แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ซุปเปอร์เบื๊อก

หน้า: [1] 2 3
1


มรดกที่ ๑๕๐.
   
จิตว่างแท้ ทางธรรมะ
   
ต่างจากจิตว่างอันธพาล ซึ่งไม่รู้จักจิตว่างที่แท้จริง

แล้วกล่าวหาว่า จิตว่างไม่ทำอะไร ไม่รับผิดชอบอะไร
   
ทั้งที่จิตว่างแท้จริงนั้น ทำหน้าที่ทุกอย่าง
   
ได้อย่างเฉลียวฉลาด ถูกต้อง และไม่เห็นแก่ตัว
   
จงรู้จักจิตว่าง กันเสียใหม่เถิด

   

คัดจากหนังสือ อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์
ท่านพุทธทาสภิกขุ

http://www.gotoknow.org/blog/pobbuddha/376369
http://agaligohome.com/index.php?topic=4804.msg13149;topicseen#msg13149

2
   

   ความรู้เรื่อง ไม่มีตัวตนนี้ ไม่ได้ทำใคร ให้หมดเรี่ยว หมดแรง ที่จะทำการ ทำงาน
   ความรู้นี้ ถ้ารู้กันจริงแล้ว จะทำให้ ทำงานสนุก ทำงานไม่เหนื่อย หรือว่า ทำงาน อย่างไม่เห็นแก่ตน
   เป็นการทำงานที่ประเสริฐกว่า, แล้วความรู้นี้ มันประเสริฐที่สุด
   ตรงที่ว่า จะนำมาซึ่งสันติภาพแก่มนุษย์
   
   มนุษย์จะไม่มีสันติภาพ ทั้งโลกและตลอดกาลนิรันดร; ถ้ามีตัวตนจัดแล้ว
   ไม่มีสันติภาพได้ คือพอเกิดขึ้นเท่านั้น ในภายในของคนๆหนึ่ง ก็ไม่มีสันติสสุขแล้ว
   เพราะพอยึดถืออันนี้เป็นหลัก มันเห็นแก่ตน เห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นศัตรูอันร้ายกาจของมนุษย์
   ความเห็นแก่ตัว เป็นสิ่งที่ เลวร้ายที่สุด ของมนุษย์ ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง
   แล้วทำให้เดือดร้อนกันไปทั้งโลกตลอดกาลนิรันดรเหมือนกัน

   
   ถ้าเข้าถึง อนัตตาโดยถูกต้อง ต้องใช้คำว่า "โดยถูกต้อง" คุณต้องขีดไว้ว่า โดยถูกต้อง
   เพราะมัน โดยผิดก็ได้; ถ้าเข้าถึงความรู้ เรื่องอนัตตา โดยถูกต้อง จึงจะมีผลดี
   ทั้งส่วนบุคคล และส่วนรวม ของสังคม
   
   ที่ว่า โดยไม่ถูกต้องนั้น คือ โดยมิจฉาทิฎฐิ โดยอันธพาลนั้น เหมือนพวกจิตว่างอันธพาลนั้น
   เขาว่า เอาอย่างนั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ว่าจิตว่างแล้ว มันก็กอบโกยเห็นแก่ตน ไม่ต้องถือธรรมะอะไรเมื่อจิตว่าง,
   ที่แท้ ถ้าจิตว่างแล้ว ทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะจิตมันว่าง จากความเห็นแก่ตน
   ว่างจากความหมายมั่นว่า เป็นตัวตน หรือเป็นของตน

   ฉะนั้น จิตว่าง มันทำอย่างนั้นไม่ได้ จะทำได้ แต่ที่ถูกต้อง บริสุทธิ์ งดงาม เป็นธรรมอะไรนั้น
   
   แต่ก็มี พวกจิตว่าง อันธพาล ที่เข้าใจคำว่าจิตว่างผิด
   ที่เขาไปเขียนด่า เขียนล้อว่า พอจิตว่าง ก็จะไม่ทำอะไร ที่เป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติ
   อย่างนี้ก็จะอย่างเดียวกัน หรือ ความหมายเดียวกันกับที่ว่า
   ถ้าเห็นอนัตตาแล้ว ก็จะไม่ทำอะไร ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง หรือ แก่
   ผุ้อื่น.
   นี่ในที่สุด มันก็เหลือ คาราคาซังอยู่ เป็นสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ถึง :

   ความรู้ไม่ถึง, สติปัญญายังไม่ถึง ก็ยังมีตัวตนอยู่เรื่อยไป.
   
   เรื่องมันก็เหลืออยู่ว่า ต้องทำความเข้าใจ ทำให้เข้าถึง ทำให้มองเห็น นับตั้งแต่ข้อเท็จจริง อันแรก ว่า
   ไม่มีอะไร ที่ควรเรียกว่าตัวตน, แล้วข้อเท็จจริง อันที่สองก็คือว่า
   เมื่อคนมีความรู้สึก ถึงขั้นนี้แล้ว จะไม่มีความทุกข์เลย แล้วข้อเท็จจริง
   อันที่สาม ต่อไปอีก ก็คือว่า

   เขาจะเป็นคนที่ ทำประโยชน์ผู้อื่น ได้มากที่สุด เพราะไม่มีความเห็นแก่ตัว.
   
