ผู้เขียน หัวข้อ: วิมลเกียรตินิทเทสสูตร ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมปฏิบัติบูชาวรรค  (อ่าน 1773 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7164
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ปริเฉทที่ ๑๓

ธรรมปฏิบัติบูชาวรรค

ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวศักรินทรเทวราช ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ในท่ามกลางบริษัทว่า

“ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์มาตรว่าจักได้เคยสดับฟังพระสูตรนับด้วยร้อยเป็นอเนก นับด้วยพันเป็น
อเนก จากพระผู้มีพระภาค แลจากพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็จริง แต่ก็บ่ห่อนจักได้เคยสดับพระสูตรอันเป็นอจินไตย มีอิส
รมหิทธิฤทธานุภาพ เป็นตัตตวธรรมที่มิผันเปลี่ยนสุขุมคัมภีรภาพเห็นปานดั่งพระสูตรนี้เลย พระพุทธเจ้าข้า อาศัย
ความเข้าใจในธรรมอรรถ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงแล้ว หากมีสรรพสัตว์ใด ๆ สดับซึ่งพระสูตรนี้ มีศรัทธาแลความเข้าใจ
น้อมรับธำรงไว้ฤๅได้สวดสาธยาย เป็นต้น บุคคลผู้นั้นย่อมจักบรรลุซึ่งธรรมในระสูตรนั้น โดยมิต้องวิมติกังขาใด ๆ
ปฏิบัติตามได้เล่า บุคคลผู้เช่นนั้น ชื่อว่าได้ปิดทวารแห่งทุคติภูมิ เปิดทวารแห่งสรรพกุศลธรรมออก แลพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตามอภิบาลระลึกถึงเขา บุคคลดังกล่าวย่อมอาจหาญในอันกำราบประดาพาหิรลัทธิ กำจัดข่มขี่
มารภัยให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าได้บำเพ็ญอบรมพระโพธิญาณสถิตด้วยดีในภูมิตรัสรู้ เจริญตามรอยพระบาทยุคลของพระ
ตถาคตเจ้าทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากมีบุคคลใดน้อมรับธำรงไว้ซึ่งพระสูตรนี้ก็ดี เจริญสวดสาธยายพระสูตร
นี้ก็ดี หรือว่าปฏิบัติตามธรรมคติในพระสูตรนี้ก็ดี ข้าพระองค์พร้อมด้วยเทพบริวารจักไปสักการบูชา แลรับใช้อุปัฏฐาก
บุคคลนั้น ๆ ในสถานคามนิคมชนบทราชธานี ฤๅบรรพตวนสณฑ์ ป่าชัฏใด หากมีพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ไซร้ ข้า
พระองค์พร้อมด้วยเทพบริวารก็จักไปรักษาดูแลยังสถานที่นั้น ชนเหล่าใดที่ยังไม่มีจิตเลื่อมใส สักยังความเลื่อมใสของ
เขาเหล่านั้นให้บังเกิด ชนเหล่าใดซึ่งมีความเลื่อมใสแล้ว ก็จักตามอภิบาลคุ้มครองชนเหล่านั้น.”
พระบรมศาสดาตรัสว่า


