แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ฐิตา

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 203
1


“สันโดษ”สุขง่าย
“ไม่สันโดษ”ไม่สุขสักที
“สันโดษ” และ “ไม่สันโดษ” อย่างไร ต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูก

“ขอยกเรื่องสันโดษเป็นตัวอย่าง เพราะสันโดษเป็นตัวหนุนการเจริญสมาธิอย่างสำคัญ ที่จริงไม่ใช่หนุนเฉพาะสมาธิเท่านั้น แต่หนุนการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจําวัน

สันโดษนี้เราจะปฏิบัติไปทำไม? คนที่สันโดษจะมีลักษณะที่สุขง่ายด้วยวัตถุน้อย มีวัตถุแค่ไหนก็สุขได้หมด

ตรงข้ามกับคนที่ไม่สันโดษ ซึ่งไม่รู้จักมีความสุข เพราะสุขไม่ได้ด้วยวัตถุที่มี หมายความว่า ความสุขอยู่ที่สิ่งที่ยังไม่ได้ คนไม่สันโดษ คือจะสุขด้วยสิ่งที่ยังไม่มี เพราะฉะนั้นก็ยังไม่สุขสักที เพราะสุขด้วยสิ่งที่ยังไม่ถึง ยังไม่ได้ ส่วนคนที่สันโดษ ก็คือสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย แล้วสุขด้วยสิ่งที่มี อะไรมีแล้ว ก็สุขได้ทั้งนั้น

แต่ความสุขก็ไม่ใช่ผลที่ต้องการของสันโดษ ถ้าใครไปเข้าใจว่า สันโดษเพื่อความสุข หรือสันโดษแล้วจะได้มีความสุข ก็ผิดอีก กลายเป็นสันโดษนอน คือจะเป็นสันโดษแบบสมาธิ ที่ไม่ส่งผลต่อในกระบวนการของไตรสิกขา ที่ทำให้นั่งนิ่งเสวยความสุข

สันโดษก็เหมือนกัน สันโดษแบบที่ว่าสุขง่ายด้วยวัตถุน้อยแล้วจบที่ความสุข ก็นอนสบาย ทีนี้ก็ไม่ต้องทำอะไร ฉันสุขแล้วพอ ก็หยุด ไม่ส่งผลต่อไปในกระบวนการของไตรสิกขา ใช้ไม่ได้ ไตรสิกขาต้องเดินหน้า

สันโดษจะส่งผลอย่างไรในกระบวนการของไตรสิกขา โยมต้องมีคำตอบว่า มันส่งผลต่อไปอย่างไร

ความสุขเป็นเพียงผลพลอยได้ของสันโดษ มันเป็นผลที่พ่วงมาในตัวเอง พอเราสันโดษ เราก็มีสุข เพราะสันโดษก็คือพอใจและช่วยทำให้จิตสงบ ไม่กระวนกระวาย ไม่เร่าร้อน

ตอนนี้ถ้าใช้เป็น มันก็มากลับเป็นตัวเสริมอีก พอเราสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย ใจเราสบายสงบแล้ว ไม่ทุรนทุราย เราก็พร้อมที่จะเอาใจมาอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ

สันโดษที่ส่งผลในกระบวนการปฏิบัติคืออย่างไร ตอนนี้ก็นอกเรื่องไปนิดหนึ่ง คือ ออกจากเรื่องสมาธิมาพูดเรื่องสันโดษ

มาดูคนไม่สันโดษก่อน คนไม่สันโดษจะมีความสุขด้วยวัตถุที่ยังไม่ได้ เขาก็ต้องตะลอนวิ่งหาสิ่งที่ยังไม่มี เมื่อเขาวิ่งหาวัตถุที่ยังไม่มีเพื่อจะมีความสุข เขาก็ไม่สุขสักที

๑. ความสุขจากวัตถุ เขาก็ยังไม่มี
๒. เขาต้องวิ่งพล่านหาความสุข
ก. ใช้เวลาหมดไปกับการที่จะหาวัตถุมาเสพ
ข. ใช้แรงงานหมดเปลืองไปกับการหาสิ่งเสพ
ค. ครุ่นคิดอยู่แค่ว่าจะหาอะไรมาเสพ พรุ่งนี้จะไปเสพอะไรที่ไหน จะบริโภคอะไรให้มีความสุข

เป็นอันว่า สำหรับคนที่ไม่สันโดษ เขาจะใช้เวลา ใช้แรงงาน และใช้ความคิดหมดเปลืองไปกับการพยายามหาวัตถุมาเสพ แล้วเวลา แรงงาน และความคิด ก็ไม่พอที่จะหาสิ่งเสพมาบำรุงความสุข

เมื่อเวลาไม่พอ ก็เบียดบังเวลาทำการทำงานทำหน้าที่ของตัว เพื่อเอาเวลานั้นไปหาสิ่งเสพบำรุงสุข

การจะได้สิ่งเสพ ก็ต้องใช้เงินทอง เงินทองไม่พอ ก็จะต้องไปเบียดบังทำทุจริตเพื่อเอาเงินไปหาซื้อสิ่งเสพ

ยิ่งกว่านั้น ที่สำคัญคือ เวลาทำงานใจก็ไม่อยู่กับงาน ใจก็คิดแต่จะไปหาสิ่งเสพ เพราะยังไม่ได้ความสุขที่ต้องการ ก็ทำงานด้วยความฝืนใจ ทุกข์ทรมานใจในการทำงาน และไม่มีสมาธิ

ตกลงว่า ความสุขจากวัตถุ ก็ยังไม่ได้ แล้วเวลาทำงาน ก็ทำด้วยความทุกข์ทรมานใจ เวลา แรงงานและความคิดก็หมดเปลืองไปกับการพยายามหาสิ่งเสพ แล้วยังล่อให้ทำทุจริตอีกด้วย หมดเลย คนไม่สันโดษมีแต่เสีย

คนสันโดษเป็นอย่างไร? คนสันโดษสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย มีอะไร แกก็สุขได้ทันที ความสุขจากวัตถุก็ได้แล้ว ที่สำคัญก็คือ แกไม่ต้องเอาเวลา แรงงานและความคิดไปใช้ในการพยายามวิ่งแร่หาความสุขจากการเสพ เวลาแรงงานและความคิดจึงมีอยู่เหลือเฟือ

เมื่อเวลา แรงงาน และความคิดที่ออมไว้ได้ มีอยู่มากมาย ก็เอาเวลาแรงงานและความคิดนั้นมาทุ่มเทให้กับการทำสิ่งที่ดีงาม ที่ทางพระท่านเรียกว่ากุศลธรรม

ถ้าเป็นชาวบ้านญาติโยม ก็เอามาใช้ทำงานทำการ ทำหน้าที่ ทำประโยชน์
ถ้าเป็นพระสงฆ์ก็เอาเวลาแรงงานและความคิดนั้นมาใช้ในการเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติค้นคว้าสั่งสอนเผยแผ่ธรรม
ถ้าเป็นนักปฏิบัติก็อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่ธรรมได้เต็มที่

รวมแล้ว เราก็บำเพ็ญกิจหน้าที่ของเราได้เต็มที่ แล้วยังมีความสุขจากการทำงานหรือการปฏิบัติหน้าที่นั้นอีก เพราะเรารักงาน ชอบงาน มีความพอใจในกุศลธรรม ในการทำสิ่งที่ดีงาม เราทำงานปฏิบัติหน้าที่ไป เราก็มีความสุข

สุขจากวัตถุเสพ เราก็ได้ สุขจากการทำงานทำการ เราก็ได้ แล้วเรายังมีเวลาแรงงานและความคิดเหลือเฟือที่จะมาทำงาน ทำสิ่งที่ดีงามสร้างสรรค์อีก ดีทุกอย่าง