   พุทธทาส อินทปญฺโญ

   http://agaligohome.com/index.php?topic=4803.msg13148;topicseen#msg13148

3
 

   มีปัญญาเลือกเฟ้นธรรม
   พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญโญ
   วัดป่าบ้านค้อ จ. อุดรธานี

   
   เมื่อเชื่อถือบุคคลและเชื่อถือครูอาจารย์ได้แล้ว
   ธรรมะที่เราได้ยินจากท่าน อ่านหนังสือของท่าน
   แล้วก็นำมาเลือกเฟ้นอีก
   
   มีธรรมะหมวดไหนบ้าง
   พอที่เราจะนำมาปฏิบัติได้ให้ถูกกับนิสัยของเรา
   และความสามารถของเรา
   
   ธรรมะหมวดไหนควรเอามาเริ่มต้นก่อน
   ธรรมะหมวดไหน ควรนำมาปฏิบัติ ในภายหลัง
   ต้องมีสติปัญญาเลือกเฟ้นธรรมะให้เข้าใจ
   แล้วนำมาปฏิบัติ ให้ถูกกับความหมาย
   
   ธรรมะหมวดไหนปฏิบัติเป็นไปอยู่ในขั้นโลกีย์
   ธรรมะหมวดไหนปฏิบัติเป็นไปอยู่ในชั้นโลกุตระ

   
   การจะนำธรรมะหมวดนั้น ๆ มาปฏิบัติได้
   ก็เนื่องมาจากครูอาจารย์เป็นผู้ให้อุบาย
   จะให้อุบายธรรมะผิดถูกอย่างไร เรารับได้ทั้งนั้น
   
   ท่านจะให้อะไรแก่เราถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิริมงคลทั้งหมด
   ท่านจะสอนธรรมอะไร เราก็มีความยินดีพอใจ
   พร้อมที่จะนำไปปฏิบัติด้วยความเคารพเชื่อถือ
   ท่านสอนอย่างไร เราก็จะปฏิบัติไปอย่างนั้น
   
   ถ้าท่านสอนผิด เราก็ปฏิบัติผิดด้วย 
   ฉะนั้น การปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสิ่งสำคัญ

   เพราะในยุคนี้สมัยนี้มีความแตกต่างกันกับสมัยครั้งพุทธกาล
   
   ในสมัยครั้งนั้นมีพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าเป็นผู้อบรมสั่งสอน
   ผู้ปฏิบัติตาม จึงได้บรรลุ มรรคผลนิพพานได้เร็ว
   
   ในยุคนี้ครูอาจารย์ที่ตีความหมายในธรรม
   นำมาสอนการภาวนาปฏิบัติ มีหลายวิธี
   ใครตีความหมายในธรรมเห็นว่าเป็นอย่างไร
   ก็นำมาสอนอย่างนั้น

   
   เมื่อท่านเหล่านั้นมรณภาพไป
   ก็มีลูกศิษย์สอนในวิธีนั้น สืบทอดต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน
   และเขียนให้เป็นตำราไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
   
   เมื่อผู้ปฏิบัติยุคนี้ได้อ่านก็คิดว่า
   เป็นตำราสมัยเก่า ไม่มีใครที่จะกล้าแก้ไข
   เพราะถือว่าเป็นคำสอนของโบราณนั่นเอง
   จึงเข้ากันได้กับ “เรื่องกาลามสูตร” ที่เราทั้งหลายจะได้อ่านต่อไปนี้
   
   
   (ที่มา : แนวทางการปฏิบัติภาวนา หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโย,
   พิมพ์ครั้งที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดย อมรินทร์ธรรมะ, หน้า ๑๖๗-๑๖๘)
   
   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=34888
   http://agaligohome.com/index.php?topic=4801.msg13145;topicseen#msg13145

4


ผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ต้องรู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นธรรม

: การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


ผู้มุ่งมาบริหารจิต มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นจากกิเลส
ต้องพิจารณาใจตนในขณะอ่านหนังสือหรือฟัง เรียกว่าเป็นการเลือกเฟ้นธรรม
ธรรมใดกระทบใจว่า ตรงกับที่ตนเป็นอยู่ พึงปฏิบัติน้อมนำธรรมนั้นเข้าสู่ใจตน
เพื่อแก้ไขให้เรียบบร้อย ที่ท่านกล่าวว่า

“เห็นบัณฑิตใด ผู้มีปกติชี้ความผิดให้ ดุจผู้บอกขุมทรัพย์ให้
ซึ่งมีปกติกล่าวกำราบ ผู้มีปัญญา พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น
เมื่อคบท่านเช่นนั้น ย่อมประเสริฐ ไม่เลวเลย”


“บัณฑิต” นั้นคือ “คนดีผู้มีธรรม หรือ ผู้รู้ธรรมปฏิบัติธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั่นเอง”

การกล่าวธรรมของบัณฑิต คือ การกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้
และบัณฑิตนั้นมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ด้วยว่า...

“บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่ แม้สตรีมีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ก็เป็นบัณฑิตให้เหมือนกัน”

สามารถหนีไกลจากกิเลสได้มากเพียงไร
ก็สามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้น


คนดีมีปัญญา คือ คนมีกิเลสบางเบา โลภน้อย โกรธน้อย หลงน้อย
กิเลสนั้นมีมากเพียงไร ก็ทำให้เหลือน้อยได้ ทำให้หมดจดอย่างสิ้นเชิงก็ได้

สำคัญที่ผู้มีกิเลสต้องมีปัญญา แม้พอสมควรที่จะทำให้เชื่อว่า กิเลสเป็นโทษอย่างยิ่ง ควรหนีให้ไกล
สามารถหนีไกลกิเลสได้มากเพียงไร ก็สามารถเป็นคนดี เป็นบัณฑิตได้เพียงนั้น
ทั้งยังจะสามารถแลเห็นพระพุทธเจ้าได้ใกล้ชิดเพียงนั้นด้วย

http://www.thammaonline.com/12757

5
หยาดฝนแห่งธรรม / คำแผ่เมตตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 02:13:19 am »


คำแผ่เมตตา

แผ่เมตตา
   
   อิ ทัง ปุญญะผะลัง อานิสงส์อันใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญไปแล้วนี้ ขอผลบุญนี้จงแผ่ไปถึง เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ได้มาอนุโมทนา เมื่ออนุโมทนาแล้ว ขอให้อโหสิกรรมกันตั้งแต่บัดนี้ เวลานี้เป็นต้นไป
   
   ขอแผ่บุญ กุศลนี้ ไปถึงเทพเจ้าทั้งหลาย ที่รักษาตัวข้าพเจ้าอยู่ก็ดี นอกจากนี้ก็ดี ทั่วสากลพิภพ จงมีความสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทพพรหมทั้งหลาย ภูผีปีศาจทั้งหลายที่อยู่ในนี้ก็ดี อยู่บ้านของข้าพเจ้าก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข
   
   และขอแผ่บุญกุศลนี้ ไปถึงสัพพะสัตว์ทั้งหลาย มีบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสยามเทวาธิราชทุกท่าน ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข
   
   ขอผลานิสงส์นี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่ดีกินดี มีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ด้วยเทอญฯ

แผ่เมตตาให้ตนเอง
   
   อะหัง สุขิโต โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
   
   อะหัง นิททุกโข โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
   
   อะหัง อะเวโร โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
   
   อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวง
   
   สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติสัมปชัญญะ อยู่ทุกเมื่อ รักษากาย วาจา ใจ ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

 บทแผ่เมตตา
   
   สัพเพ สัตตา:
   
   สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
   
   อะเวรา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
   
   อัพยาปัชฌา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย
   
   อะนีฆา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
   
   สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ:
   
   จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้น จากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด.

แผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

               เมตตา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์   เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               อะเวรา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกัน
               
               อัพยาปัชฌา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน
               
               อะนีฆา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจกันเถิด
               
               สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
               
               จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด
                   

                กรุณา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
               
               จงพ้นจากทุกข์เถิด           
           

               มุทิตา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
               
               จงอย่าไปปราศจากสมบัติ  อันตนได้แล้วเถิด         
           

               อุเบกขา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               กัมมัสสะกา
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
               
               กัมมะทายาทา
               
               เป็นผู้รับผลของกรรม
               
               กัมมะโยนิ
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
               
               กัมมะพันธุ
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
               
               กัมมะปะฏิสะระณา
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย
               
               ยัง กัมมัง กะริสสันติ
               
               กระทำกรรมอันใดไว้
               
               กัลยาญัง วา ปาปะกัง วา
               
               ดีหรือชั่ว
               
               ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
               
               จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น         

   
   สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ จงอย่าได้มีเวรเบียดเบียนกันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากเจ็บไข้เลย จงเป็นผู้มีสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้น กับขอจงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันเราได้กระทำแล้วทุกเมื่อเถิด.
   
   http://www.baanjomyut.com/library/thammaraksa/mercy.html
   http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3180.0

6

ชีวิตที่ขาดทุน

(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

 
  ต้นหาย กำไรสูญเปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน

   จะประกอบการค้าขาย หรือทำกิจการงานอะไรก็ดี

   ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาวและแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด

   และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข

   สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักฐานได้อย่างมั่นคง

   ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภ ทุกสิ่งทุกอย่าง

   แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร
   
   ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลก   

   ที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด   

   เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ในบั้นปลายของชีวิต   

   ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง   

   แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง     

   ความละ ความปล่อย ความวาง

   ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่

   มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงาน

   ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ

   โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว   

   ความตายก็จะต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน
   
   ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ   

   และย่อยยับสูญหายไป ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้   

   ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด   

   ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปได้แม้แต่นิดเดียว   

   โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดี   

   ในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย   

   ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว   

   แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขา
   

   http://board.palungjit.com/f63/ 133221.html
   http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2294.0