“สาธุ ! สาธุ ! เทวราช ! เป็นตามดังที่พระองค์ตรัส ตถาคตขออนุโมทนาในสัมปสาทนียจิตของ
พระองค์ เป็นความจริงทีเดียวที่พระสูตรนี้เป็นสูตรประกาศแสดงถึงพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันเป็นอจินไตย
แห่งพระพุทธะทั้งหลาย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพราะเหตุฉะนั้นแล เทวราช ! หากมีกุลบุตรกุลธิดาใด น้อมรับ
ธำรงไว้ ซึ่งพระสูตรนี้ หรือสวดสาธยายก็ดี บูชาสักการะพระสูตรนี้ก็ดี ชื่อว่าย่อมเป็นการบูชาสักการะในพระพุทธะ
ทั้งปวง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ฯลฯ ดูก่อนเทวราช ณ เบื้องอดีตภาคอสงไขยกัลป์ป์อันประมาณมิได้ ในสมัย
พุทธุปบาทกาลแห่งพระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระนาม ไภษัชยราชาตถาคต พระองค์เป็นผู้ควรบูชา เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แลยังผู้อื่นให้รู้ตามได้ สมบูรณ์ด้วยวิชชาแลจรณะเป็นพระสุคต รู้แจ้งโลก เป็น
บุรุษผู้เยี่ยมยอดไม่มีผู้ใดเปรียบ ทรงแสดงธรรมฝึกสอนสัตว์ดุจนายสารถีฝึกดุรงคชาติ พระองค์เป็นศาสดาแห่งเทพย
ดาแลมนุษย์ เป็นผู้ตื่นแล้วจากกิเลสนิทรา เป็นภควา โลกธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า มหาวยูหอลัง
การ กัลป์นั้นมีชื่อว่า อลังการกัลป์ พระชนมายุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๒๐ จุลกัลป์ ทรงมีพระสาวกสงฆ์ ๓๖
โกฏินหุตพระโพธิสัตว์สงฆ์อีก ๑๒ โกฏิ ดูก่อนเทวราช ครั้งนั้น มีพระเจ้าจักรพรรดิราชทรงพระนามว่า รัตนฉัตร ทรง
บริบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการมีอานุภาพแผ่ไปในแผ่นดินทั้งจาตุรทิศ พระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นมีพระโอรส ๑,๐๐๐
องค์ ล้วนสมบูรณ์ศิริลักษณ์สง่างามแลมีวีรยภาพแกล้วกล้า อาจสามารถข่มขี่ศัตรูได้ สมัยนั้นพระเจ้ารัตนฉัตรพร้อม
ด้วยบริวารได้ถวายสักการบูชา ไนพระไภษัชยราชาตถาคตเจ้า บริจาคสรรพเครื่องอุปโภคน้อมถวายแด่พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น เป็นระยะเวลาตลอดกาลนับได้ ๕ กัลป์ เมื่อด้น ๕ กัลป์แล้ว พระเจ้ารัตนฉัตรจึงมีพระดำรัสแก่พระราช
โอรสทั้ง ๑,๐๐๐ องค์ว่า


“แม้พวกสู ก็พึงบำเพ็ญจริยาเช่นเดียวกับตูได้บำเพ็ญเถิด สูทั้งปวงพึงยังจิตศรัทธาปสาทะทันลึกซึ้งให้
ตั้งมั่น ถวายสักการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเทอญ.”


“ลำดับนั้น พระโอรสทั้ง ๑,๐๐๐ องค์ รับพระราชบรรหารของพระราชบิดาแล้ว ต่างก็ถวาย
สักการบูชาพระโภษัชยราชาตถาคตตลอดกาล ๕ กัลป์ เมื่อบำเพ็ญทานบริจาคเสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพระราชโอรสองค์
หนึ่งพระนามว่า จันทรฉัตร เมื่อประทับอยู่พระองค์เดียว บังเกิดความปริวิตกขึ้นว่า


“ยังจักมีสักการบูชาใดที่ยิ่งกว่าสักการบูชา อันพระราชบิดาแลเราทั้งหลายได้บำเพ็ญอยู่อีกฤๅไม่
หนอ ?”

“ครั้งนั้น ด้วยพุทธานุภาพ บันดาลให้มีสุรเสียงตอบของเทพองค์หนึ่งเบื้องอัมพรสถานว่า

“ดูก่อนราชบุตร การสักการบูชาด้วยธรรมปฏิบัติ ประเสริฐยิ่งกว่าสักการบูชาใด ๆ.”
ราชบุตรนั้นจึงถามว่า “อะไรชื่อว่าเป็นธรรมปฏิบัติบูชาเล่า ?”