จุดที่ต้องย้ำก็คือ สันโดษจะพลาดตอนที่ไม่มีจุดหมาย กลายเป็นสันโดษด้วนลอย มันด้วนและลอยตอนที่ว่า สันโดษแล้วจะได้ความสุข ก็เลยนอนสบาย ถ้าอย่างนั้นก็เป็นสันโดษขี้เกียจ ใช้ไม่ได้

สันโดษที่ว่าส่งผลในกระบวนการไตรสิกขา โยมจะเห็นว่า พอเราสันโดษถูกต้อง ก็จะส่งผลทำให้เรายิ่งพร้อมที่จะบำเพ็ญกุศลธรรม เพราะเรามีเวลาแรงงานและความคิดเหลือเฟือ เราก็เอาเวลาแรงงานและความคิดนั้นมาทุ่มเทให้กับการทำกิจหน้าที่ ทำความดีงามสร้างสรรค์ บำเพ็ญกุศลธรรม ก้าวหน้าไปในไตรสิกขา

นี่แหละสันโดษที่ถูกต้อง ส่งผลต่อไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าตรัสสันโดษที่ไหน พระองค์จะไม่ตรัสไว้ด้วนๆ พระองค์จะตรัสต่อ เช่นในหลักธรรมชุดหนึ่งเรียกว่า อริยวงศ์ ๔ พระพุทธเจ้าตรัสว่า (ที.ปา.๑๑/๒๓๗/๒๓๖)

๑. ภิกษุสันโดษในจีวร
๒. ภิกษุสันโดษในอาหารบิณฑบาต
๓. ภิกษุสันโดษในที่อยู่อาศัย
๔. ภิกษุยินดีในการละอกุศลธรรมและบำเพ็ญกุศลธรรม

นี่คือ ๓ ข้อต้น มาหนุนข้อสุดท้าย พอสันโดษแล้ว ภิกษุก็มีเวลา แรงงาน และความคิด ที่จะมาบำเพ็ญข้อที่ ๔ เช่น จะเจริญสมาธิและวิปัสสนา หรือจะเล่าเรียนปริยัติ จะเผยแผ่ธรรม ก็อุทิศตัวได้เต็มที่

สันโดษนี้ ถ้าไม่ตรัสไว้กับการบำเพ็ญกุศลธรรมและละอกุศลธรรม พระพุทธเจ้าก็จะตรัสไว้คู่กับความเพียร ในหลักธรรมชุดไหนมีสันโดษ หลักธรรมชุดนั้นจะมีความเพียรด้วย อันนี้เป็นหลักทั่วไป เพราะมันจะมาหนุนกัน คนที่สันโดษ ก็พร้อมที่จะเพียร

ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้ายังตรัสสำทับไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม

โยมต้องจำไว้ว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนแต่สันโดษ ถ้าถามว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราสันโดษใช่ไหม? โยมต้องตอบว่า ต้องแยกแยะก่อน ยังไม่ใช่อย่างนั้น

ถ้าไปตอบว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราสันโดษ ก็ยังไม่ถูก เพราะพระพุทธเจ้าสอนทั้งสันโดษและไม่สันโดษ การตอบให้ถูกในกรณีอย่างนี้ ท่านเรียกว่า วิภัชชวาท คือ ต้องจำแนกแยกแยะออกไป คือ ถ้าเขาถามว่า “พระพุทธเจ้าสอนให้สันโดษใช่ไหม?” เราก็ตอบว่า “ใช่ก็มี ไม่ใช่ก็มี
ที่ว่า “ใช่” คืออย่างไร? คือ พระพุทธเจ้าสอนให้เราสันโดษในวัตถุเสพ หรือในวัตถุบำรุงบำเรอ

ที่ว่า “ไม่ใช่” คืออย่างไร? ท่านไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม


พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะพระองค์ไม่สันโดษในกุศลธรรม พระองค์จึงตรัสรู้ ดังที่ตรัสไว้ว่า (องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๖๔)

“ภิกษุทั้งหลาย เรารู้เข้าถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ระย่อในการบำเพ็ญเพียร
…ดังนี้แล โพธิญาณอันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท.”

พระพุทธเจ้าทรงบรรยายถึงการที่พระองค์ทรงไม่สันโดษและมีความเพียร ถ้าพระพุทธเจ้าสันโดษ พระองค์ก็ไม่ได้ตรัสรู้

พระองค์เสด็จไปยังสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร ที่เล่าไปแล้ว ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ แล้วไปสำนักอุททกดาบส รามบุตร ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ จบสมาบัติ ๘ ถ้าพระองค์สันโดษ พอใจ ก็จบเท่านั้น อยู่แค่สมาธิ ก็ไม่ตรัสรู้

แต่พระพุทธเจ้าทรงไม่สันโดษ ไม่อิ่ม ไม่พอในกุศลธรรม ถ้าไม่บรรลุจุดหมาย ก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงออกจากสำนักของพระอาจารย์เหล่านั้น แล้วไปบำเพ็ญเพียรต่อ ทรงก้าวสู่ปัญญา จนถึงโพธิ จึงตรัสรู้ พระองค์จึงตรัสไว้ว่า ที่พระองค์ได้ตรัสรู้นี้ ได้เห็นคุณค่าของความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย

ถ้าเราสันโดษในวัตถุเสพ มันก็จะมาหนุนให้เราไม่สันโดษในกุศลธรรมได้เต็มที่ เราก็จะเอาเวลา แรงงานและความคิดมาทุ่มเทในการเพียรพยายามบำเพ็ญกุศลธรรม ทำการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามยิ่งขึ้นไป

จึงเห็นได้ชัดว่า สันโดษในวัตถุเสพ ก็เพื่อให้พร้อมที่จะเพียร และให้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ก็เพื่อให้มุ่งหน้าไปในความเพียร เป็นอันว่า ทั้งสันโดษ และไม่สันโดษ ก็เพื่อหนุนความเพียร”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต)
ที่มา : ปาฐกถาธรรม แสดงที่ วัดธัมมาราม นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา
เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ จากหนังสือ “สมาธิแบบพุทธ”
เพจคู่มือมนุษย์

2
   http://youtu.be/vZX6KOmFRqQ
แอโรบิคแดนซ์ เมดเล่ย์ กรุแตก
>> Icez Z Anupong

Philosophy and healthy ปรัชญา และสุขภาพดี
G+ communities คนรัก รักษ์ ปัญญา สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง

Suraphol KruasuwanOWNER
https://plus.google.com/u/0/+SurapholKruasuwan

3
* การแจ้งเตือนทางการแพทย์ *
โปรดแชร์เรื่องนี้กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเป็นเรื่องสำคัญมากและสามารถช่วยชีวิตคนได้
กลุ่มแพทย์ชาวญี่ปุ่นยืนยันว่าน้ำอุ่นมีประสิทธิภาพ 100% ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ เช่น:
1. ไมเกรน
2.ความดันโลหิตสูง
3. ความดันโลหิตต่ำ
4.อาการปวดข้อ
5 การเพิ่มขึ้นและการลดลงของการเต้นของหัวใจอย่างฉับพลัน
6. โรคลมบ้าหมู/ โรคลมชัก
7. ลดระดับคอเลสเตอรอล
8. ไอ
9.ไม่สบายตัว
10.ความเจ็บปวด

11 หอบหืด
12 ไอกรน
13.การอุดตันของหลอดเลือดดำ
14 โรคที่เกี่ยวข้องกับมดลูกและปัสสาวะ
15 ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
16. เบื่ออาหาร
17 โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาหูและลำคอ
18. ปวดศีรษะ

ใช้น้ำอุ่นอย่างไร?
ลุกขึ้นในตอนเช้าและดื่มน้ำอุ่นประมาณ 4 แก้วเมื่อท้องว่างเปล่า คุณอาจจะไม่สามารถดื่มได้ 4 แก้ว แต่คุณจะทำได้โดยดื่มช้าๆ
หมายเหตุ: ห้ามกินอะไรสัก 45 นาทีหลังจากดื่มน้ำ

การบำบัดด้วยน้ำอุ่นจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสมเช่น:
✔โรคเบาหวานใน 30 วัน
✔ความดันโลหิตภายใน 30 วัน
✔ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารภายใน 10 วัน
✔มะเร็งทุกชนิดใน 9 เดือน
✔การอุดตันของเส้นเลือดใน 6 เดือน
✔เบื่ออาหารใน 10 วัน
✔มดลูกและโรคที่เกี่ยวข้องใน 10 วัน
✔ปัญหาจมูกหูและลำคอใน 10 วัน
✔ปัญหาของผู้หญิงใน 15 วัน
✔โรคหัวใจใน 30 วัน
✔ปวดศีรษะ / ไมเกรนใน 3 วัน
✔คอเลสเตอรอลภายใน 4 เดือน
✔โรคลมชักและอัมพาตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 9 เดือน
✔หอบหืดภายใน 4 เดือน

น้ำเย็นจะไม่ดีสำหรับคุณ
ถ้าน้ำเย็นไม่ส่งผลต่อคุณในวัยหนุ่มสาวมันจะเป็นอันตรายต่อคุณในวัยชรา
* น้ำเย็นปิดหลอดเลือดดำ 4 ดวงและทำให้หัวใจวาย เครื่องดื่มเย็นเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะหัวใจวาย
* นอกจากนี้ยังสร้างปัญหาในตับ ทำให้ไขมันติดอยู่กับตับ คนส่วนใหญ่รอการปลูกถ่ายตับซึ่งเป็นเหยื่อของการดื่มน้ำเย็น
* น้ำเย็นส่งผลกระทบต่อผนังภายในของกระเพาะอาหาร มีผลต่อลำไส้ใหญ่และส่งผลต่อมะเร็ง
โปรดอย่าเก็บข้อมูลนี้ไว้เพื่อตัวคุณเอง
บอกให้ใครบางคนบอกต่อคนอื่นซึ่งอาจช่วยชีวิตคนได้
จาก
Dr. D. Mensah-Asare

*MEDICAL ALERTNESS *
PLEASE SHARE THIS WITH FAMILY AND FRIENDS, IT'S VERY IMPORTANT AND CAN SAVE SOMEONE'S LIFE.
>>fbอกาลิโก แปลว่าไม่ประกอบด้วยกาล

4


"ติดบุญ-บาปพัวพัน"
ความหลงได้ทำให้มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าการสร้างบุญเป็นหนทางแห่งการพ้นเวียนว่ายตายเกิด แท้ที่จริงกลับเป็นการถากถางทางการเวียนเกิด-ตาย ไม่สิ้นสุดนั่นเอง วันหนึ่งเมื่อข้าหลวงอุ๋ยได้ถวายภัตตาหารเจแด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า

"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ" "ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ "แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ตี้ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย

บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า "ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่คตี้เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ททรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน
การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้

ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย" คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่ตี้สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียยนเกิด-ตาย เลย

แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด สมัยหนึ่งมีวัดแห่งหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็นสองคณะและต่างก็แข่งขันกันในอันที่ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ก่อนนั้น พระคณะเหนือตื่นก่อนและสวดมนต์ได้ทันเวลา แต่พระคณะได้ตื่นสายไม่ทันการณ์ เณรองงค์หนึ่งแห่งคณะใต้มีความสงสัยจึงมาแอบดูว่าเป็นเพราะเหตุใดพระคณะนี้จึงตื่นได้ทันเวลาเสมอ จึงเห็นไส้เดือนตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นมาจากใต้ดินส่งเสียงร้อง ปลุกพระคณะเหนือ เณรจึงไปต้มน้ำร้อนมาราดฆ่าไส้เดือนตัวนั้นเสีย แต่เป็นเพราะจิตญาณของไส้เดือนเต็มไปด้วยบุญ

 จึงได้ไปถือกำเนิดเป็นชายตัดฟืนและความใจบุญยังคงติออยู่ในกมลสันดาน ชอบซ่อมแซมสาธารณะสมบัติไม่ว่าจะเป็นสะพานที่ชำรุดหรือศาลาพักร้อนก็ซ่อมแซมให้พ้นจากสภาพทรุดโทรมและชนทั่วไปสามารถใช้การได้เสมอ วันหนึ่งชายตัดฟืนเดินเข้าไปในป่าตามปกติ พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งตั้งตากแดดตากฝนอยู่เพราะเพิงได้พังทลายลงไปเสียแล้ว ชายตัดฟืนจึงบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและไปเก็บดอกไม้มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปเสมอมา แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชายตัดฟืนแปลกใจเป็นยิ่งนัก เพราะผลไม้หรือดอกไม้นั้นหายไปเสมอ วันหนึ่งหลังจากนำผลไม้มาถวายพระพุทธรูปแล้วก็แอบดู จึงเห็นลิงตัวหนึ่งมาขโมยผลไม้แลละดอกไม้ไป ชายตัดฟืนเกิดโทสะ ไล่จับลิงแต่ลิงก็วิ่งหนีไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง

ชายตัดฟืนจึงขนหินมาปิดปากถ้ำขังลิงไว้เจ็ดวันก็ถึงแก่ความตาย ลิงซึ่งเคยเป็นเณรฆ่าไส้เดือน ตายจากลิงแล้วจึงไปเกิดเป็นโหวจิ่งแม่ทัพแคว้นเว่ย ส่วยชายตัดฟืนเมื่อสิ้นอายุขัยได้ไปถือกำเนิดเป็น

พระเจ้าเหลียงอู่ตี้เพราะผลบุญของการสร้างสาธารณะสมบัติเป็นแรงส่งให้ได้เสวยผลบุญของตน และจิตที่เต็มอิ่มไปด้วยบุญในชาติที่เป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงใจบุญสนับสนุนให้มีการสร้างวัดมากมาย โดยเฉพาะพระองค์เองได้สร้างวัดไว้อย่างประมาณไม่ได้เดินทางไปห้าสิบลี้ก็สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นวัดหนึ่ง ครั้นถึงร้อยลี้ก็สร้างวัดใหญ่ๆ การสร้างบุญจึงเป็นเสมือนหนึ่งการสะสมเงินตราเอาไว้เป็นธนาคารของตนเอง สามารถเบิกจ่ายมาใช้สอยให้ชีวิตมีความสุข คนใจบุญจึงต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลบุญของตนเอง เมื่อติดอยู่ในบุญแต่เพียงอย่างเดียว ในจิตจึงมีอกุศลตามมาเสมอเพราะบาปเวรกรรมมิได้กำจัดไป

เพราะฉะนั้นจึงต้องเผชิญต่อบาปที่ตนเองก่อเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ พระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงถูกโหวจิ่งแม่ทัพของเมืองเว่ยปิดล้อมพระราชวัง จนอดอาหารตายเช่นเดียวกับสมัยที่เป็นชายตัดฟืนแล้วขังลิงเอาไว้ในถ้ำนั่นเอง การสร้างบุญจึงทำให้จิตใจอิ่มเอิบ แต่มิได้มีกุศลอันเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงในจิต สร้างบุญมากเท่าไหร่แต่อารมณ์ทั้งปวงมิได้ถูกกำจัด ฉะนั้นคนใจบุญจึงยังพัวพันกับบาปไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตจึงยังคงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับบาปและบุญตลอดไปนั่นเอง
(สูตรของเว่ยหล่าง )
..
..
"อหังการ"
บุญ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิตฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุด กุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้น เพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก ส่วนกุศลเป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "การเห็นแจ้งในธรรมญาณเรียกว่า "กง"ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า "เต๋อ" และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งทำหน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ"

 คำว่า "กงเต๋อ" มีความหมายว่า คุณธรรม หรือ กุศลกรรม เพราะการค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไปให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม การอธิบาย "กงเต๋อ" จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากอหังการจึงเป็น "กง" แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น "เต๋อ" การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึงเรียกว่า "เต๋อ" การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึงเรียกว่า "เต๋อ"

 สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมือนกันหมด และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว ไม่อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีก ผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญกุศลใดๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริงๆ กุศลที่ได้รับย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาสเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ

 ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกตินิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง "กง" ดังนั้น เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อสำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด "เต๋อ" คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรมคือ "กงเต๋อ" ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป แต่คนที่เย่อหยิ่งจองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปววง คนสมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คนเหล่านี้จึงเจริญด้วย อหังการ

 เพราะฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ "คุณธรรม" มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่ง "อหังการ" ครอบงำโลกเอาไว้ ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้าใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริงๆ หรือแม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมนอย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก

 พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ "กงเต๋อ" ว่า "เมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี "กง" เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่ามี "เต๋อ" เพราะฉะนั้น กุศล จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริง" การสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริงๆ
"พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง"
..
..
นิทานเซน : ความหอมก็เป็นเซน

นักกลอนท่านหนึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เซนท่านหนึ่ง
วันหนึ่งทั้งสองเดินมาตามทางที่มี ดอกกุ้ยฮวา ขนาบอยู่สองข้างทาง
ดอกกุ้ยฮวากำลังบานสะพรั่ง และส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณ

“กลิ่นหอมเข้มข้นของดอกเหล่านี้ เจ้าได้กลิ่นหรือเปล่า?” พระอาจารย์ถาม
“ได้กลิ่นแล้ว” นักกลอนนั้นตอบ

“เจ้าไม่ใช่เคยถามหรือว่า อะไรคือเซน”
ตอนนี้อาตมาเอาสิ่งที่ได้เห็นได้กลิ่น มาบอกเจ้าจนหมดแล้ว”

นักกลอนนั้นไม่เข้าใจว่าพระอาจารย์พูดอะไร แต่เมื่อส่งสายตามอง
ไปไกลๆ สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้ จึงรู้ได้โดยฉับพลัน

เซนแท้จริงแล้ว ไม่ใช่แนวคิด ไม่ใช่คำพูด แต่เป็นทุกสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเรา
ภูเขา สายน้ำ ต้นไม้ใบหญ้า นก ปลา หนอน ล้วนแต่คือเซน

การรู้แจ้งผู้อื่นไม่สามารถจะทดแทนได้ และก็ไม่ใช่อาศัยคำพูดสอนธรรมะ
ก็รู้แจ้งได้ รากฐานสำคัญที่สุด คือใช้ความรู้สึกและสำนึกด้วยตนเอง”
*****
..
..
นิทานเซน : อย่างนั้นหรอกหรือ?

ยังมีอาจารย์เซนผู้เลื่องชื่อแห่งแดนอาทิตย์อุทัยนาม ไป๋อิ่น(白隐:Hakuin) ซึ่งในสายตาของผู้คนในละแวกนั้นเห็นว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งยังเปี่ยมเมตตา

ครั้งหนึ่ง บุตรีของเพื่อนบ้านเกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ทำให้บิดามารดาของนางโกรธมาก และขู่เข็ญในนางสารภาพว่าบิดาของเด็กในครรภ์คือใคร ทว่าเป็นตายอย่างไรนางก็ไม่ยอมบอก สุดท้ายภายใต้การบังคับของบุพการี นางจึงบอกว่าบิดาของเด็กในครรภ์คืออาจารย์เซนไป๋อิ่น

เมื่อทราบความ บิดามารดาของสตรีนางนั้นจึงเกิดบันดาลโทสะ เดินทางมาต่อว่าอาจารย์เซนอย่างหยาบคาย บรรดาชาวบ้านใกล้เคียงที่หมดศรัทธาต่อนักบวชรูปนี้ก็พากันมารุมประณาม ทว่าอาจารย์เซนไป๋อิ่นเพียงกล่าวคำเดียวว่า "อย่างนั้นหรอกหรือ?" จากนั้นรับปากอุปการะเด็กที่จะเกิดมา

เมื่อทารกถือกำเนิดขึ้นมา อาจารย์เซนก็รับมาอาศัยอยู่ที่อารามเซน ทั้งยังรับผิดชอบดูแลทารกน้อยไม่ขาดตกบกพร่องเวลาผ่านไปราว 1 ปี สตรีผู้เป็นมารดาของทารกน้อยอดรนทนไม่ไหว สุดท้ายสารภาพต่อบุพการีของตนเองว่าที่แท้แล้วสามีของนางคือชายหนุ่มเพื่อนบ้านผู้หนึ่งที่มีฐานะยากจนมาก ในตอนแรกนางกลัวว่าบุพการีจะไม่ยอมรับลูกเขยจึงได้สร้างเรื่องเท็จใหญ่โตจนเดือดร้อนไปถึงอาจารย์เซน

เมื่อความจริงเปิดเผย บิดามารดาของสตรีผู้นั้นต่างตกตะลึง ทั้งหมดรีบเดินทางไปกราบขอขมาอาจารย์เซนด้วยความสำนึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง ขณะเดียวกันชาวบ้านที่ทราบความจริงต่างก็เดินทางไปขออภัยที่เคยพูดจาล่วงเกินอาจารย์เซนไป๋อิ่นเอาไว้อย่างมากมาย

ทว่าเมื่อฟังความจบ อาจารย์เซนยังคงสงบสำรวม จากนั้นกล่าวเพียงประโยคเดียวว่า "อย่างนั้นหรอกหรือ?" และมอบเด็กทารกคืนให้แก่สตรีผู้นั้นไป


ปัญญาเซน : การไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ ล้วนไม่จีรัง จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมจึงจะเป็นมงคลชีวิตแก่ตน
*****
..
..
"จมอยู่ในโลก" (นิทานเซน)

เต่าตัวหนึ่ง เป็นสหาย กับ ปลาตัวหนึ่ง วันหนึ่งได้พบกัน ปลาถามว่า...
“สหายเอ๋ย ท่านไปที่ไหนเสียเป็นนาน?”
“ไปเที่ยวบนบกมา” เต่าตอบ
“บกเป็นอย่างไร” ปลาถาม
“อ๋อบก งดงามมาก มีอะไรสวยๆ แปลกๆ ลมพัดเย็นสบาย มีอาหารดีเยอะ มีเสียงแปลกๆ ซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ในที่นี้เลย”

ปลาตอบ “ฉันไม่เข้าใจเลย สหายเอ๋ย บกนั้นอ่อนละมุน ให้ศีรษะของเราแหวกว่าย ไปได้สะดวกเช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่
“บกไหลเอ่อไปได้ตามร่อง เช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่
“บกเย็นชุ่ม ซึบซาบ เอิบอาบ เช่นนี้หรือ?” ไม่ใช่
“บกเป็นละลอก ริ้วๆ เมื่อถูกลมพัดหรือ?” ไม่ใช่

แม้ปลาจะตั้งคำถามมาอย่างไร
คำตอบก็มีแต่ “ไม่ใช่” ทั้งนั้น
ในที่สุด ปลาก็หมดศรัทธา ประฌามเต่าว่า
“สหายเอ๋ย ท่านโกหกเสียแล้ว เอาสิ่งที่ ไม่มีจริง เป็นจริง มากล่าว”

แต่เต่าก็ไม่รู้ที่จะตอบ สหายของตน อย่างไรดี ในที่สุด ก็ได้แต่ ค่อยๆคลาน กลับขึ้นไปบนบกอีก เต่าได้เที่ยวไปบนบกอีก ซึ่งสหายของเขา ไม่เคยนึก และ ไม่ยอมเชื่อว่ามี !
เต่าได้เที่ยวไปวันแล้ววันเล่าๆ บนบก ซึ่งสหายของเขา หาว่า เขาโกหก !!

????ปัญญาเซน: น้ำกับบก ต่อติดกันอยู่ ห่างกัน เพียงชั่วเส้นริมน้ำ เส้นเล็กๆ ที่ริมสระเท่านั้น แต่ปลาก็ไม่อาจรู้ หรือแม้แต่คาดคะเนว่า บกเป็นอย่างไรได้เลย พระพุทธองค์ตรัสว่า โลก คือโอกะ (แปลว่า น้ำ) สัตว์โลก ก็คือ ผู้ที่จมอยู่ในโลก หรือน้ำ นั่นเอง
พระนิพพาน เป็นฝั่งเกาะที่รอดพ้น แต่น้อยคนนักที่จะว่ายออกไปถึงเกาะได้
..
..
>>fbวงศ์ยุทธนาพงศ์ สมชาย
ได้แชร์โพสต์ของ ณัฐนนท์ ระกำทอง
ลงในกลุ่ม: ขอบคุณของขวัญจากธรรมชาติ ที่พระเจ้าประทานให้

5
จิตภาวนา-ปัญญาบารมี / ติตถิยสูตร
« เมื่อ: มกราคม 02, 2018, 11:00:42 pm »
ติตถิยสูตร
[๕๐๘] ๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกจะพึง
ถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ราคะ
โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้แล ผู้มีอายุ ธรรม ๓ อย่างนี้
ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มี
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงถามเช่นนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉนคือ ราคะ โทสะ โมหะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาถามอย่างนี้พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อยคลายช้า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โมหะมีโทษมากคลายช้า

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิด
ขึ้น หรือที่เกิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า สุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่างาม เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ใน
ใจโดยอุบายไม่แยบคายถึงสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า ปฏิฆนิมิต คือ ความ
กำหนดหมายว่ากระทบกระทั่ง เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายถึงปฏิฆนิมิต
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่ง ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เธอทั้งหลายควรพยากรณ์
ว่า พึงกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย โมหะ
ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง
ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น และ
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อสุภนิมิต
คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต
ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้

ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด
ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าว
ว่า เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติ
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมละได้

ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เธอทั้งหลาย
ควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบ
คาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯ
ที่มา :http://www.84000.org...0&A=5268&Z=5319

โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง่าเค้ามูลมาจาก
๑. ไม่ชอบ  ๖. โกรธ
๒. เสียใจ   ๗. เกลียด
๓. กลุ้มใจ  ๘. กลัว
๔. รำคาญ ๙. ประทุษร้าย
๕. หงุดหงิด ๑๐. ทำลาย
รวมความว่าโทสมูลจิตไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ

-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค-----

๘. โทสเจตสิก คือ ความโกรธ ความไม่ชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
จณฺฑิกลกฺขโณ มีความหยาบกระด้าง เป็นลักษณะ
นิสฺสยทาหนรโส มีการทำให้จิตตนและผู้อื่นหม่นไหม้ เป็นกิจ
ทูสนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประทุษฐร้าย การทำลาย เป็นผล
อาฆาตวตฺถุ ปทฏฺฐาโน มีอาฆาตวัตถุ เป็นเหตุใกล้
ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ
เกลียด กลัว ประทุฐษร้าย ทำลาย เหล่านั้นเป็นลักษณะหรือเป็นตัวโทสะทั้งนั้น

-----อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค-----
http://larndham.org/index.php?/topic/38545-ความกลัว-จัดเป็น-ราคะ-โทสะ-หรือ/

6
จิตภาวนา-ปัญญาบารมี / อิสสรสูตร
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2017, 12:58:19 pm »

อิสสรสูตร
อะไรเล่าเป็นอันตรายต่อธรรม
อะไรเล่าสิ้นไปตามคืนและวัน
อะไรเล่าเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อะไรเล่ามิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องกี่ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้

ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่าจะรู้ข้อความนั้นได้อย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม
ชื่อและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด
ความโลภเป็นอันตรายต่อธรรม
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ข้องอยู่ในหญิงนั่น
ตบะและพรหมจรรย์นั้นมิใช่น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง

ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ที่จิตตั้งอยู่ไม่ได้ คือ
ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความไม่ขยัน ๑
ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลสไม่ทำงาน ๑
พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เสีย โดยประการทั้งปวงเถิด

fbใบโพธิ สิกขา‎ >>กลุ่มโพธิสัตว์บารมี

7
หยาดฝนแห่งธรรม / เมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรม
« เมื่อ: ธันวาคม 18, 2017, 12:52:23 pm »

...เมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรม...
มนุษย์ทุกคนล้วนมีเมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรมอยู่ภายใน หากบ่มเพาะอยู่เป็นประจำ ย่อมเป็นผู้เจริญด้วยคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์

๑.Courageous (กล้าหาญ) : แม้ได้สัมผัสสัจจะเพียงเล็กน้อย ฉันก็ดูดซับไว้ และไม่เกรงกลัวที่จะทำในสิ่งที่ควร
๒.Honest (ซื่อสัตย์) : ฉันมีความคิดที่เป็นสัจจะ มีคำพูดที่เปิดเผย และการกระทำที่มีค่าควรแก่การไว้วางใจ
๓.Content (พอใจ) : ฉันเป็นสุขกับชีวิตที่รู้ และแน่ใจว่าฉันจะได้รับทุกสิ่งที่มีค่าดุจธารน้ำที่ไหลมาหล่อเลี้ยงอย่างไม่ขาดสาย
๔.Beauty (ความงาม) : ฉันพบความน่ารักของตนเอง และผู้อื่น เป็นความงามภายใน ความพิเศษเฉพาะตน และสิ่งที่มีค่าควรแก่การถนอมรักษา
๕.Compassionate (กรุณา) : ฉันใส่ใจที่จะให้เกียรติต่อทุกชีวิต ในฐานะที่เป็นพี่น้อง ฉันมีความกรุณาเช่นที่มารดามีต่อบุตร
๖. Gentle (อ่อนโยน) : ฉันก้าวไปอย่างแผ่วเบาบนผืนดิน มองเห็นและเข้าใจ โดยไม่เอาเปรียบหรือหลอกลวงใคร
๗. Happy (เป็นสุข) : ฉันเป็นสุขสนุกสนานและอยู่อย่างมีชีวิตชีวา กับมิตรที่ดีที่ผ่านเข้ามา
๘. Clam (เยือกเย็น) : ฉันอยู่อย่างมั่นคงท่ามกลางความสับสน ฉันมั่นใจแม้ในเวลาที่ยากลำบาก
๙. Humanity (ถ่อมตน) : ฉันรู้ค่าผู้อื่น โดยไม่เรียกร้องความสนใจ ความเคารพตนเอง คือแสงสว่างภายใน ฉันไม่ต้องการอะไรเป็นพิเศษ
๑๐. Respectful (เคารพ) : ฉันรู้ค่าในบทบาทพิเศษของแต่ละคน และน้อมรับการให้ของผู้อื่นแม้เพียงเล็กน้อยที่สุด

๑๑. Generous (ใจกว้าง) : ฉันเต็มเปี่ยม จึงให้ได้อย่างไม่เห็นแก่ตัว เป็นสื่อของพลังสูงสุดที่กระจายคุณประโยชน์ไปสู่ทุกคน
๑๒. Loving (ความรัก) : ความรักของฉันคือของขวัญในชีวิต จึงเป็นอิสระจากการคาดหวัง และไม่มีเงื่อนไขใดๆเป็นพิเศษ
๑๓. Enthusiastic (กระตือรือร้น) : ฉันคือผู้สร้างความฝันและความคิด จึงทำให้โครงการและงานของฉันมีชีวิต
๑๔. Strong (เข้มแข็ง ) : ฉันเกื้อหนุนตนเองและผู้อื่น ด้วยสัญชาติญาณ และความซื่อสัตย์ในจิตวิญญาณ
๑๕. Self – Confident (เชื่อมั่นในตัวเอง) : ฉันเห็นภาพความฝันของฉันและตั้งใจที่จะทำให้เป็นจริง
๑๖. Integrity (ซื่อตรง) : การกระทำสะท้อนสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดของฉัน ไม่มีความแตกต่างระหว่างภายในและภายนอก
๑๗. Magical (อัศจรรย์) : ด้วยความเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ ฉันเปลี่ยนการสูญเสียให้เป็นคุณประโยชน์ จากสิ่งธรรมดาให้เป็นความพิเศษ
๑๘. Adventurous (ผจญภัย) : ความมหัศจรรย์ทำให้ชีวิตเต็มเปี่ยม ฉันท้าทายความคิดเห็นและภาพพจน์เก่าๆ อย่างเต็มใจ
๑๙. Pure-Hearted (บริสุทธิ์ใจ) : ฉันรักและสนทนากับความดีงามดั้งเดิมของตน และมีความสัมพันธ์กับความบริสุทธิ์ของทุกคน
๒๐. Practical (ปฏิบัติจริง) : ฉันไม่เสียเวลากับเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ และมีความตั้งใจ เพื่อหาทางออกของปัญหาได้เสมอ

๒๑. Centred (เป็นศูนย์รวม) : ฉันอยู่กับความเป็นจริง สงบนิ่งอยู่ภายในและเปิดใจให้กับทุกสิ่ง
๒๒. Free (เป็นอิสระ) : ไม่มีสิ่งใดดึงรั้งจิตใจ ฉันสามารถพึ่งพิงตนเองได้จากภายในและก้าวไกลออกมาจากสิ่งที่มีขีดจำกัด
๒๓. Positive (มองโลกในแง่ดี) : ทุกความคิดและการกระทำของฉัน มีความหวัง และความปรารถนาดีต่อทุกดวงวิญญาณ และทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ
๒๔. Dignified (มีศักดิ์ศรี) : ฉันปิติสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทีความสูงส่งและมั่นใจ ท่ามกลางผู้คนรอบข้าง
๒๕. Truthful (มีสัจจะ) : ฉันตรงไปตรงมาด้วยศิลปะวิธี มีความจริงใจ ไม่มีอคติในสายสัมพันธ์กับสิ่งใด
๒๖. Intuitive (มีสัญชาติญาณ) : ฉันเข้าใจในแต่ละจังหวะของเหตุการณ์ และฉันปล่อยให้สามัญสำนึกนำทางฉันไป
๒๗. Determined (มุ่งมั่น) : ฉันตั้งใจจริงและยืดหยุ่น ฉันก้าวไปด้วยความรักและความประสงค์ที่มุ่งตรงไปสู่จุดหมายปลายทาง
๒๘. Uncomplicated (ไม่ซับซ้อน) : ฉันเข้าถึงหัวใจของทุกสิ่งอย่างจริงใจและพอใจในชีวิตที่เรียบง่าย
๒๙. Appreciative (ยกย่อง) : ฉันยกย่องการกระทำที่กรุณา ความตั้งใจที่บริสุทธิ์ และพรสวรรค์ที่นำมาใช้
๒๙. Flexible (ยืดหยุ่น) : ฉันไม่มีความวิตกกังวล แต่คงความระมัดระวัง มีความสนุกสนานแต่เยือกเย็น แข็งแกร่งแต่อ่อนโยนเช่นต้นไผ่
๓๐. Healing (เยียวยารักษา) : ฉันค่อยๆกลับคืนสู่ศูนย์กลางที่มั่นคงอย่างนิ่มนวล จากการหล่อเลี้ยงด้วยน้ำของความอดกลั้นและความสงบของฉัน

๓๑. Responsible (รับผิดชอบ) : ฉันใส่ใจต่อผลกรรม ให้ความร่วมมือกับทุกคน และดูแลความรู้สึกที่ดีของตนอยู่เสมอ
๓๓. Co-operative (ร่วมมือ) : ฉันยื่นมือให้ด้วยความเต็มใจ ที่จะใช้เวลาและความสามารถในการสร้างผลงานที่ดี
๓๔. Wise (รอบรู้) : ฉันจะทำต่อเมื่อ ฉันได้สังเกตการณ์ รับฟัง และยอมรับ
๓๕. Detached (ปล่อยวาง) : รักโดยไม่ยึดติด ข้องแวะโดยไม่พึ่งพึง ฉันเห็นทุกสิ่งตามสภาพที่เป็นจริง
๓๖. Trusting (ไว้วางใจ) : ฉันรู้ถึงการขึ้น – ลงของชีวิต ว่าเป็นโอกาสในการสร้างสมศรัทธาต่อการเดินทางที่ต้องฝ่าฟัน
๓๗. Forgiving (ให้อภัย) : จากการรู้ค่าของความซื่อสัตย์และการผูกมัดต่อผลกรรม ฉันจึงปล่อยวางจากอดีต และทำให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงได้อย่างนิ่มนวล
๓๘. Faithful (ศรัทธาต่อตนเอง) : ฉันมีความซื่อตรงและจริงใจต่อคำพูดของตนเอง ฉันมั่นคงต่อการมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง
๓๙. Peaceful (สงบ) : ฉันเฝ้าดูกระแสความคิดของจิตใจด้วยความเยือกเย็นอย่างยิ่ง และน้อมรับด้วยความนิ่งสงบภายใน
๔๐. Cheerful (สดชื่นแจ่มใส) : ฉันมีชีวิตที่เบาสบาย ด้วยการหยั่งรู้ถึงอนาคตที่งดงามของตนเอง

๔๑. Constant (สม่ำเสมอ) : ฉันแน่วแน่ มั่นคง เป็นที่พักพิง มีความจริงใจ ไม่ถูกหลอกลวงด้วยสิ่งที่ได้มาเพียงชั่วคราว
๔๒. Creative (สร้างสรรค์) : ฉันสร้างจินตนาการใหม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันจากฐานของอดีตที่ลึกล้ำ เพื่อทำให้เกิดแรงดลใจ
๔๓. Resourceful (ให้กำลังใจ) : ฉันค้นพบวิธีในการใช้ความสามารถที่ซ่อนไว้ภายใน และให้กำลังใจผู้อื่นเพื่อการแก้ไขปัญหาเสมอ
๔๔. Nurturing (หล่อเลี้ยง) : ด้วยความจริงใจและพร้อมที่จะให้ ฉันจึงเปิดหนทางแห่งการเกื้อหนุนค้ำจุนจิตใจได้เสมอ
๔๕. Sense of Humour (อารมณ์ขัน) : ฉันมีจิตใจร่าเริงยินดี และมีวันที่สว่างไสว
๔๖. Patience (อดกลั้น) : ฉันปล่อยให้ผลการกระทำของฉันเกิดขึ้น ตามเวลาที่มี กับเหตุการณ์ที่ประหลาดและผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝัน
๔๗. Tolerant (อดทน) : ฉันมีความเป็นผู้ใหญ่ ที่ไม่คาดหวังสิ่งใด และพร้อมที่จะให้ความรักเสมอ
๔๘. Sweet (อ่อนหวาน) : ฉันรู้ว่าทุกสิ่งมีคุณค่า และอยู่เหนือเงาของความทุกข์
: บราห์มากุมารี มหาวิทยาลัยจิตของโลก

fbใบโพธิ สิกขา‎ >>กลุ่มโพธิสัตว์บารมี

8


“ความรู้เรื่องสีล ๕ รักษาสีล ๕ แล้วได้อะไร?”
ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตาเวรมณี เว้นจากฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นฆ่า
=>ถ้าไม่เว้นอะไรจะเกิดขึ้น?
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัยฯ”
ที่มาจากพระสูตรชื่อ “สัพพหหุสูตร” เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๙๒

=>อย่างไรเรียกว่าปาณาติบาต?
การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง หรือ ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ซึ่งประกอบด้วยองค์ 5 ประการคือ
๑.สัตว์นั้นมีชีวิต
๒.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓.มีจิตคิดจะฆ่า
๔.ทำความเพียรเพื่อฆ่า
๕.สัตว์ตายเพราะความเพียรนั้น