7


   วันนี้เป็นวันพระตาม ปฏิทินทางจันทรคติที่เวียนมาอีกครั้งทุกๆ ๖ วัน ๗ วัน หรือ ๘ วัน เป็นธรรมเนียมของชาวพุทธ เมื่อถึงวันพระก็จะเข้าวัดกันเพื่อประกอบกิจทางศาสนา มีการบูชาพระรัตนตรัย ให้ทาน บริจาคข้าวของต่างๆ สมาทานศีลด้วยความมีหิริโอตตัปปะ ความอายและเกรงกลัวบาป ฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อเสริมสติปัญญา ความรู้ ความฉลาด เป็นการสะสมอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน ด้วยการสละทรัพย์ภายนอก มีเงินทองข้าวของทรัพย์สมบัติต่างๆ บริจาคถวายทานให้กับพระสงฆ์องค์เจ้า เป็นการเอาทรัพย์ภายนอกแลกทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายในก็คือคุณธรรมความดีทั้งหลาย
   
   การไปวัดจึงเหมือนกับการไปธนาคารเพื่อไปทำธุรกรรมการเงิน


   ถ้าจะเดินทางไปต่างประเทศก็ต้องแลกเงินเป็นสกุลต่างๆ ไปประเทศอังกฤษก็แลกเงินสกุลปอนด์ของอังกฤษ เพราะเงินไทยใช้ได้แต่ในประเทศไทยเท่านั้น เวลาไปต่างประเทศก็ต้องใช้เงินสกุลของประเทศนั้นๆ ฉันใด ภพชาตินี้ก็เป็นเหมือนประเทศหนึ่ง เมื่อตายไปก็ต้องไปอีกภพชาติหนึ่ง อีกประเทศหนึ่ง สิ่งที่จะเอาติดตัวไปได้ก็คือทรัพย์ภายในที่เรียกว่าอริยทรัพย์ เป็นเหมือนเงินสกุลของประเทศที่เราจะไป ส่วนทรัพย์ภายนอก เช่นทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้แม้แต่บาทเดียว สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้
   
   คนฉลาดจึงเอาทรัพย์ภายนอกมาแลกเป็นทรัพย์ภายในไว้


   เอาทรัพย์ภายนอกที่มีมาฝากไว้ในธนาคารบุญ แล้วแลกเป็นเงินสกุลต่างๆ เวลาเดินทางไปภพหน้าชาติหน้า ก็จะมีทรัพย์ติดตัวไป เป็นอริยทรัพย์หรือทรัพย์ภายใน เป็นทรัพย์ที่ไม่มีใครแย่งหรือขโมยไปได้ ไม่เหมือนทรัพย์ภายนอก โดนขโมยไป ถูกโกงไป หรือถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองยึดไปก็ได้ แต่ทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่ไม่มีใครแย่งชิงไปได้ เป็นทรัพย์ของเราโดยแท้ เป็นทรัพย์ที่ติดตัวไปกับเรา เมื่อเราตายไปแล้วเราต้องเดินทางต่อไป ถ้ามีทรัพย์ภายในเราก็จะไปสู่สุคติ ไปสู่ที่ที่มีแต่ความสุขความเจริญ เป็นเทพ เป็นพรหม เป็นพระอริยบุคคล เป็นมนุษย์ ถ้าไม่มีอริยทรัพย์ ตายไปก็จะต้องไปสู่อบาย สู่ทุคติเท่านั้น เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก เพราะขาดอริยทรัพย์ที่จะฉุดรั้งไว้ไม่ให้ไปสู่ที่ต่ำ นักปราชญ์คนฉลาด ผู้รู้จักเหตุรู้จักผล เมื่อได้ยินได้ฟังพระธรรมคำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเกิดศรัทธา ย่อมน้อมเอาสิ่งต่างๆที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนมาประพฤติปฏิบัติกับตน ดังที่ท่านทั้งหลายได้มากระทำกันในวันนี้ เป็นการมาสะสมทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์
   
   อริยทรัพย์ มี ๗ ประการด้วยกัน คือ

   ๑. ศรัทธา ความเชื่อ
   ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา
   ๓. หิริ ความอายบาป
   ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป
   ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก
   ๖. จาคะ
   ๗. ปัญญา
   

8


อริยทรัพย์ 7

ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียก อริยทรัพย์ มี 7 อย่าง คือ
   
   1. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
   
   2. ศีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
   
   3. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
   
   4. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต
   
   5. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือ ความทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก
   
   6. จาคะ สละให้ปันสิ่งของ ๆ ตน แก่คนที่ควรให้ปัน
   
   7. ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แลไม่เป็นประโยชน์

   
   
   อริยทรัพย์ 7 ประการนี้ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น ควรแสวงหาไว้ให้มีในสันดานฯ
   
   1. ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ มี 2 ประการ คือ เชื่อโดยได้ตริตรองเหตุผลโดยถ่องแท้แล้ว และเชื่อโดยไม่ได้ตริตรองเหตุผล ศรัทธาเป็นอริยทรัพย์หมายเอาศรัทธาที่ได้ตริตรองเหตุผลแล้ว
   
   2. ศีล มี 2 อย่างคือ อาคาริยศีล ศีล 5 ศีล 8 และกรรมบถ 10 ศีลของคฤหัสถ์ และอนาคาริยศีล ศีล 227 ศีลของบรรพชิต
   