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นจึงตรัสว่า


“ดูก่อนราชบุตร อันธรรมปฏิบัติบูชานั้นคือ ในบรรดาพระสูตรอันสุขุมคับภีรภาพ ซึ่งพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายตรัสแสดงไว้แล้ว อันโลกกล่าวคือชนทั้งปวง ยากที่จักบังเกิดศรัทธา ยากที่จักน้อมรับ เป็นธรรมอันประณีต
ละเอียดยากที่จักเห็นได้โดยง่าย เป็นธรรมอันบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งเศร้าหมองมลทินใด ๆ มิใช่จักบรรลุถึงได้โดยอาศัย
ความตรึกนึกวิกัลป์ปะคะเนเอา เป็นธรรมอันสงเคราะห์เข้าอยู่ในโพธิสัตวธรรมปิฎกอันธารณีมุทระ* ตรากำหนด
แน่นอนลงไปแล้ว เป็นธรรมอันนำไปสู่อนิวรรตนิยภูมิ ยังปารมิตา ๖ ประการให้สำเร็จ เป็นปรมัตถวิภัชชธรรม
อนุโลมสู่พระโพธิญาณธรรม เป็นพระสูตรซึ่งอยู่เหนือบรรดาสูตรทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเข้าสู่ภุมิแห่งมหา
เมตตา มหากรุณา เว้นจากสรรพกิจของมาร กับทั้งปราศจากมิจฉาทิฐิทั้งปวงอีกด้วย เป็นธรรมอนุโลมนับเนื่องใน
เหตุในปัจจัย ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล ไม่มีสัตว์ ไม่มีชีวะเป็นสุญญตา อนิมิตตะ อัปปณิหิตะ อนุตปาทะ สามารถยัง
สรรพสัตว์ให้ได้นั่งเหนือปรมาภิเษกสัมโพธิบัลลังก์ แล้วแลยังธรรมจักรให้หมุน อันปวงเทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ เป็น
ต้น ถวายสดุดีสรรเสริญ อนึ่ง เป็นธรรมยังสรรพสัตว์ให้เข้าสู่พุทธธรรมปิฎก เป็นธรรมซึ่งรวบรวมเอาไว้ซึ่งปรัชญา
ญาณของสรรพบัณฑิตอารยชนไว้ เป็นธรรมซึ่งแสดงมรรคจรรยาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย อาศัยอรรถแห่งตัตตว
ธรรมเป็นที่ตั้ง ประกาศแจกแจงในเรื่อง อนิจจตา ทุกขตา สุญญตา อนัตตตา แลธรรมอันเป็นที่ดับสนิทของปวงทุกข์
เป็นธรรมอันสามารถช่วยกอบกู้สัตว์ผู้สีลวิบัติให้พ้นความวิบัตินั้นได้ สามารถยังพวกพาหิรลัทธิ แลผุ้ที่หนาด้วย
อภิชฌาวิสมโลภะให้ครั่นคร้ามเป็นธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า แลพระอริยชฃนทั้งหลายอนุโมทนาสดุดี เป็นธรรมหันหลัง
ให้แก่ชาติทุกข์ มรณทุกข์ ประกาศซึ่งความสุขของพระนิพพาน.”


อนึ่ง เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าในตรีกาลทั่วทศทิศทรงแสดงประกาศแล้ว ผู้ใดได้สดับซึ่งพระสูตรอันมี
นัยดั่งพรรณนามานี้ บังเกิดจิตศรัทธาและเข้าใจ น้อมรับธำรงไว้แลสวดสาธยาย ตลอดทั้งยังใช้กำลังแห่งอุบายโกศล
อธิบายแสดงจำแนกแจกแจงธรรมนั้นแก่ส่ำสัตว์ เมื่อเป็นผู้พิทักษ์ธรรมด้วยประการฉะนี้ ย่อมชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม
สักการบูชา”


“อนึ่ง ผู้ใดสามารถปฏิบัติธรรมตามธรรมซึ่งกล่าวแล้ว อนุโลมเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เว้น
__________________________

* ธารณีมุทระ มี ๔ อย่าง คือ

๑. ธรรมธารณี ได้แก่การสดับจำทรงพระสัทธรรมไม่หลงลืม
๒. อรรถธารณี ได้แก่การทรงเอาไว้ในอรรถรสแห่งพระสัทธรรม.
๓. มนตรธารณี ได้แก่อาศัยอำนาจสมาธิจิตปรุงแต่งมนต์ อันประกอบดัวยอานุภาพขึ้น.
๔. กษานติธารณี ได้แก่ความที่สามารถอดทนตั้งมั่นอยู่ในตัตตวธรรมโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย.




