4
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2022, 11:46:28 am »
.
ตอนนี้ กฎหมายที่เกี่ยวกับการขับรถประเภทต่างๆ และ เมาแล้วขับ
.
กฎหมายแรงมาก ครับ
.
มีโทษปรับและจำคุก
.
ไม่มีรอลงอาญา หรือ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อีกแล้ว
.
คนขายร่ำรวย คนกินยากจน
.
.
.
#กฎหมายจราจร
#เมาแล้วขับ
.
.
.
.
.
อ่านด่วน! เพิ่มโทษ'กฎหมายจราจร'ใหม่ ดัดนิสัยพวกชอบขับรถผิดกฎ
.
โพสโดย เว็บไซด์ naewna
.
วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 16.45 น.
.
.
"อัยการ"ชี้แก้บทลงโทษกฎหมายจราจรใหม่ ให้อำนาจตำรวจขอแพทย์ตรวจแอลกอฮอล์เมาแล้วขับ เสพยา ให้ศาลเพิ่มโทษพวกชนเเล้วหนี เพิ่มค่าปรับพวกโทรไปขับไป ขับเร็วหวาดเสียวไม่ชะลอทางม้าลาย พร้อมให้อำนาจศาลวางข้อกำหนดคดีแข่งรถ ให้พ่อแม่จ่ายเงินถ้าลูกทำผิดซ้ำ
.
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว ความว่า ตามที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2565
.
นอกจากจะมีการแก้ไขมาตรา 123 กำหนดให้คนโดยสารที่นั่งแถวที่นั่งตอนอื่นที่ไม่ใช่แถวหน้าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย และเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก อีกมากในหลายๆ เรื่อง ซึ่งจะขอนำมากล่าวในที่นี้เฉพาะบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้
.
.
- กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น และผู้ขับขี่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจสอบหรือทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์บุคคลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด โดยแพทย์สามารถเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นจากร่างกายของบุคคลดังกล่าวได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ (มาตรา 40 ทวิ/1 และมาตรา 142 วรรค 6) ซึ่งตามกฎหมายเดิม การตรวจสอบหรือทดสอบดังกล่าวจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ขับขี่เสียก่อนเท่านั้น
.
- ให้ศาลมีอำนาจเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ชนแล้วหนี ซึ่งขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส แล้วไม่ให้การช่วยเหลือตามสมควรหรือไม่แสดงตัวต่อตำรวจ ณ สถานที่เกิดเหตุ ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง โดยศาลมีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นสำหรับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสได้อีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนด (มาตรา 160)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง จากเดิมปรับไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 152)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานไม่ลดความเร็วของรถ เมื่อเข้าใกล้ทางข้ามหรือทางม้าลายตามมาตรา 70 จากเดิมปรับไม่เกิน 5 ร้อยบาท เป็น ปรับไม่เกิน 2 พันบาท (มาตรา 148)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 154 จากเดิมปรับครั้งละไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานขับขี่รถในลักษณะกีดขวางการจราจร ขับขี่รถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ขับขี่รถคร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ ขับขี่รถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร และขับขี่รถในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมาตรา 43 (3) (4) (6) (7) และ (9) ตามลำดับ จากเดิมปรับตั้งแต่ 4 ร้อยบาท ถึง 1 พันบาท เป็นปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 157)
.
- และในกรณีที่มีการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางตามมาตรา 134 และผู้กระทำผิดมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ศาลมีอำนาจวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องระวังผู้นั้นไม่ให้กระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก ตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปีและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 5 หมื่นบาท หากผู้นั้นกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก (มาตรา 160 เบญจ)
.
.
.-------------------------------
.
.
รู้ก่อนเมา! เปิด "กฎหมายเมาแล้วขับ 2565" เมาแค่ไหน ถ้าขับ โดนปรับกี่บาท?
.
โพสโดย Ingonn
11 เมษายน 2565 ( 12:32 )
.
.
ตั้งแต่ภาครัฐ ได้มีการ “เปิดประเทศ” และผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิดมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอนุญาตให้ร้านอาหาร เริ่มเปิดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่งผลให้หลายคนเริ่มออกมาปาร์ตี้สังสรรค์ จนบางครั้งอาจลืมไปว่า เมาแล้วขับ มีโทษปรับและติดคุก ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ 2565 เป็นอีกวันหยุดยาวที่หลายคนเตรียมตัวสังสรรค์กัน ดังนั้นจึงควรรู้ข้อกฎหมายเมาแล้วขับไว้ด้วย
.
ทางกรมการขนส่งทางบก จึงได้รวบรวม "กฎหมายเมาแล้วขับ” มีโทษอย่างไร และต้องปรับเป็นเงินเท่าไหร่บ้าง มาฝาก แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือต้อง “ดื่มไม่ขับ” เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยต่อตนเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน
.
เช็ค "กฎหมายเมาแล้วขับ" มีอะไรบ้าง
กฎหมายเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่มี
.
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”
.
ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน
.
.
บทลงโทษ "เมาแล้วขับ" ตามกฎหมาย
.
เมาแล้วขับ หรือ การปฏิเสธเป่า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”
.
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”
.
จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย”
.
จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
.
เมาแล้วขับ ประกันรถยนต์จ่ายไหม
.
แบ่งออกเป็น 2 แนวทางเนื่องจาก ประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+) แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน
.
กรณีที่ 1 พ.ร.บ.รถยนต์ คือคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่คุ้มครอง
.
กรณีที่ 2 ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ประกันรถยนต์จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย แต่ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีเบี้ยสูงสุดก็ตาม
.
แม้บางคนคิดอาจว่า มีเงินจ่ายค่าปรับตามกฎหมายในกรณีที่เมาแล้วขับ แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ไม่คุ้มค่ากับการจ่ายเงินเลยสักนิด และร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิตได้ ทางที่ดีที่สุดคือ ดื่มไม่ขับ ช่วยลดอุบัติเหตุและความปลอดภัยบนท้องถนน
.
ข้อมูลจาก สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก , Tidlor
.