ถ้ากระทำการฆ่าครบองค์ 5 ประการนี้ ศีลข้อที่ ๑ ก็ขาด!
ปโยคะ คือ ความเพียรพยายามในการกระทำปาณาติบาต นั้นมี 6 อย่างคือ

๑.สาเหตฺถิกปโยค คือ สังหารด้วยตนเอง
๒.อาณตฺติกปโยค คือ ใช้ผู้อื่นหรือใช้วาจาสังหาร
๓.นิสฺสคฺคียปโยค คือ ใช้อาวุธสังหาร
๔.ถาวรปโยค คือสังหารด้วยหลุมพราง
๕.วิชฺชามยปโยค คือ สังหารด้วยวิชาคุณ
๖.อิทฺธิมยปโยค คือ สังหารด้วยฤทธิ์

=>ถ้ากระทำปาณาติบาตแล้วจะได้อะไร?
การกระทำปาณาติบาต คือการฆ่าสัตว์ หรือมนุษย์ ครบองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว จะได้รับผล ๒ ขั้นคือ

๑.ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือ เกิดในนรก, ดิรัจฉาน, หรือเปรต
๒.ได้รับผลใน ปวัตติกาล คือ ได้รับผลหลังจากเกิดแล้วและผลที่จะได้รับในปวัตติกาลนี้ ผู้ทำปาณาติบาตจะครบองค์ปาณาติบาตหรือไม่ครบองค์ก็ตาม ถ้าเกิดเป็นมนุษย์จะได้รับผลอีก ๙ ประการคือ
๑.เป็นคนทุพพลภาพ
๒.เป็นคนรูปไม่งาม
๓.มีกำลังกายอ่อนแอ
๔.เป็นคนเฉื่อยชา
๕.เป็นคนขี้ขลาด

๖.ฆ่าตัวตาย, หรือถูกผู้อื่นฆ่า
๗.โรคภัยเบียดเบียน
๘.ความพินาศของบริวาร
๙.อายุสั้น

ผลทั้ง ๙ ประการนี้ เป็นเศษของกรรมให้ผลหลังจากไปเกิด เป็นสัตว์นรก, ดิรัจฉาน หรือ เปรตมาแล้วเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะได้รับผลทั้ง ๙ ประการ เรียกว่า ดอกเบี้ยบาป และดอกเบี้ยบาปนี้ให้ผลต่อเนื่องกันหลายชาติ ไม่ใช่ชาติเดียวเท่านั้น

รักษาศีลข้อที่ ๑ แล้วได้อะไร?
การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการฆ่ามนุษย์เสียได้ จะได้รับผล ๒ ขั้นคือ

๑.ได้รับผลในปฏิสนธิกาล คือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา เรียกว่า กามสุคติภูมิ
๒.ได้รับผลในปวัตติกาล คือ หลังจากเกิดแล้วเช่นถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์จะได้รับผลอีก ๒๓ ประการ
อานิสงส์ของการรักษาศีลข้อที่ ๑ มี ๒๓ ประการได้แก่
๑.สมบรูณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่
๒.มีร่างกายสมส่วน
๓.สมบรูณ์ด้วยกำลังกาย
๔.มีเท้างามประดิษฐานลงด้วยดี
๕.เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส

๖.มีรูปโฉมงามสะอาด
๗.เป็นผู้อ่อนโยน
๘.เป็นผู้มีความสุข
๙.เป็นผู้แกล้วกล้า
๑๐.เป็นผู้มีกำลังมาก

๑๑.มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง
๑๒.มีบริษัทรักใคร่ไม่แตกแยกจากตน
๑๓.เป็นคนไม่สะดุ้งตกใจกลัวต่ออภัยเวร
๑๔.ข้าศึกศัตรูทำร้ายไม่ได้
๑๕.ไม่ตายด้วยความเพียรของผู้อื่น

๑๖.มีบริวารหาที่สุดมิได้
๑๗.มีรูปร่างสวยงาม
๑๘.มีทรวดทรงสมส่วน
๑๙.มีความเจ็บไข้น้อย
๒๐.ไม่มีเรื่องเสียใจเศร้าโศก

๒๑.เป็นที่รักของชาวโลก
๒๒.ไม่พลัดพรากจากสิ่งที่รัก และ ชอบใจ
๒๓.มีอายุยืน

คัดลอกส่วนหนึ่งมาจากหนังสือ “ความรู้เรื่องสีล(ศีล) ๕ รักษาสีล(ศีล) ๕ แล้วได้อะไร?”
โดยอาจารย์สรรค์ชัย พรหมฤาษี

fbใบโพธิ สิกขา‎ >>กลุ่มโพธิสัตว์บารมี

9


อลคัททูปมสูตร สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ภิกษุชื่ออริฏฐะ ผู้สืบสกุลที่เคยฆ่าแร้ง มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคแสดงว่ามีอันตรายนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพจริง ภิกษุทั้งหลายตักเตือนก็ไม่ฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกไปชี้แจง ก็นั่งนิ่งเก้อเขินถอนใจ ไม่มีปฏิภาน.

๒. จึงตรัสต่อไปถึงบางคนผู้เรียนธรรม ๓ . แต่ไม่พิจารณาความหมายของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่พิจารณาความหมาย ธรรมะของคนเหล่านั้นก็ไม่ทนต่อการเพ่ง คนเหล่านั้นเรียนธรรมะเพียงเพื่อจะยกโทษผู้อื่นและเพื่อเปลี้องวาทะของผู้อื่น จึงไม่ได้ประโยชน์ของการเรียน ธรรมะที่เรียนไม่ดี จึงเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เปรียบเหมือนคนต้องการงูพิษ แต่จับไม่ดี ก็อาจถูกงูกัดตายหรือปางตาย ส่วนคนที่เรียนดี พิจารณาความหมาย เป็นต้น ก็ได้รับประโยชน์จากการเรียน เหมือนคนต้องการงูพิษ จับงูพิษดี ก็ไม่ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับทุกข์ปางตายฉนั้น.

๓. ตรัสถามที่สำคัญต่อไปว่า เพราะฉะนั้น พึงเข้าใจความหมายแห่งภาษิตของเราแล้วทรงจำไว้ ถ้าไม่เข้าใจ ก็พึงไต่ถามเราหรือภิกษุผู้ฉลาด เราแสดงธรรมมีออุปมาด้วยเเพ เพื่อให้ถอนตัว ( นิตถรณะ ) ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือ ( คหณะ ) เหรียบเหมือนคนข้ามฝั่งน้ำด้วยอาศัยเเพ เมื่อถึงฝั่งแล้วไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย . เมื่อรู้ธรรมะที่เราแสดงเปรียบด้วยเเพ ก็พึงละแม้ธรรมะ จะกล่าวไยถึงอธรรมว่าจะไม่ต้องละ.

๔. ทรงแสดงที่ตั้งแห่งความเห็น ๖ อย่าง คือ รูป , เวทนา , สัญญา , สังขาร , สิ่งที่เห็น ที่ฟังที่ทราบ ที่รู้ ที่ค้นหาด้วยใจ ( รวม ๕ อย่าง ) ที่บุคคลเห็นว่า นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา กับ ( อย่างที่ ๖ ) ยึดถือความเห็นที่ว่า โลกหรืออัตตาเที่ยง ว่าเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา. อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นมิใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็ไม่สดุ้งดิ้นรนในเมื่อสิ่งนั้นไม่มี.

๕. เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามถึงความสะดุ้งดิ้นรน และความไม่สะดุ้งดิ้นรนในสิ่งที่ไม่มีทั้งภายนอกภายใน ๔ . เป็นลำดับ จึงตรัสชี้แจงทั้งสี่ประการ.

๖. ตรัสแสดงว่า เมื่อยังหวงแหน ยังมีวาทะว่าตัวตน ยังอาศัยทิฏฐิ ( ที่ผิด ) ก็จะต้องเกิดความโศกความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และคับแค้นใจ.

๗. ตรัสว่า เมื่อมีตน ก็มีการยึดว่า สิ่งที่เนื่องด้วยตนของเรามีอยู่, เมื่อมีสิ่งเนื่องด้วยตน ก็มีการยึดว่าตนของเรามีอยู่ , เมื่อไม่ได้ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนโดยแท้จริง ความเห็นว่าโลกเที่ยง อัตตาเที่ยง จึงเป็นธรรมะของคนพาลอันบริบูรณ์ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายให้เห็นด้วยตนเองว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรยึดถือ . อริยสาวกผู้รู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้น . ต่อจากนั้นทรงแสดงข้อเปรียบเทียบภิกษุผู้หลุดพ้นในทำนองผู้ชนะศึกที่ตีเมืองอื่นได้.

๘. ตรัสว่า พระองค์ทรงบัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ทั้งในกาลก่อนและในปัจจุบัน แต่สมณพราหมณ์บางพวกก็ยังกล่าวหาว่าทรงสอนขาดสูญ แล้วทรงแสดงต่อไปว่า ไม่ทรงอาฆาตหรือเสียใจเพราะมีผู้อื่นด่า ไม่ทรงชื่นชมโสมนัสเพราะมีผู้อื่นสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วตรัสสอนภิกษุให้ทำเช่นนั้นบ้าง กับได้ตรัสสรุปว่า สิ่งที่ไม่ใช่ของท่าน จงละเสีย สิ่งที่ไม่ใช่ของท่านคือ ขันธ์ ๕ ( ความมุ่งหลายคือ เพื่อคลายความยึดถือ ).

๙. ทรงแสดงถึงผู้ปฏิบัติได้ผลในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาถึงชั้นต่ำสุด คือผู้มีความศรัทธา มีความรักในพระองค์.

fbใบโพธิ สิกขา‎ >>กลุ่มโพธิสัตว์บารมี
 

10
หมอเขียว-ตอบปัญหาสุขภาพกายใจ
9 กุมภาพันธ์ 2016 ·
คำถาม ๓๑
เพราะอะไรถึงลุกปัสสาวะกลางดึก กระสับกระส่าย นอนไม่หลับบ่อยๆ ครับ ?

คำตอบ ๓๑
ช่วง ๔ ทุ่มถึงตี ๒ เป็นช่วงที่แพทย์แผนไทยพบว่า เป็นช่วงไฟกำเริบ เพราะร่างกายจะผลิตความร้อนมาสู้กับความเย็นตั้งแต่หัวค่ำและจะมีความร้อนสะสมสูงที่สุด ในช่วงเวลาดังกล่าว และโลกจะเริ่มคายความร้อนที่ เก็บไว้ในช่วงกลางวัน ความร้อนจะถูกระบายสู่บรรยากาศสูงสุดในช่วงเวลาดังกล่าว
ในคนที่มีภาวะร้อนเกินจึงมักมีอาการกำเริบแสดงให้เห็นในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น หัวใจวายตาย (ไหลตาย) หอบหืด ปวดตามร่างกาย กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ ลุกปัสสาวะกลางดึก เป็นต้น

การลุกปัสสาวะกลางดึก เป็นกลไกการระบายความร้อนที่มากเกินในร่างกาย ณ เวลานั้น จึงควรดื่มน้ำ ในปริมาณที่รู้สึกสบาย เพื่อดับความร้อนที่มากเกินนั้น ความร้อนจะได้ไม่ทำร้ายร่างกาย เราจะได้ไม่ลุกปัสสาวะบ่อย และในช่วงกลางวันควรปรับสมดุลถอนพิษร้อนให้ดี ถ้าร่างกายสมดุลดีจะไม่ลุกปัสสาวะกลางดึก

ช่วง ๔ ทุ่มถึงตี ๒ จึงควรนอนหลับพักผ่อน
จะเป็นผลดีต่อสุขภาพมากที่สุดถ้าจำเป็นต้องทำงานช่วงเวลานี้ ไม่ควรทำบ่อย เพราะไฟความร้อนจะเผาทำร้ายร่างกายมาก ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องทำงานในช่วงเวลานี้ควรถอนพิษร้อนให้ดี

ถ้างานยังคั่งค้าง ไม่เสร็จ การพักงานนอนหลับพักผ่อนช่วงเวลานี้ แล้วลุกขึ้นมาทำงานต่อในช่วง ตี ๒-๖ โมงเช้า ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ การเพียรการพักด้วยอิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ “ชนวสภสูตร” ข้อที่ ๒๐๐)

ธรรมอันเป็นที่ตั้งสู่ความสำเร็จ คือ ฉันทะ (ความพอใจ) ซึ่งความพอใจ ก็คือความสุข (พระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า อะไรคือความสุขในโลก พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่า ความสุขคือความพอใจ) และเมื่อพลังของความพอใจมากพอ อันเกิดจากการพิจารณาเห็นคุณค่า/ประโยชน์ / ข้อดี ของการทำกุศลนั้นๆ


เช่น ขณะที่ร่างกายแข็งแรงมีกำลังก็พิจารณาประโยชน์ของการทำงาน เมื่อทำงานเต็มที่เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า ก็พิจารณาประโยชน์ของการพัก ก็จะทำให้เกิดฉันทะซึ่งจะผลักดันให้เกิดสภาพวิริยะ (ความพากเพียรในการทำกิจกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการงานหรือกิจกรรมการพัก ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ณ เวลานั้นๆ ) ด้วยจิตตะ (จิตใจจดจ่อ / ทุ่มโถมเอาใจใส่) และวิมังสา (การตรวจสอบใคร่ครวญผลของการกระทำทั้งทางวัตถุและทางจิต)


การตรวจสอบประเมินผลทางวัตถุ คือ
ตรวจผลที่เกิดจากกิจกรรมการงานว่าได้ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรหรือไม่ในคราวต่อไป

การตรวจสอบประเมินผลทางจิต คือ
ตรวจเหตุแห่งทุกข์ (กิเลส) ในจิตของเราว่าลดลงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็คือขณะที่เราทำกิจกรรมการงานที่เป็นกุศลต่างๆ จิตใจของเรา เป็นสุข ยินดี เต็มใจ เบิกบาน แจ่มใส สงบ สบาย ไร้กังวลได้มากน้อยแค่ไหน

การใช้เทคนิค ๙ ข้อในการปรับสมดุลนั้น แต่ละคนอาจทำเพียงบางข้อหรือหลายข้อตามความสมัครใจและความรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง ของบุคคลนั้นๆ ณ เวลานั้น

ส่วนใหญ่คนยุคนี้จะมีภาวะร้อนเกิน เวลาปรับสมดุลควรปรับเพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น ปรับลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน ตามสภาพร่างกาย ณ ปัจจุบัน แต่เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ ถึงเวลาหนึ่งก็จะเกิดอาการเย็นเกินแทรกเข้ามา ก็ให้ปรับลดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น เพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน ตามสภาพร่างกาย ณ ปัจจุบัน

แม้ว่าขณะนั้นโรคจะยังไม่หายก็ตาม เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ก็จะเกิดอาการร้อนเกิน ก็ให้ปรับลดสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน เพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น ตามสภาพร่างกาย ณ ปัจจุบัน ทำสลับกลับไปกลับมา บางครั้งร่างกายก็ต้องการทั้งสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนและเย็น บางครั้งก็ไม่ต้องการทั้งสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนและเย็น การปรับสมดุลตามสภาพร่างกาย ณ ปัจจุบัน โรค/อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ก็จะทุเลาหรือหายไป


โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว)
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกวิถีธรรม
สำนักการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
หน่วยแพทย์วิถีธรรม
โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
>>fbอกาลิโก แปลว่าไม่ประกอบด้วยกาล
ได้แชร์รูปภาพของ หมอเขียว-ตอบปัญหาสุขภาพกายใจ

หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... 203