ผู้เขียน หัวข้อ: นันทิวิสาลชาดก - โคนันทิวิสาล  (อ่าน 977 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • แสงธรรมนำใจแสงธรรมนำใจ
  • กระทู้: 7494
  • กิจกรรม:
    0.4%
  • Country: th
  • พลังกัลยาณมิตร 2680
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
  • Awards ผู้มีหัวใจอ่อนละไมดั่งเสียงดนตรีธรรม ผู้ที่หัวใจเขียนไว้ซึ่งธรรมะอันเป็นอกาลิโก ผู้อุทิศตนเพื่อเผยแพร่ธรรมะดั่งเข็มทิศนำธรรม ผู้ร้อยเรียงอักษรวาจาได้ไพเราะเสนาะธรรม ผู้ทรงความรู้ในหลักธรรมอย่างถ่องแท้ ผู้ส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยจิตตั้งมั่น เชิดชูผู้โพสกระทู้ธรรมะ
  • OS:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • Browser:
  • Firefox 84.0 Firefox 84.0
    • ดูรายละเอียด
    • Awards
นันทิวิสาลชาดก - โคนันทิวิสาล
« เมื่อ: ธันวาคม 24, 2020, 09:27:53 pm »
.
#นันทิวิสาลชาดก - #โคนันทิวิสาล
.
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า
.
.
.
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยของพระเจ้าคันธาระครองเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคนามว่า นันทิวิสาล เป็นโคมีรูปร่างสวยงาม มีพละกำลังมาก
.
มีพราหมณ์คนหนึ่งได้เลี้ยงและรักโคนั้นเหมือนลูกชาย
โคนั้นคิดจะตอบแทนบุญคุณการเลี้ยงดูของพราหมณ์
ในวันหนึ่ง ได้พูดกะพราหมณ์ว่า
.
"พ่อ จงไปท้าพนันกับโควินทกเศรษฐีว่า โคของเราสามารถลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม ที่ผูกติดกันให้เคลื่อนไหวได้ พนันด้วยเงินหนึ่งพันกหาปณะเถิด"
.
พราหมณ์ได้ไปที่บ้านเศรษฐีและตกลงกันตามนั้น
.
นัดเดิมพันกันในวันรุ่งขึ้น
.
ในวันเดิมพัน พราหมณ์ได้เทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่เกวียนเล่มแรก เพื่อลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่มผูกติดกันซึ่งบรรทุกทราย กรวดและหินเต็มลำ แล้วขึ้นไปนั่งบนเกวียน เงื้อปฏักขึ้นพร้อมกับตวาดว่า
.
"ไอ้โคโกง โคโง่ เจ้าจงลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้"
.
ฝ่ายโคนันทิวิสาลเมื่อได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่า
.
"พราหมณ์เรียกเราผู้ไม่โกง ว่าโกง ผู้ไม่โง่ ว่าโง่"
.
จึงยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว โควินทกเศรษฐีจึงเรียกให้พราหมณ์นำเงินหนึ่งพันกหาปณะมาให้แล้วกลับบ้านไปฝ่ายพราหมณ์ผู้แพ้พนันเงินหนึ่งพันกหาปณะ ปลดโคแล้วก็เข้าไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ในบ้าน
.
ส่วนโคนันทิวิสาลเห็นพราหมณ์เศร้าโศกเสียใจเช่นนั้น จึงเข้าไปปลอบและกล่าวว่า
.
"พ่อ ฉันอยู่ในเรือนของท่านตลอดมา เคยทำภาชนะอะไรแตกไหม เคยเหยียบใครๆ เคยถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่อันไม่ควรหรือไม่
เพราะเหตุใด ท่านจึงเรียกเราว่า โคโกง โคโง่
ครั้งนี้เป็นความผิดของท่านเอง ไม่ใช่ความผิดของฉัน
.
บัดนี้ ขอให้ท่านไปเดิมพันกับโควินทกเศรษฐีใหม่ด้วยเงินสองพันกหาปณะ
ขออย่างเดียว ท่านอย่าได้เรียกฉันว่า โคโกง โคโง่ ท่านจะได้ทรัพย์ตามที่ท่านปรารถนา ฉันจะไม่ทำให้ท่านเศร้าเสียใจ"
.
พราหมณ์ได้ทำตามที่โคนันทิวิสาลบอก
.
ในวันเดิมพัน พราหมณ์จึงพูดหวานว่า."นันทิวิสาลลูกรัก เจ้าจงลากเกวียนทั้งร้อยเล่มนี้ไปเถิด"
.
โคนันทวิสาลได้ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน
ด้วยการออกแรงลากเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ทำให้เกวียนเล่มสุดท้ายไปตั้งอยู่ที่เกวียนเล่มแรกอยู่
ทำให้พราหมณ์ชนะพนัน ด้วยเงินสองพันกหาปณะ
.
พระพุทธองค์เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า คำหยาบ ไม่เป็นที่ชอบใจของใครๆ แม้กระทั่งสัตว์เดียรัจฉาน"
.
แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า."บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในกาลใดๆ เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ
โคนันทิวิสาลได้ลากสัมภาระอันหนักได้
ทั้งยังทำให้หราหมณ์ผู้นั้นได้ทรัพย์อีกด้วย
ส่วนตนเองก็เป็นผู้ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย"
.
.
.
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
.
พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี
.
ที่มา : หนังสือ ชาดกและประวัติพุทธสาวก-พุทธสาวิกา
โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม
ขุ.ชา.อ.(ไทย) ๓/๑/๓๐๙-๓๑๑
.
.
.
ที่มา dhammathai
.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

 

+- ธาราธรรม สายธารแห่งธรรมะ (เว็บไซต์ส่งเสริมธรรมะส่งเสริมความดี)

พลังจิต | สุขใจ | ธรรมะวัดเกาะวาลุกาลาม | อกาลิโกโฮม | ลานธรรมเสวนา | Dhamma Media Channel |ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย | หลวงตามหาบัว | ธรรมจักร | mindcyber | แปดหมื่นสี่พัน.org | กัลยาณมิตร | มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย | ประตูสู่ธรรม | บ้านธัมมะ | เว็บพระรัตนตรัย | คนดี | วัดป่ากรรมฐาน | คนเมืองบัว | พุทธาวุธ | หลวงพ่อ | พุทธภูมิ |ธรรมดี | ศาสนาที่พันทิพย์ | พระไทยเน็ต | ซีดีธรรมะ | วัดโพธิ์ | ธรรมสวนะ | ปฏิจจสมุปบาท | กุศล | หลวงปู่มั่น | dhamma.net | ดังตฤณ | dhamma4ever.com | ลานธรรมบัณฑิต | ฟังธรรม.com | ธรรมะไทย | บัวพ้นน้ำ |

Powered by Tairomdham