำสองสามครั้งให้เห็นว่าทุกครั้งที่ยกกระชอนขึ้นมา น้ำไหลออกไป มันไม่อยู่ ท่านบอกว่า การปฏิบัติของปุถุชนมักจะเป็นอย่างนี้ เอาธรรมะน้อมมาใส่ใจของตน แล้วมันก็อยู่ไม่นาน มันไหลออกไป แต่ว่าอันนี้ก็เพราะปุถุชนยืนอยู่บนก้อนหินแข็ง คือ อัตตา การปฏิบัติยึดอัตตาเป็นหลักอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของฉัน ความก้าวหน้าของฉัน ความสุขของฉัน ความทุกข์ของฉัน การปฏิบัติที่ยืนบนอัตตาเป็นหลักตายตัวแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความลึกซึ้งของพระพุทธธรรมได้
           
            อธิบายจบแล้วท่านโยนกระชอนทิ้งไว้ในทะเล กระชอนนั้นเต็มไปด้วยน้ำ แล้วก็จมไปในน้ำ
             
           “เห็นไหมล่ะ?” อาจารย์ถาม “กระชอนมันเต็มไปด้วยน้ำแล้ว”
            คือ แทนที่จะเอาธรรมะน้อมเข้าสู่ใจของเรา เราต้องเอาใจของเราน้อมไปหาธรรมะ เหมือนกับว่าเราเอาความยึดมั่นถือมั่นของเราไปทิ้งในทะเล คือ ความจริงหรือสัจธรรม ทิ้งความหวงแหนทั้งหลายเอาไว้ในความจริง ยอมรับความจริง จงปล่อยวางความคิดแล้วจิตใจของเรามันก็จะค่อยเต็มไปด้วยธรรมะ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมะ แล้วเราก็เป็นธรรมะ เมื่อเรามีสัมมาทิฐิอย่างเต็มที่แล้ว เราจะทำอะไรจะพูดอะไร จะคิดอะไร มันก็จะเป็นธรรมะหมด  ชีวิตของเรากับธรรมะจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหมือนกับกระชอนที่เต็มไปด้วยน้ำ แล้วค่อยจมลงในน้ำ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทะเล


ที่มาสาระจากเรือนธรรม

130
   
 





ในพระพุทธศาสนา มีการสอนเรื่องการดูดวง การทำนายทายทักไว้บ้างไหม

ในพระพุทธศาสนา
มีเรื่องการดูดวง การทำนายทายทัก
สมัยพระพุทธเจ้าประสูติได้ 5 วัน
หมู่พราหมณ์ 7 คน
ได้ทำนายทายทักเป็น 2 นัย
ถ้าทรงครองเรือน จะได้เป็นพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่
แต่ถ้าทรงผนวช จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
มีแต่โกณฑัญญะพราหมณ์ ทำนายเป็นนัยเดียวว่า
พระโอรสองค์นี้ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
ตกลง แทงกั๊ก 7 คน ฟันธง 1 คน
น่าคิดนะโยม

แต่ในทางพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา
พึ่งตนเอง พึ่งสติปัญญา ยึดมั่นเรื่องเหตุผล

วันนี้ คือผลของเมื่อวาน
อนาคต ปัจจุบัน หรือพรุ่งนี้ จะเป็นอย่างไร
ต้องดูจากวันนี้
วันนี้ สร้างอะไรไว้
วันพรุ่งนี้ ก็จะปรากฏเช่นนั้น
มันเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สืบเนื่องกัน

 
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ธรรมะเดลิเวอรี่

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 [13] 14 15