   3. หิริ พึงละอายต่อบาป
   
   4. โอตตัปปะ เกรงกลัวภัยจะเกิดจากการทำบาป
   
   5. พาหุสัจจะ เพียรศึกษาหาความรู้
   
   6. จาคะ คือการยอมสละปันของของตนแก่ผู้ควรให้
   
   7. ปัญญา มี 2 อย่าง คือ โลกียปัญญา ปัญญาของปุถุชนและโลกุตรปัญญา ปัญญาของพระอริยเจ้า

   
   http://www.skn.ac.th/skl/project/budis79/main36.htm
   http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2214.0

9


อริยทรัพย์
   พระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่ขาว อนาลโย
   วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
       

   การเจ็บปวดเมื่อนั่งสมาธิ พระพุทธเจ้าว่าให้สู้กับมัน มันจึงจะเห็นทุกขเวทนา นั่งสมาธิมันเจ็บให้ดูมัน มันเกิดมาจากไหน เวทนามันก็เวทนาต่างหากไม่มีตัว เราก็พิจารณาให้รู้เท่านั้นแหละ ของไม่มีตนมีตัว มันเกิดขึ้นก็เกิดจากร่างกายเนื้ออย่างหนึ่ง แล้วก็มันรู้สึกถึงจิต รู้ถึงกัน จิตก็ไปยึด ยึดมันก็เจ็บ หนักเข้าก็ไม่สู้มัน ต้องสู้มัน มันจะเห็น
   

   พระพุทธเจ้าว่ากำหนดให้รู้ทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากเหตุ คืออยากเป็น อยากมี ความอยากเป็นอยากมี ความอยากมันเกิดมาแต่เหตุ เหตุมันเกิดมาจากไหน เหตุมาจากความไม่รู้ ไม่รู้เท่ากาย
   

   จนกระทั่งความคิดทั้งหลายเข้ามามันก็ไม่รู้ทั้งนั้น คือมันโง่เรียกว่าอวิชชา เป็นเหตุให้สัตว์ผู้ไม่รู้เท่าเกิดความยินดียินร้าย เกิดความพอใจ ไม่พอใจ เกิดความอยากเป็นอยากมี เป็นเหตุให้วนเวียนเรียกว่าสังสารจักร์วัฏฏกา เวียนอยู่อย่างนั้น เป็นเหตุให้เราเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
   

   กรรมดีเหมือนพวกคุณหมอก็ดี ไม่เจอะทุกข์ปานใด เกิดมาไม่เสียชาติเกิดเป็นมนุษย์ มิหนำได้เกิดมาพบโอวาทคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดมาในปฏิรูปประเทศ ประเทศอันสมควร คือประเทศมีพระพุทธศาสนา ประเทศมีนักปราชญ์อาจารย์เพื่อนแนะนำสั่งสอน ประเทศอย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านว่าเป็นมงคล
   

   พวกท่านทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ไม่ประมาท อตฺตสมฺนา ปณิธิ ผู้ตั้งตนไว้ในที่ชอบ อาชีพเลี้ยงชีพภายนอกดีโดยชอบธรรม โอวาทคำสั่งสอนก็ไม่ประมาททุกสิ่งทุกอย่าง มีการจำแนกแจกทาน มีการสดับรับฟัง แล้วก็ปฏิบัติตามดำเนินตามโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
   

   ธรรมทั้งหลายมีกายกับใจเท่านั้นแหละ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ใจที่มันรู้เท่าแล้วก็มีความหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง ทางความชั่วมันก็รู้เท่า แล้วมันก็เอาอยู่นั่นแหละ ไปยึดภพน้อยภพใหญ่อยู่นั่นแหละ พวกเรายังนับว่าไม่เสียที แม้ยังไม่มีความเบื่อหน่ายก็ยังเป็นผู้ฉลาด เป็นผู้เอาทรัพย์สมบัติ คืออริยทรัพย์ให้ได้ให้เกิดให้มีอยู่ในหมู่ของตน อยู่ในสันดานของตนสะสมไว้
   

   อัตภาพร่างกายเป็นของไม่มีสาระแก่นสาร ทรัพย์ภายนอกก็ไม่มีสาระแก่นสาร ชีวิตของพวกเรา ความเป็นอยู่ก็ไม่มีสารแก่นสาร เรามาพิจารณารู้อย่างนี้แล้ว เราเป็นผู้ไม่ประมาท รีบเร่งทำคุณงามความดีประกอบขึ้น รีบเร่งสะสมอริยทรัพย์ ศีลของเราก็บริบูรณ์ไม่มีด่างพร้อย ตามภาวะของตน ศีล ๕ ศีล ๘ เดี๋ยวนี้พวกท่านกำลังอบรมสมาธิ กำลังจะเอาทรัพย์อันนี้ เรียกว่าอริยทรัพย์ ศีลก็เป็นอริยทรัพย์อันหนึ่ง สมาธิก็เป็นอริยทรัพย์
   

   หมั่นอบรมจิตใจ ปัญญาก็เป็นอริยทรัพย์ หมั่นอบรมจิตใจ เวลาเราเข้าสมาธิ จงให้สติประจำใจ กำหนดสติให้แม่นยำ รักษาจิตใจของเราให้อยู่กับที่ และให้จิตใจปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง กิจการงานของเราเคยทำมาอย่างไรก็ดี เวลาเข้าที่ให้ปล่อยวางให้หมด ความรัก ความชัง อดีต อนาคต วางปล่อยวาง ไม่ให้เอาใจใส่เรื่องนั้นๆ ให้มีสติประจำ ไม่ให้มันไปตามอารมณ์เหล่านั้น


