เว็บใต้ร่มธรรม ตั้งขึ้นเพื่อการรวมตัวของสมาชิกและทีมงานเว็บอกาลิโก ให้มาปรึกษาพบปะพูดคุยกันก่อนเดินทางสู่เส้นทางเดิมของอกาลิโกครับ พร้อมที่จะสานต่อความดีบนโลกออนไลน์ใบเล็กๆนี้ ทุกเรื่องราวมีความเป็นไป หากพี่ๆทุกท่านได้รับข่าวสารฉบับนี้ ถ้ามีเวลา..ก็ขอให้แวะมา พักคุยธรรมะปรึกษาหารือกันเช่นกัลยาณมิตรเหมือนที่เคยมา.."ด้วยความคิดถึงอย่างยิ่ง..ถึงที่สุด ธรรมะอวยพรครับ"
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 02:16:52 am »ไปตรวจสายตาบ้างดีกว่า..กลัว
ข้อความโดย: Pure+« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 11:09:20 pm »พี่เพียวก็กลัวเหมือนกัน.. เคยมีอาการ.. ไปให้หมอตรวจ หมอบอกว่าจอประสาทตาบวมและรั่ว(สาเหตุหลักมาจากความเครียดและใช้สายตามากผิดปรกติ) ต้องยิงเลเซอร์ แต่อยู่มาประมาณสองเดือน อาการก็เริ่มดีขึ้น ไปให้หมอตรวจอีกที หมอบอกว่าเป็นปรกตีแล้ว ก็เลยงงๆอยู่เหมือนกัน ![]() ![]() ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 10:03:03 pm »![]() ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 08:08:27 pm »![]() ![]() ข้อความโดย: Plusz« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 07:13:47 pm »เราต้องรักษาสุขภาพแล้วล่ะ ,,, :")
ข้อความโดย: ฐิตา« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2010, 05:08:44 pm »![]() โรคความเสื่อมในดวงตา วันนี้เรามาเตรียมความพร้อมกันก่อนที่อายุจะถึง 60 ปีกันดีกว่า โดยโรคยอดฮิตของคนมีอายุมากๆ คือ โรคเกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตา ดังนั้นเรามารู้จักโรคนี้กันเถอะ โรคเกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตา มีสาเหตุมาจากอายุ (ARMD) เป็นโรคที่นำไปสู่ภาวะตาบอดของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยโรคนี้เกิดจากความเสื่อม ของบริเวณที่สำคัญ ของเรติน่า ที่เรียกว่า macula ซึ่งบริเวณนี้ เป็นส่วนที่มีการรับแสงที่เข้มข้นที่สุดของดวงตา ซึ่งมีหน้าที่ให้การมองเห็นในส่วนกลางของภาพ เมื่อบริเวณนี้เริ่มเสื่อมถอย ก็จะส่งผลให้เราสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถมองเห็นหน้าผู้อื่นตรงๆได้ แต่สามารถมองเห็นของรอบๆของคนที่เขาจ้องมองอยู่ได้ ความเสื่อมในดวงตามี 2 รูปแบบคือแบบเปียกและแบบแห้ง ซึ่ง 90% ของผู้ป่วยมักจะเป็นแบบแห้ง ซึ่งอาจจะพัฒนาขึ้นเป็นแบบเปียกได้ในที่สุด โดยโรคความเสื่อมในดวงตาแบบเปียก เป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมลงของการมองเห็นส่วนกลาง โดยจะเพิ่มเส้นเลือดใหม่ และเพิ่มการรั่วของเส้นเลือดจนส่งผลให้ตาบอดได้ ความเสื่อมแบบเปียกนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อยับยั้งการผลิตเส้นเลือดใหม่ที่ก่อให้เกิดการบวม และการรั่วไหล รวมถึงการคั่งของเลือดในเรติน่า ![]() สำหรับกลไกที่ทำให้เรติน่าเสียหายได้นั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า แสงที่ผ่านเข้าดวงตาและรวมตัวอยู่ที่ macula ของเรติน่า เป็นสาเหตุให้เกิดการผลิตอนุมูลอิสระบริเวณรอบนอกของตัวรับแสง หากสารต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ สารอนุมูลอิสระเหล่านี้ก็จะเข้าทำลายไขมันไม่อิ่มตัวความเข้มข้นสูง (PUFA) บริเวณรอบนอกของเรติน่าและตัวรับแสง ซึ่งจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับคอเลสเตอรอล LDL PUFA และผลจากการทำปฏิกิริยาก็จะเกิดการก่อตัวของ lipofuscin ซึ่งเป็นกลุ่มของโปรตีน หรือไลปิดที่สะสมอยู่ภายในเยื่อบุตาแสดงเม็ดสีภายในเรติน่า การศึกษาหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค ARMD มีระดับของสังกะสี ซีลีเนียม วิตามินซี คาโรธีนอยส์ และ วิตามินอี ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคนี้ เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว เราควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมกับดวงตาของเรากันดีกว่า ![]() |