.

6. – 7. พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามดำนานพระแก่นจันทน์ ว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็น
เวลา 3 เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอนุสรณ์ถึงพระพุทธองค์จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้ แก่นจันทน์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทน์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธเจ้า เพราะสร้างในขณะพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่พระเจ้าแผ่นดินและผู้มีอำนาจ วาสนาจึงมักสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์หอมพระไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่นี้ แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง

8. พระพุทธรูปหลวงพ่อนาก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ พระองค์สีนาก เนื่องจากเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองคำมากเป็นพิเศษ พระเนตรฝังนิล ประทับขัดสมาธิเพชรพระบาททั้งสองข้างจำหลักลวดลายมงคล จากจารึกฐานพระพุทธรูปเป็นของพระยายุธิษฐิระเจ้าเมืองพะเยาสร้างเมื่อ พ.ศ.2019 เดิมพบในเจดีย์โบราณที่เมืองพะเยา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มาเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469 จึงพระราชทานให้เก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิ หมายถึงการตรัสรู้ธรรม

9. พระพุทธรัตนมหามุนี พระแก้วน้อย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณีเนื้ออ่อนแก้วสีเขียว พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัวพระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2534
นอกจากนี้เชิญชวนกราบนมัสการพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานภายในพระราชวังหน้า ณ อาคารสถานต่างๆ เฉพาะวาระพิเศษ คือ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอัครสาวกและพระอสีติสาวก จำนวน 24 องค์ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะทวารวดี อายุ เก่าแก่กว่า 1,000 ปี เดิมเป็นพระพุทธรูป 1 ใน 4 พระองค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่กับวิหารวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม จำหลักจากศิลาอ่อนสีขาว ปางประทานปฐมเทศนา ปัจจุบันประดิษฐาน ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

พระคเณศวร เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ศิลปะชวาภาคตะวันออก พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 ทรงประทับเหนือบัลลังก์กะโหลกในฐานะคณปติเจ้าแห่งภูติปีศาจ เพื่อขจัดอุปสรรคทั้งปวง ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท

หอแก้วศาลพระภูมิ ที่สถิตของพระภูมิเจ้าที่ประจำพระราชวังบวรสถานมงคลประดิษฐานเหนือเขาแก้ว ด้านหลังพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์

พระป้ายฉลองพระองค์ สถิตพระวิญญาณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเพื่อบูชาในพระราชวังบวรสถานมงคลตามคติอย่างจีน ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4หรือต้นรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันประดิษฐาน ณ ห้องพระป้าย พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์
จัดจำหน่ายดอกไม้- ธูปเทียน เครื่องพุทธบูชา เช่าบูชาเหรียญและรูปหล่อพระคเณศเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคและศิลปกรรม เทวสัญลักษณ์ประจำกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เข้ากราบนมัสการพระพุทธรูป ไม่มีค่าธรรมเนียมเข้าชม
เริ่มกิจกรรมไหว้พระปีใหม่ วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2553 , วันพุธที่ 5 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2554 เวลา 9.00 น. – 16.00 น. ในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2554 กรมศิลปากรจัดการบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระ ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว งดกิจกรรมไหว้พระ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ระหว่าง 9.00 – 12.00 น.
ที่มา ข่าวสด ออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1293873974&grpid=&catid=02&subcatid=0202.
http://board.palungjit.com/f179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2172.html.