   ครั้นควบคุมสติได้แล้ว จิตมันอยู่คงที่แล้ว อยู่กับกายของตนแล้ว ให้มันเห็นกายของตนนั่นแหละ สิ่งอื่นอย่าให้มันมาเป็นอารมณ์ของใจ ครั้นจะเพ่งเอาอารมณ์ ก็ต้องเพ่งเอาอัตภาพสกณธ์กายของตนนี้ ให้มันเห็น มันกรรมฐาน ๕ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พระพุทธเจ้าแจกไว้หมดแล้ว
   

   ไม่ใช่คน ไม่ใช่คน แต่ไปยึดถือมัน ผมไม่ใช่คน ขนไม่ใช่คน เล็บไม่ใช่คน เราจะมาถือว่า ตัวว่าตนอย่างไรล่ะ ฟันก็ไม่ใช่คน ฟันมันต้องเจ็บต้องคลอน ต้องโยก ต้องหลุด อันนี้มันไม่ใช่ของใคร
   

   สิ่งเหล่านี้เป็นของกลางสำหรับให้เราใช้ เราต้องหมายเอาใจไว้เสียก่อน แท้ที่จริงก็ไม่ใช่ของเราอีกนั่นแหละ ถ้าใจเป็นของเราแล้ว เราบอกว่าเราบังคับคงจะได้ อันนี้ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร แล้วแต่มันจะไป ถึงคราวมันจะเป็นมันถือกำเนิดขึ้น มันยังไงมันก็ไม่พัง จะตีมันก็ไม่พังอีกแหละ
   

   เพราะเหตุนั้นมันจึงไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เราต้องรู้เท่ามัน เวลาเราภาวนา อย่าให้มันอะไรเข้ามาเป็นอารมณ์นอกจากสังขารตัวนี้ มันก็ให้เห็นเป็นอนิจจัง ให้เห็นไตรลักษณ์ ผม ขน เล็บ หนัง ฟัน กระดูก เห็นเป็นไตรลักษณ์ แล้วก็ให้เห็นเป็นปฏิกูลสัญญาของโสโครกน่าเกลียด ให้เห็นมันเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา
   

   แล้วก็ไม่ใช่จริงๆ ผม ขน เล็บ หนัง ฟัน กระดูก ไต หัวใจ ตับ ม้าม พังผืด อาหารใหม่ อาหารเก่า มันไม่ใช่เราทั้งนั้น ถ้าแจกออกไปไม่ต้องไปยึดถือนะ ไม่ใช่นะ พระพุทธเจ้าว่า
   

   เรายังไม่ยึดถือว่าผมของเรา ขนของเรา เล็บของเรา ฟันของเรา อันนั้นแหละห้าม บางทีจิตของเราใจของเราถูกกับอันหนึ่งอันใด ก็เอาอันเดียวเท่านั้นแหละพระพุทธเจ้าแจกไว้ แต่ว่าจริตของคนนิสัยของคน มันถูกอันไหนก็เอาอันนั้นแหละ จิตมันหยุดจิตมันสงบกับพุทโธ จิตใจกับพุทโธ มันก็อยู่กับพุทโธ
   

   อาตมามันถูกกับพุทโธ ตั้งใจเอาไว้ ปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง กำหนดเอาสติรักษาใจไว้ เอาพุทโธไม่เผลอสติ ให้เห็นพุทโธตั้งอยู่กลางใจนี้ ไม่สบายเลยหาย อาตมานิสัยถูกกับพุทโธ บริกรรมอัฐิกระดูก บางทีมันก็ถูก ถูกมันก็ปรากฏเห็นกระดูกหมดทั้งสกนธ์กาย
   

   พระพุทธเจ้าต้องการให้จิตมันเห็นจิต มันไม่เห็นให้บริกรรมให้เห็น ต้องการให้มันเบื่อหน่าย ให้มันเห็นว่าไม่ใช่ตน สิ่งเหล่านี้ ธาตุทั้ง ๑๘ ก็ดี ล้วนตกอยู่ในไตรลักษณ์ทั้งนั้น อายตนะก็ดีตกอยู่ในไตรลักษณ์หมดทั้งนั้น เรามาสำคัญว่าหู ว่าจมูก ว่าตา ว่าลิ้น ว่ากาย ว่าใจเป็นของเรา เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่น นั่งก็ให้มีความเจ็บ เจ็บบั้นเอว ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขาอะไรนั้น สมาธิก็ต้องออก ท่านจึงให้สู้มัน ไม่ต้องหลบมัน เราจะสู้ข้าศึกก็ต้องอย่างนั้นแหละ ต้องมีขันติความอดทน ทนสู้กับความเจ็บปวดทุกขเวทนา ดูมัน จิตมันถูกอันใดอันหนึ่ง
   

   เมื่อเราสกัดกั้นไม่ให้มันแส่ส่ายไปตามอารมณ์ภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น เรียกว่ากามคุณ ๕ ไม่ให้ไปจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้นแล้ว มันจะอยู่ที่ มันก็ว่างอารมณ์ ไม่มีอารมณ์เข้ามาคลุกคลีดวงจิตแล้ว จิตตั้งมั่นเรียกว่าจิตว่าง ไม่มีอะไรมาพลุกพล่าน เหมือนกันกับน้ำในขัน หรือน้ำอยู่ที่ไหนก็ตาม เมื่อมันไม่กระเพื่อมแล้วมันนิ่ง ก็เห็นสิ่งทั้งปวงอยู่ในก้นขัน ต้องเห็น เห็นอันนี้ เห็นแล้วเราต้องสละปล่อยวาง มันจะเห็นโลภะ โทสะ โมหะ ราคะ
   

   เรามี เราจะได้พยายามละถอนสิ่งเหล่านี้ออก ปล่อยจิตว่างแล้วจิตสบาย เพราะจิตเป็นหนึ่ง ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มีอารมณ์มาฉาบทาดวงจิตแล้ว ดวงจิตใส ดวงจิตขาว จิตก็เย็น มีแต่ความสบาย มีความสุขรู้เท่าสังขาร รู้เท่าสิ่งทั้งปวง รู้เท่าความเป็นจริงแล้ว เกิดอันใดอันหนึ่งก็ดี หรือไม่ก็ครบรอบก็ดี เมื่อพิจารณาอันใดอันหนึ่งแล้ว จิตของเราไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งทั้งปวง ถึงมรณะจะมาถึงก็ตาม ทุกขเวทนาเจ็บปวดมาถึงก็ตาม ไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านั้น
   

   เมื่อรู้เท่าความเป็นจริงแล้ว ความติฉินนินทาก็ตาม ไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งเหล่านั้น เสื่อมลาภก็ตาม เสื่อมยศก็ตาม เสื่อมสรรเสริญรักชอบก็ตาม ไม่เอาใจใส่เอามาเป็นอารมณ์ มันก็มีความสุขเท่านั้น
   

   จะหาความสุขใส่ตนก็มีแต่ฝึกฝนทรมานตนนั่นแหละ
   

   พระพุทธเจ้าท่านว่า สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ ให้ทรมานจิตฟอกฝนจิตของเรา ฝนจิตให้มันว่าง ให้มันรู้เท่าความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตนั่นแหละจะทำประโยชน์มาให้ในชาตินี้ คือนำความสุข คือนิพพานมาให้ หรือจิตเรายังไม่พ้น ก็จะนำสวรรค์มาให้ นำเอาความสุขมาให้ตราบเท่าตลอดเวลา ตราบเท่าชีวิต แล้วมีสติคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป

   
 
  คัดลอกจากหนังสือ "ประหนึ่งเพชรส่องสกาว หลวงปู่ขาว อนาลโย"

http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2156.0
[/color]

10

   อุบาสิกาบงกช สิทธิผล ขณะรับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
   สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549
   จากเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศฯ

   
   สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล)
   สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ
   เลขที่ 149 หมู่ 1 บ้านช่องแคบ ก่อนถึงน้ำตกไทรโยคน้อย
   ต.วังกระแจะ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150
   โทรศัพท์ 08-1862-1757

   ประธานและผู้ก่อตั้งสำนักฯ คือ อุบาสิกาบงกช สิทธิผล

   ทางสำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล (เกาะมหามงคล) มีการจัดโครงการทางพระพุทธศาสนาหลากหลายโครงการ สำหรับทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน โรงเรียน สถาบันการศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เช่น โครงการคุณธรรมนำชีวิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, กิจกรรมพัฒนาจิตบวชใจ, อบรมยอดบุญเนกขัมมะจิตตภาวนา, บำเพ็ญสมาธิ เจริญมหาสติ ปฏิบัติธรรม, จัดปลูกลูกชายให้ได้เป็นยอดกตัญญู, กิจกรรมรักชีวิต รักธรรมชาติ ป่าไม้สิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้ง กิจกรรมเกี่ยวเนื่องด้วยวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ เป็นต้น


[พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น]

   
   สถานที่ของสำนักฯ มีความสัปปายะ สงบเงียบ ร่มรื่น งดงาม อากาศเย็น รอบล้อมด้วยต้นไม้ ป่า และภูเขา เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง มีอาหารมังสวิรัติให้รับประทานตอนมื้อเที่ยงทุกวัน สถานที่พักแยกชาย-หญิงชัดเจน เจ้าหน้าที่ทุกคนมีมิตรภาพมาก

   สำหรับการเข้าไปกราบไหว้ สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระมหาเจดีย์ 7 ชั้น ที่มีความสูง 80 เมตรนั้น จะต้องเดินขึ้นยอดภูเขา ด้วยการเดินเท้า 1,000 กว่าขั้นบันได ใช้เวลาเดินขึ้น-ลงประมาณ 3 ชั่วโมง และทุกคนที่จะเข้าไปเยี่ยมชมข้างในสำนักฯ จะต้องใส่ชุดขาว หากใครไม่ได้เตรียมตัวมา ด้านหน้าจะมีชุดขาวให้เปลี่ยน


[ศาลาปฏิบัติธรรมเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]


[ศาลาที่พักเชิงเขา แดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี]

• การเดินทาง •

   สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล ตั้งอยู่บนพื้นที่ติดริมแม่น้ำแคว อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เราสามารถเดินทางโดยขึ้นรถประจำทางหรือรถไฟ ดังนี้

   - รถประจำทาง สาย 8203 จากสถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ลงรถที่บ้านช่องแคบ จากนั้นโดยสารรถมอเตอร์ไซค์ต่อไปยังแดนมหามงคล รวมระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร

   - รถไฟจากสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) เที่ยว 07.45 น. หรือ 13.50 น. ลงรถที่สถานีบ้านช่องแคบ (สถานีเกาะมหามงคล) ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับแดนมหามงคล คือลงก่อนถึงสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย ค่ารถไฟประมาณ 37 บาท


• อุบาสิกาบงกช สิทธิผล •

   อุบาสิกาบงกช สิทธิผล สละทางโลกตั้งแต่อายุ 29 ปี ปัจจุบันอายุ 55 ปี (เมื่อปี พ.ศ. 2552)
   แต่จะเชื่อไหมว่าหน้าตาท่านเหมือนคนอายุ 30 ปลายๆ เท่านั้น

   • ผลงานและเกียรติคุณดีเด่น •

   1. ท่านได้สอนวิปัสสนากรรมฐานไม่ให้ยึดวัตถุเป็นตัวตั้ง มีลูกศิษย์ทั้งคนไทยและต่างชาติจำนวนมาก โดยใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอุบาสิกาบงกช ได้สร้างผลงานจนเป็นที่รู้จักกันในนานาประเทศ โดยเคยรับเชิญไปแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพโลก ที่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2548


2. ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปี 2549 เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถกอปรด้วยคุณงามความดี ได้บำเพ็ญคุณูปการแก่การศึกษา พระพุทธศาสนา สังคม และประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ ดังนี้

   ด้านพุทธศาสนา ได้ตั้งสถาบันเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ชื่อสถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติเพื่อสันติภาพ ณ แดนมหามงคล บ้านช่องแคบ ตำบลวังกระแจะ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และแดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งโครงการสมทบทุนสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ วัด สำนักปฏิบัติธรรม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้ง มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก และพระพุทธศาสนานานาชาติ

   ด้านบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สนับสนุนอุปถัมภ์สถานีอนามัย โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี และอีกหลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี สมทบทุนกับโรงพยาบาลต่างๆ เช่น ร.พ.ศิริราช ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ร.พ.ศรีธัญญา ร.พ.อำเภอไทรโยค และ ร.พ.พหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี


   งานด้านสังคม มอบสถานที่สถาบันพัฒนาจิตบวชใจนานาชาติ สำหรับฝึกอบรม ประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และผู้สนใจทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา

   เกียรติคุณ พิเศษ รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาแห่งโลก จากองค์การสหประชาชาติ รับไตรปิฏกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเทศอินเดีย รับรางวัล “ดร. อัมเบดการ์นานาชาติเพื่อสันติภาพ” รับเกียรติคุณสูงสุดในพระพุทธศาสนาฝ่ายสตรี “อัครมหาศิริสุธรรมาสินกิ” สหภาพเมียนมาร์ รับเกียรติคุณมหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในพุทธจักรจากประเทศศรี ลังกา และรับมหาอิสริยยศเหรียญทองเกียรตินิยมสูงสุดจากประเทศกัมพูชา

   3. เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา ซึ่งปี 2549 เป็นปีที่ครบ 2550 ปีแห่งอายุพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้มีมติเป็นเอกฉันท์มอบรางวัล “วิศวะกีรติศรีศาสนภิมณีมโหบาสิกา” The Most Eminent Mahopashika of the Buddhist World หรือรางวัล “มหาอุบาสิกาผู้ทรงเกียรติคุณงามเด่นสูงสุดในพุทธจักร” แก่มหาอุบาสิกา ดร.บงกช สิทธิพล จากประเทศไทย โดยประธานาธิบดี มหินทะ ราชปักษา แห่งศรีลังกา เป็นผู้มอบ


   โดยคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกาเห็นว่า มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะอุตสาหะในการอุทิศเสียสละเพื่อพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอย่าง แรงกล้ามาโดยตลอด พร้อมทั้งได้ก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม “แดนมหามงคล” ที่ จ.กาญจนบุรี ประเทศไทย และ “แดนมหามงคลชัยสันติภาพโลก” ณ เมืองสาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เพื่อเผยแผ่พุทธธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ทั้งนี้มหาอุบาสิกา ดร.บงกช ยังได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยตลอด ซึ่งคุณงามความดีของมหาอุบาสิกา ดร.บงกช เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนในหลายประเทศ จึงทำให้รัฐบาลและคณะสงฆ์ประเทศศรีลังกา ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

   แผนที่สำนักปฏิบัติธรรมแดนมหามงคล จ.กาญจนบุรี
   http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3073

   แดนมหามงคล อีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ผิดหวัง
   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19925
   
   ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dhammajak.net
   http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?post_id=4881
   
  ขอขมาใหญ่ในชีวิต ( คุณแม่บงกช)

หน้า: [1] 2 3