จากปวงมิจฉาทิฐิเสีย ได้บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ กำหนดแน่ชัดลงไปได้ว่า ธรรมทั้งปวงนั้นไม่มีอาตมัน ไม่มีสัตว์
แต่ก็ไม่บังเกิดความกีดข้องโต้แย้งในเรื่องของเหตุปัจจัย ผลวิบากของกรรม เช่นนี้จึงชื่อว่าเป็นผู้พ้นแล้วจากความ
ยึดถือในเรื่องตนแลของ ๆ ตน ผู้นั้นย่อมมีอรรถนเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาวจนโวหารเป็นปฏิสรณะ ย่อมมีปัญญา
เป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาวิญญาณทางอายตนะเป็นปฏิสรณะ ย่อมมีพระสูตรประเภทนิปปริยายธรรมเป็ฯ
ปฏิสรณะ ไม่ถือเอาพระสูตรประเภทปริยายธรรมเป็นปฏิสรณะ ย่อมมีธรรมเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาบุคคลเป็น
ปฏิสรณะ* เป็นผู้รู้แจ้งชัด อนุโลมเป็นไปในยถาภูตธรรมลักษณะ ปราศจากการเข้ามา ปราศจากคติมุ่งไป อวิชชา
ย่อมดับสนิทไปในที่สุด เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งปวงก็ย่อมดับสนิทไปในที่สุด แม้จนชาติความเกิดก็ย่อมดับสนิทไปใน
ที่สุด ชรามรณะก็ย่อมดับสนิทไปในที่สุด (กล่าวคือทั้งหมดเป็นสุญญตา ปราศจากสภาวะเกิดขึ้นหรือดับไป) ผู้ใดมา
เพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมรู้ชัดว่า อันปฏิจจสมุปบาท ๑๒ นั้นปราศจากอันตลักษณะไม่เกิดอุปาทลักษณะขึ้นอีก
ผู้ซึ่งกระทำเช่นนี้แลชื่อว่าเป็นผู้บูชาพระตถาคต ด้วยธรรมปฏิบัติบูชาอันสูงสุด.”

พระบรมศาสดาทรงแสดงความอนุสนธิกับท้าววาสวะต่อไป

“เมื่อพระราชบุตรจันทรฉัตร ได้สดับพระสัทธรรมจากพระไภษัชยราชาพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้บรรลุมุทุ
ตากษานติธรรม ครั้นแล้วพระราชบุตรจึงเปลื้องรัตนอลังการซึ่งประดับสรีราภรณ์ออก ถ้อมถวายบูชาแด่พระพุทธเจ้า
พระองค์นั้น พร้อมทั้งกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในกาลเมื่อพระองค์ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ข้าพระองค์จักบำเพ็ญธรรม
ปฏิบัติบูชา อภิบาลรักษาพระสัทธรรม ขออานุภาพของพระองค์โปรดได้คุ้มครองให้ธรรมปฏิบัติบูชานั้น ได้สถาปนา
ขึ้นสำเร็จ ให้ข้าพระองค์สามารถบำราบมารภัย แลบำเพ็ญโพธิสัตวจริยาได้ลุล่วง พระเจ้าข้า.”

“พระไภษัชยราชาพุทธเจ้า ทรงกำหนดรู้วาระจิตอันลึกซึ้งตั้งมั่นของพระราชบุตรนั้นแล้ว จึงตรัส
พยากรณ์เพื่อเป็นสักขีว่า “ในอนาคตกาล เธอจักได้อภิบาลรักษาสัทธรรมนครเป็นแท้.”


“ดูก่อนเทวราช ครั้งนั้น พระราชบุตรจันทรฉัตรได้มีดวงธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ ทั้งยังได้รับลัทธยาเทส
พุทธพยากรณ์เช่นนี้ เธอเป็นผู้มีศรัทธาออกบรรพชาแล้ว ได้เพียรอบรมกุศลธรรมอยู่โดยกาลไม่นานเลย ก็ได้บรรลุ
อภิญญาทั้ง ๕ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยโพธิสัตวธรรมวิถี บรรลุธารณีมีปฏิภาณโกศลไม่ข้องขัด ครั้นเมื่อพระไภษัชยราชา
พุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว เธอก็ได้อาศัยกำลังแห่งอภิญญาธารณี และปฏิภาณโกศลนั้น ยังพระ

__________________________

๑. หลักปฏิสรณะนี้ เป็นหลังสำคัญของฝ่ายมหายาน จัดเป็นแว่นธรรมสำหรับส่องตรวจดูพระสัทธรรมที่แท้จริงด้วย ข้อแรกหมายความ
ว่า เรื่องภาษาโวหารเป็นเรื่องของบัญญัติไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงร้องเรียกอย่างไรก็ได้ แต่ข้อสำคัญอยู่ที่เนื้อความ เช่น คำว่า “นิโรธ” ก็
เป็นภาษาชาวบ้านธรรมดา แปลว่าดับแต่เมื่อใช้ในทางธรรม นอกจากจะหมายถึงความดับเช่นดับไปดับธรรมดาแล้ว ยังหมายถึงสภาพ
พ้นทุกข์พ้นกิเลสอีกด้วย เราจึงต้องถือเนื้อความเป็นใหญ่กว่าโวหารบัญญัติ.

๒. เนื่องด้วยความรู้ทางอายตนะอาจหลอกเราได้ เช่นคนเดินไปในที่มืดเหยียบเชือกสำคัญคิดว่างู เลยตกใจกลัวถึงนอนป่วยก็มี อารมณ์
โลกเป็นเรื่องของมายาที่แสดงหลอกเรา ฉะนั้น จะถือความจริงทางความรู้อายตนะย่อมไม่แน่แท้ สู้สติปัญญากล่าวคือวิปัสสนาปัญญา
ซึ่งสามารถเพิกมายาออกเสียไม่ได้.


๓. ฝ่ายมหายานถือว่า บรรดาพระสัทธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาแสดงประทานไว้แก่เวไนยสัตว์นั้น ย่อมแสดงให้เหมาะแก่อินทรีย์ อุปนิสัย
ชั้นภูมิแห่งสัตว์จึงมีประเภทปริยายธรรม กล่าวคือ ธรรมซึ่งยังต้องขยายความหรือยังมีนัยที่เหลืออีก เช่นหลักธรรมที่ว่าด้วยเรื่องการ
ประพฤติธรรม เพื่อบรรลุสุขเยี่ยงโลกียชนเป็นต้น ทรงแสดงแก่สัตว์ยังมีภูมิอินทรีย์อ่อน ส่วนสัตว์ซึ่งมีอินทรีย์สูงกล้าแล้ว ทรงแสดง
ปรมัตถธรรมชี้ให้เห็นความเป็นมายาของโลก นี้ชื่อว่านิปปริยายธรรม คือธรรมที่ไม่มีนัยที่ต้องไขความกันอีก เป็นการแสดงถึงแก่นสูงสุด
ของพระพุทธศาสนา.


๔. ทางมหายานนับถือความถูกต้องเหตุผลสำคัญ หลักธรรมจะเปน็ ใครกล่าวก็ตาม ถ้าชอบด้วยเหตุผล เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว ก็
ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติได้ อันที่จริงทั้ง ๔ ข้อนี้ ก็มีนัยอยู่ในหลักพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือจะพูดให้ถูกก็ต้องว่า เป็นหลักการของ
พระพุทธศาสนานั่นเอง ไม่ใช่ของฝ่ายเถรวาทฝ่ายมหายาน.




ธรรมจักรของพระไภษัชยราชาตถาคตให้แพร่หลายออกไปตลอดกาลนานเต็ม ๑๐ จุลกัลป์ ภิกษุจันทรฉัตรได้อภิบาล
รักษาพระสัทธรรมด้วยความพากเพียร ในชาตินั้นเธอได้โปรดชนนับจำนวนแสดโกฏิให้ตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่เสื่อมจากพระ
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และยังมีชนอีก ๑๕ นหุต มีจิตมุ่งต่อพระอรหันตภูมิ พระปัจเจกโพธิภูมิ ยังสรรพสัตว์ไม่มี
ประมาณได้อุบัติในโลกสวรรค์.”


“ดูก่อนเทวราช พระเจ้ารัตนฉัตรในสมัยนั้น มิใช่ผู้ใดอื่นไกลหรอก ที่แท้ก็คือท่านผู้ได้บรรลุพระ
โพธิญาณในปัจจุบัน ทรงพระนามว่า พระรัตนโชติประภาตถาคตเจ้า นั่นเอง และพระราชโอรส ๑,๐๐๐ องค์ นั้นก็
คือพระพุทธเจ้า ๑,๐๐๐ องค์ในภัทรกัลป์นี้ นับตั้งต้นแต่ พระกกุสันธะพระพุทธเจ้า เป็นปฐม จวบถึงพระตถาคตเจ้า
องค์ลำดับสุดทรงพระนามว่า รุจิ ส่วนภิกษุจันทรฉัตรนั้น ก็คือเราตถาคตนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้แลเทวราช !
พระองค์พึงกำหนดสาระสำคัญในเรื่องนี้ว่า ในบรรดาสักการบูชาทั้งหลายนั้น ธรรมปฏิบัติบูชาเป็นสักการบูชาอัน
เยี่ยมยอดประเสริฐที่สุดไม่มีสิ่งได้เปรียบ เพราะเหตุนั้น เทวราช ! พระองค์พึงบูชาพระพุทธเจ้าด้วยธรรมปฏิบัติบูชา
เถิด.”


ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมปฏิบัติบูชาวรรค จบ.


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=22-07-2009&group=18&gblog=20
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด